ข่าวข่าวภูมิภาค

ไขข้อข้องใจ ตัวเงินตัวทอง กินได้จริงไหม เอาไปทำอะไรได้บ้าง ?

ไขข้อสงสัย ตัวเงินตัวทอง และผองเพื่อนตัวเห้ สัตว์เลื้อยคลานสุดแกร่ง กินได้หรือไม่ ? และสามารถเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง บอกเลยชื่อแย่แต่ราคาไม่เบา

เชื่อว่าเมื่อพูดถึง ตัวเงินตัวทอง หลายคนก็เริ่มที่จะตั้งท่าวิ่งหนีกันเสียแล้ว กับสัตว์เลื้อยคลานสุดน่ารัก (?) ที่มักพบเห็นได้บ่อย ๆ ตามแหล่งน้ำของไทย แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วก้มีคนที่นิยมกินน้องตัวเงินตัวทองอยู่ด้วย ว่าแต่แท้จริงแล้วน้องกินได้ไหม ? และสามารถเอาไปทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ตามเรามาดูกันเลย

Advertisements

ชัดเจน ตัวเงินตัวทอง และผองเพื่อนตัวเห้ กินได้ไหม ?

รู้จักตัวเงินตัวทอง

เหี้ย หรือ ตัวเงินตัวทอง เป็นสัตว์เลื้อยคลาน มีถิ่งอาศัยอยู่ในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ

วงศ์เหี้ย (Varanidae) จริง ๆ แล้วมีเกือบ 80 ชนิด ทั้งหมดอยู่ในสกุล Varanus โดยเหี้ย หรือตัวเงินตัวทองที่พบในไทยจะเป็นพันธุ์ V.s. macromaculatus ซึ่งเคยมีคนจัดชนิดของน้อง ๆ ตามคำเรียกของไทยได้ 6 ชนิดคือ

เหี้ย (ตัวเงินตัวทอง) : ตัวสีดำ ลิ้นสีม่วงปลายแฉก มีลายดอกสีขาวหรือเหลืองเป็นแถวพาดขวางตัว หางเป็นปล้องสีดำสลับกับเหลืองอ่อน หนังหยาบเป็นเกล็ด ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์อื่นในจำพวกเดียวกัน แต่เล็กกว่ามังกรโคโมโด

ตะกวด (แลน) : พื้นตัวเป็นสีเทาเหลืองหรือน้ำตาลเทา เกล็ดเป็นสีเหลืองหรือเป็นจุด ๆ เมื่อมองผ่าน ๆ จึงดูตัวเป็นสีเหลือง

มังกรดำ (เหี้ยดำ) : มีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก มังกรดำ สีดำสนิทด้านทั้งตัว ไม่มีลายและจุดด่างเลย ท้องเทาเข้ม ลิ้นสีเทาม่วง มังกรดำเป็น Monitor ชนิดที่พบใหม่ มีรูปลักษณะคล้ายเหี้ย ลักษณะของเกล็ดผิดเพี้ยนกันเพียงเล็กน้อย

Advertisements

แลนดอน (ตะกวดเหลือง) : มีนิ้วเท้าที่สั้น และพื้นลำตัวสีเหลือง อีกทั้งมีพฤติกรรรมไม่ชอบอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือที่ชื้นแฉะ โดยจะอยู่เฉพาะที่แห้งแล้งหรือพื้นทราย

เห่าช้าง : ตัวสีดำเข้ม มีขนาดเล็กกว่าพวกเหี้ย หรือตะกวด มีลายเลือนๆ ขวางลำตัว ปากแหลมและเกล็ดบนสั้น เกล็ดบนคอใหญ่เป็นแหลม ๆ คล้ายหนามทุเรียน

ตุ๊ดตู่ : ตุ๊ดตู่เป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในกลุ่มสัตว์จำพวกเหี้ย-ตะกวดที่พบได้ใน ประเทศไทย และเป็นสัตว์ไม่มีพิษ มีลายแถบสีครีมขวั้นตามตัว ตัวมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงตล้ำ

ตัวเงินตัวทอง กินได้

ตัวเงินตัวทอง กินได้ไหม ?

ตัวเงินตัวทอง สามารถกินได้หรือไม่ ? เป็นคำถามคาใจของใครหลาย ๆ ที่ไม่อยากจะเชื่อว่าเห็นน้องหน้าตาดุ กับรูปลักษณ์สุดโหดขนาดนี้ก็สามารถตกเป็นอาหารอันโอชะของเหล่าผู้นิยมกินของป่าด้วยเช่นกัน

ซึ่งตัวเงินตัวทองที่คนนิยมกินกันนั้น แท้จริงแล้วคือ ตะกวด หรือ ตัวแลน เท่านั้น และจะ ไม่นิยมทานเหี้ยหรือตัวเงินตัวทอง เพราะตัวเงินตัวทองมีเนื้อที่คาวมาก และมีพยาธิเยอะ เสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย มีสิทธิ์ติดโรคพยาธิ

ทั้งนี้ ตัวเงินตัวทอง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามลำดับที่ 19 ตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ห้ามเลี้ยง ซื้อ ขาย หรือครอบครอง ต้องมีการขออนุญาตเพาะเลี้ยงจากกรมอุทยานฯ ก่อน ฝ่าฝืนมีความผิดมีโทษจำคุก 4 ปี ปรับ 40,000 บาท หรือต้องจำทั้งปรับ

ประโยชน์ของตัวเงินตัวทอง

ตัวเงินตัวทองเป็นสัตว์ที่ช่วยรักษาระบบนิเวศและรักษาความสะอาด เพราะจะกินซากสัตว์ที่ตายแล้ว (Scavenger) กินขยะเศษอาหาร ช่วยให้ไม่เกิดการเหม็นเน่าของซากสัตว์ ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และยังทำให้แหล่งน้ำสะอาดขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมสัตว์ไม่พึงประสงค์ต่อมนุษย์ อย่างเช่น หนู นกพิราบ ไข่งูพิษ

ตัวเงินตัวทองจัดเป็นนักล่าอันดับบนของห่วงโซ่อาหารและเป็นดัชนีหนึ่งในการประกอบการชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้

ในเรื่องของการเอาไปกินนั้น ก็ขอบอกว่าจริง ๆ น้องก็เอามากินได้ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมการกินของแต่ละภูมิภาค ซึ่งอย่างที่บอกว่าเขาจะนิยมกินตะกวดมากกว่า ตัวเงินตัวทอง เนื่องจากความสะอาด พยาธิ และกลิ่นคาว

ส่วนเมนูก็แล้วแต่พ่อครัวแม่ครัวจะรังสรรค์ออกมาในรูปแบบไหน แต่ของไทยก็มักนิยมเอามาผัดเผ็ด บ้างก็เอาไปทำลูกชิ้น ตามที่เป็นข่าว ก็จะให้เนื้อเด้ง ๆ คล้ายลูกชิ้นปลาเลยล่ะ แต่ทั้งนี้ขอให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย สัตว์ป่าคุ้มครอง และสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กันด้วยนะ

Common Water Monitor

ขอบคุณข้อมูล 1 2

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button