ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

บทสวดมนต์ก่อนนอน สั้น ๆ สวดได้ทุกคืน พร้อมคำแปล

บทสวดมนต์ก่อนนอน สั้น ๆ พร้อมบทสวดทำวัตรเย็นฉบับเต็ม ให้พุทธศาสนิกชนสวดตามได้ทุกคืน พร้อมคำแปล สวดแล้วดี เป็นมงคลให้แก่ชีวิตของผู้ศรัทธา

บ้านคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธมักจะคุ้นเคยกับการกราบพระก่อนนอนกันใช่ไหมคะ บทสวดมนต์ก่อนนอน และการกราบพระที่หมอน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เชื่อว่าช่วยทำให้หลับฝันดี ถือว่าเป็นการขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยมาช่วยคุ้มครอง ยิ่งถ้าไปต่างที่ต่างถิ่นก็ยิ่งห้ามลืมสวด วันนี้ The Thaiger จึงขอนำบทสวดมนต์ก่อนนอน สั้น ๆ หรือใครจะเลือกสวดยาว เราก็มีบททำวัตรเย็นฉบับเต็มมาฝากกัน มาพร้อมคำแปลอีกด้วยค่ะ

บทสวดมนต์ก่อนนอน สั้น ๆ

เริ่มต้นด้วยการกราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3 ครั้ง จากนั้นจึงกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

บทสวดมนต์ก่อนนอนสั้น ๆ ทำวัตรเย็น

บทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ ฯ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

บทสวดมนต์ บูชาพระพุทธเจ้า (3 จบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

บทแผ่เมตตา

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
(กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3 ครั้ง)

บทสวดมนต์ก่อนนอนสั้น ๆ

สำหรับการสวดมนต์ก่อนนอนแบบสั้น ๆ นั้น การสวดเท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว แต่หากท่านใดอยากสวดบทใดเพิ่มอีกก็ไม่มีถูกผิดนะคะ เพียงแค่มีความศรัทธา เชื่อว่าย่อมเป็นบุญแก่ตัวผู้สวดแน่นอน แต่หากท่านใดอยากสวดให้ยาวขึ้นกว่านี้ ก็สามารถสวดเต็มแบบทำวัตรเย็นได้เลย

บทสวดมนต์ ทำวัตรเย็น

สำหรับชาวพุทธแล้ว การทำวัตรเย็น เป็นการประกอบกรรมถึง 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย ถือได้ว่าเป็นการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า, ทางวาจา คือได้สรรเสริญพระพุทธคุณ และทางใจ คือเกิดปัญญารู้แจ้งในเนื้อหาของพระธรรมคำสอน โดยปกติแล้วจะมีการทำวัตรวันละ 2 ครั้ง ทั้งตอนเช้าและตอนเย็น

บทสวดมนต์ก่อนนอนสั้น ๆ ทำวัตรเย็น

บทนำทำวัตร

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด เป้นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง

สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พะรผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา

ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง

อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว

สังฆัง นะมามิ ฯ

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

บทสวดมนต์ก่อนนอนสั้น ๆ

ปุพพภาคนมการ

(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส ฯ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น

อะระหะโต

ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทธัสสะ

ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (3 จบ)

บทสวดมนต์ พุทธานุสสติ

(หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต

ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า

อิติปิ โส ภะคะวา

เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อะระหัง

เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ

เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

สุคะโต

เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

โลกะวิทู

เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ

เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถาเทวะมะนุสสานัง

เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ

เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

ภะคะวาติ ฯ

เป็นผู้มีความจําเริญ จําแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้

บทสวดมนต์ก่อนนอนสั้นๆ

พุทธาภิคีติ

(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส ฯ)
พุทธวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต

พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ เป็นต้น

สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต

มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ,และพระกรุณาอันบริสุทธิ์

โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร

พระองค์ใด ทรงกระทําชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทําบัวให้บาน

วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง

ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง

พระพุทธเจ้า พระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง

ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่งด้วยเศียรเกล้า

พุทธัสสาหัสมิ ทาโส วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร

ข้าพเจ้าเป็นทาส (หญิงว่า เป็นทาสี) ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม

พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกําจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า

วันทันโตหัง จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง

สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน

ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้า ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ

อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(กราบหมอบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา

ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง

กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทําแล้ว ในพระพุทธเจ้า

พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง

ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทธา ฯ

เพื่อการสํารวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป

บทสวดมนต์ ธัมมานุสสติ

(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสสะตินะยัง กะโรมะ เส ฯ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก

เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก

เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จํากัดกาล

เอหิปัสสิโก

เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

โอปะนะยิโก

เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ

เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

บทสวดมนต์ก่อนนอน

ธัมมาภิคีต

(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส ฯ)

สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย

พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น

โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท

เป็นธรรมอันจําแนก เป็นมรรค ผล ปรัยัติ และนิพพาน

ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี

เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว

วันทามะรัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด

ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง

พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย

ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า

ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม

พระธรรมเป็นเครื่องกําจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระธรรม

วันทันโตหัง จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ จักประพฤติตาม ซึ่งความดีงามของพระธรรม,

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง

สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน

ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา

ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ

อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วย
เดชแห่งบุญนั้น

(กราบหมอบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา

ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง

กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทําแล้ว ในพระธรรม

ธัมเม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะ ยันตัง

ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม ฯ

เพื่อการสํารวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป

บทสวดมนต์ สังฆานุสสติ

(หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส ฯ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว

ยะทิทัง

ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ

คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่

อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา

นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยโน

เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานํามาบูชา

ปาหุเนยโย

เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

ทักขิเณยโย

เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

อัญชะลีกะระณีโย

เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทําอัญชลี

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

บทสวดมนต์ก่อนนอน

สังฆาภิคีติ

(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส ฯ)

สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต

พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดีเป็นต้น

โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ

เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐแปดจําพวก

สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต

มีกายและจิต อันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้นอันบวร

วันทามะหัง ตะมะริยานะ คะณัง สุสุทธัง

ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี

สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง

พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง

ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า

สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม

พระสงฆ์เป็นเครื่องกําจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์

วันทันโตหัง จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความปฏิบัติดี ของพระสงฆ์

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง

สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน

ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา

สังฆัง เม วันทะมาเนนะ ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งพระสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดน

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ

อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(กราบหมอบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา

ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง

กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทําแล้ว ในพระสงฆ์

สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยังตัง

ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ ฯ

เพื่อการสํารวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป

บทสวดมนต์ก่อนนอน

บทอตีตปัจจเวกขณปาฐะ

(หันทะ มะยัง อะตีตะปัจจะเวกขะณะ ปาฐัง ภะณามะ เส ฯ)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา ยัง จีวะรัง ปะริภุตตัง,

จีวรใด อันเรานุ่งห่มแล้วไม่ทันพิจารณาในวันนี้

ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,

จีวรนั้น เรานุ่งห่มแล้ว เพียงเพื่อบําบัดความหนาว

อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ,

เพื่อบําบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,

เพื่อบําบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง ฯ

และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ อันให้เกิดความละอาย

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา โย ปิณฑะปาโต ปะริภุตโต,

บิณฑบาตใด อันเราฉันแล้วไม่ทันพิจารณาในวันนี้

โส เนวะ ทวายะ

บิณฑบาตนั้น เราฉันแล้ว ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน

นะ มะทายะ

ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกําลังพลังทางกาย

นะ มัณฑะนายะ

ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ

นะ วิภูสะนายะ,

ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา

แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อการตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้

ยาปะนายะ

เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพนี้ด้วย

วิหิงสุปะระติยา

เพื่อความสิ้นไปแห่งความลําบากทางกาย

พรัหมะจะริยานุคคะหายะ,

เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ

ด้วยการทําอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกข์เวทนาเก่าคือความหิว

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,

และไม่ทําทุกข์เวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น

ยาตรา จะ เม ภะวัสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ ฯ

อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย จักมีแก่เราดังนี้

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา ยัง เสนาสะนัง ปะริภุตตัง,

เสนาสนะใด อันเราใช้สอยแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี

ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,

เสนาสนะนั้น เราใช้สอยแล้ว เพียงเพื่อบําบัดความหนาว

อุณหัสสะ ปะฏิฆาตายะ,

เพื่อบําบัดความร้อน

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,

เพื่อบําบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย

ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานาารามัตถัง ฯ

เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ ในที่หลีกเร้นสําหรับภาวนา

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิตวา โย คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร ปะริภุตโต,

คิลานเภสัชบริขารใด อันเราบริโภคแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี

โส ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,

คิลานเภสัชบริขารนั้นเราบริโภคแล้ว เพียงเพื่อบําบัดทุกข์เวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว มีอาพาธต่างๆ เป็นมูล

อัพยาปัชฌะปะระมะตายาติ ฯ

เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง, ดังนี้

บทสวดมนต์ก่อนนอน

บทกรวดน้ำอิมินา

(หันทะ มะยัง อุททิงสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ)

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ
ด้วยบุญนี้ อุทิศให้
อุปัชฌายา คุณุตตะรา
อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
อาจริยูปะการา จะ
และอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน

มาตาปิตา จะ ญาตะกา (ปิยา มะมัง)
ทั้งพ่อแม่ และปวงญาติ (ผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า)
สุริโย จันทิมา ราชา
สูรย์จันทร์ และราชา
คุณะวันตา นะราปิ จะ
ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ
พรัหมะมารา จะ อินทา จะ
พรหมมาร และอินทราช
โลกะปาลา จะ เทวะตา
ทั้งเทวยเทพและโลกบาล
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ
ยมราช มนุษย์มิตร
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ

สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ
ขอให้เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
บุญผองที่ข้าพเจ้าทํา จงช่วยอํานวยสุภผล
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ
ให้สุข สามอย่างล้น
ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ฯ
ให้ลุถึงนิพพานพลัน

อิมินา ปุญญากัมเมนะ
ด้วยบุญนี้
อิมินา อุททิเสนะ จะ
แลอุทิศให้ปวงสัตว์
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ
เราพลันได้ซึ่งการตัด
ตัณหุปานทานะเฉทะนัง
ตัวตัณหา อุปาทาน

เย สันตาเน หินา ธัมมา
สิ่งชั่ว ในดวงใจ
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ
มลายสิ้น จากสันดาน

ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
ทุกๆ ภพที่เราเกิด
อุชุจิตตัง สะติปัญญา
มีจิตตรง และสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ
สัลเลโข วิริยัมหินา
พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา ละภันตุ โนกาสัง
โอกาส อย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะ วิริเยสุ เม
เป็นช่องประทุษร้าย ทําลายล้าง ความเพียรจม

พุทธาทิปะวะโร นาโถ
พระพุทธผู้บวรนาถ
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
พระธรรมที่พึ่งอุดม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ
พระปัจเจกะพุทธสมบท
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
พระสงฆ์ที่พึ่งผยอง

เตโสตตะมานุภาเวนะ
ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ
ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ
ด้วยเดชบุญ ทั้งสิบป้อง
มาโรกาสัง ละภันตุ มา
อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญ

อ้างอิงจาก : 1 2.

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button