ข่าว

9 มีนาคม วันเกิด ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ ครบรอบ 107 ปี บิดาเแห่งเมืองไทยสมัยใหม่

เปิดปฏิทินวันสำคัญ 9 มีนาคม 2566 ย้อนรำลึก 107 ปีชาตกาล วันเกิดของ “ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์” ต้นแบบแห่งแนวคิดไทยสมัยใหม่ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในสมาชิกขบวนการเสรีไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ครบรอบ 107 ปี วันเกิด “ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์” วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2566 ชวนรำลึกถึงอีกหนึ่งบุคคลสำคัญบนหน้าประวัติศาสตร์ไทย ผู้เป็นต้นแบบแนวคิด “เมืองไทยสมัยใหม่” พร้อมทั้งขับเคลื่อนเหตุการณ์ทางการเมือง เรียกร้องประชาธิปไทย ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2558 องค์การยูเนสโกได้ ประกาศให้ “ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์” เป็นบุคคลสำคัญของโลก และผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านการศึกษา สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ อีกด้วยนั่นเอง

ประวัติ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

“ดร.ป๋วย” หรือ “ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์” เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2459 ณ ตลาดน้อยเขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพมหานคร บิดาเป็นชาวจีนอพยพ ชื่อนายซา ส่วนมารดาชื่อว่านางเซาะเซ้ง

ในขณะนั้น ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้สำเร็จการศึกษาแผนกภาษาฝรั่งเศส จากโรงเรียนอัสสัมชัญพระนคร เมื่อปี พ.ศ. 2476 จากนั้นจึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูสอนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ระหว่างนั้นก็ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้ปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต ดร.ป๋วย และเริ่มอาชีพเป็นล่ามให้แก่อาจารย์ฝรั่งเศส ในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

จนกะทั่งมีอายุได้ 23 ปี ก็ได้สอบแข่งขันรับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อทางเศรษฐศาสตร์และการคลังที่ “ลอนดอน สคูล ออฟ อีโคโนมิกส์” ของมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จนจบปริญญาเอก

ทั้งนี้ระหว่างที่ ดร.ป๋วย ได้ศึกษาที่อังกฤษนี้ เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้ปะทุขึ้น ซึ่ง ดร.ป๋วย และคนไทยในอังกฤษ ก็ได้เข้าร่วมปฏิบัติงานเป็น “เสรีไทย” โดย ดร.ป๋วย ได้แอบลักลอบเข้าประเทศเพื่อปฏิบัติงานในประเทศไทยอีกด้วย

วันเกิดป๋วย อึ๊งภากรณ์ 9 มีนาคม

ผลงานโดดเด่นของ “ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์”

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2492 ดร.ป๋วย ได้เข้ารับราชการในกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และในปี พ.ศ. 2496 ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของสภาพเศรษฐกิจแห่งชาติ และดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้ 7 เดือน ก่อนถูกปลดจากเพราะเหตุการณ์ทางการเมือง

จากนั้น ในปี พ.ศ. 2499 ได้เข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจการคลังประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยในอังกฤษ ทั้งยังมีบทบาทในการช่วยให้ไทยขายออกดีบุกและยางพาราแก่ประเทศอังกฤษและประเทศในแถบยุโรปได้มากขึ้น ส่งผลให้เมื่อไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสภาดีบุกระหว่างประเทศ ดร.ป๋วย จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนไทย ได้รับเลือกเป็นประธานสภาดีบุกระหว่างประเทศ

ภายหลังการสร้างผลงานมากมาย ในปี พ.ศ. 2501 ดร.ป๋วย ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงบประมาณและในปี พ.ศ. 2502 เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มีบทบาทสำคัญคือเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง

กระทั่งในปลายปีเดียวกัน ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 12 ปี ทั้งยังได้วางรากฐานระบบธนาคารพาณิชย์ให้มั่นคงแข็งแรง จนได้รับความเชื่อถือในความสามารถสู่สายตานานาชาติ และยังเป็นผู้ที่พัฒนาเศรษฐกิจไทยให้มีอารส่งออกแตกแขนงออกไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2507 ดร.ป๋วย ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้ปฏิรูปงานด้านการศึกษา ได้แก่ การปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี และกระบวนการผลิตอาจารย์ ส่งผลให้ในยุคนั้นมีอาจารย์เพิ่มขึ้นเป็น 90 คน จากเดิมที่จำนวนอาจารย์ประจำคณะซึ่งมีเพียง 4 คน และได้เริ่มหลักสูตรปริญญาโทสอนเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมกับเริ่มต้นโครงการบัณฑิตอาสาสมัคร

นอกจากนี้ ดร.ป๋วย เป็นบุคคลที่มักพูดถึง “ความเป็นธรรมในสังคม และยึดหลักธรรมคืออำนาจมิใช่ ‘อำนาจธรรม’ โดยอ้างอิงจากข้อเขียนและจดหมาย นายเข้ม เย็นยิ่ง และบันทึกประชาธรรมโดยสันติวิธี”

กระทั่งวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญในประเทศไทย เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกทหารบุก นักศึกษาถูกเจ้าหน้าที่รัฐฆ่า อีกทั้ง ดร.ป๋วย ยังถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ประเทศอังกฤษ

ต่อมานักวิชาการร่วมสมัยชาวเยอรมัน สเตฟาน คอลินยองส์ (Stefan Collingnon) ได้กล่าวยกย่อง ดร.ป๋วยว่าเป็น “บิดาของเมืองไทยสมัยใหม่” (Founding Father of Modern Thailand)

ผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ในปี พ.ศ. 2508 นอกจากนี้ ดร.ป๋วย ยังได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะและได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2558

วันเกิดป๋วย อึ๊งภากรณ์ 9 มีนาคม มธ

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button