กกต.คำนวณ ‘แบ่งเขตเลือกตั้ง 2566’ ใหม่ มีจำนวน ส.ส เพิ่ม-ลด 8 จังหวัด
กกต. สรุปให้แล้วสูตรคำนวณ “แบ่งเขตเลือกตั้ง 2566” รูปแบบใหม่ 4 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. เพิ่ม และอีก 4 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. ลดลง หลังศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ “ราษฎร” ไม่ให้นับ “คนต่างด้าว” ตามที่ถูกเสนอก่อนหน้านี้
ความคืบหน้าการ แบ่งเขตเลือกตั้ง 2566 ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2566 หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยให้แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) ที่กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐาน
การทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง นั้น คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย เป็นผลให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากจำนวนราษฎรรวมลดลงเมื่อตัดราษฎรผู้ไม่มีสัญชาติไทยออก เพื่อใช้ในการเลือกตั้ง 2566
จากนั้นภายหลัง กกต. ได้นัดประชุมเร่งด่วน เพื่อพิจารณาแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ให้เป็นตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยคำนวณจากจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ ส.ส. 1 คน โดยเป็นการคำนวณเฉพาะราษฎรสัญชาติไทย ทำให้มี 8 จังหวัดมีจำนวน ส.ส.เพิ่มขึ้น และลดลง ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
รายชื่อ 4 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. ลดลง
รายชื่อ 4 จังหวัด มีจำนวน ส.ส. ลดลง รวมมีรายชื่อ ส.ส. ลดลด 23 คน
- เชียงราย จะมี ส.ส. 7 คน
- เชียงใหม่ จะมี ส.ส. 10 คน
- ตาก จะมี ส.ส. 3 คน
- สมุทรสาคร จะมี ส.ส. 3 คน
รายชื่อ 4 จังหวัดจะมีจำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น
รายชื่อ 4 จังหวัดจะมีจำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น รวมมีรายชื่อ ส.ส. เพิ่มขึ้น 30 คน
- อุดรธานี จะมี ส.ส. 10 คน
- ลพบุรี จะมี ส.ส. 5 คน
- นครศรีธรรมราช จะมี ส.ส. 10 คน
- ปัตตานี จะมี ส.ส. 5 คน
สำหรับรายละเอียดส.ส.ทั้ง 77 จังหวัด เมื่อคำนวณจากจำนวนราษฎรที่ไม่นับรวมผู้ไม่มีสัญชาติไทยกรุงเทพมหานครยังคงมี ส.สมากที่สุด จังหวัดที่มี ส.ส.มากสุดยังคงเป็น กทม. 33 คน ตามมาด้วยนครราชสีมา 16 คน ได้แก่
รายละเอียดส.ส.ทั้ง 77 จังหวัด ประกอบด้วย
- จังหวัดที่มี ส.ส. 11 คน มี 2 จังหวัด คือขอนแก่น และอุบลราชธานี
- จังหวัดที่มี ส.ส. 10 คน มี 5 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช ชลบุรี เชียงใหม่ อุดรธานี และบุรีรัมย์
- จังหวัดที่มี ส.ส. 9 คน มี 2 จังหวัด คือศรีสะเกษ และสงขลา
- จังหวัดที่มี ส.ส. 8 คน มี 4 จังหวัดคือ นนทบุรี ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ และสุรินทร์
- จังหวัดที่มี ส.ส 7 คน มี 5 จังหวัด คือ เชียงราย ชัยภูมิ ปทุมธานี สกลนคร และสุราษฎร์ธานี
- จังหวัดที่มี ส.ส. 6 คน มี 5 จังหวัดคือ กาฬสินธุ์ นครปฐม นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และมหาสารคาม
- จังหวัดที่มี ส.ส. 5 คน มี 9 จังหวัด คือ ปัตตานี ลพบุรี กาญจนบุรี นราธิวาส พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก ระยอง ราชบุรี และสุพรรณบุรี
- จังหวัดที่มี ส.ส. 4 คน มี 8 จังหวัด คือกำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ตรัง นครพนม ลำปาง เลย สระบุรี และสุโขทัย
- จังหวัดที่มี ส.ส .3 คน มี 21 จังหวัด คือ ตาก กระบี่ จันทบุรี ชุมพร น่าน บึงกาฬ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พะเยา พัทลุง พิจิตร เพชรบุรี แพร่ ภูเก็ต ยโสธร ยะลา สระแก้ว หนองคาย หนองบัวลำภู สมุทรสาคร และอุตรดิตถ์
- จังหวัดที่มี ส.ส. 2 คน มี 10 จังหวัด คือชัยนาท นครนายก พังงา มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ลำพูน สตูล อ่างทองอำนาจเจริญ และอุทัยธานี
- จังหวัดที่มี ส.ส.1 คน มี 4 จังหวัด คือ ตราด ระนอง สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี
อย่างไรก็ตาม เมื่อลองคิดคำนวณจาก จำนวน ส.ส.เป็นรายภาค ตามประกาศ กกต.เรื่องบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัด 2560 พบว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) และภาคกลางรวม 26 จังหวัด จะมี ส.ส. 122 คน ภาคใต้ 14 จังหวัดจะมี ส.ส. 60 คน ภาคเหนือ 16 จังหวัดจะมี ส.ส. 37 คน ภาคอีสาน 133 ภาคตะวันออกจะมี ส.ส. 29 คน และภาคตะวันตกจะมี ส.ส. 19 คน