พิจารณ์ เปิดข้อมูลเด็ดเรือสุโขทัยล่ม จี้ ประยุทธ์ ตอบใครสั่งเรือกลับสัตหีบ
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ เปิดข้อมูลเด็ด ทำไมเรือสุโขทัยล่ม พิจารณ์ ก้าวไกล กางหลักฐาน เรือหลวงสุโขทัยล่ม ต่อหน้าสภา ซ่อมแล้วส่งมอบแล้วก็ยังมีปัญหา ย้ำชัด พลเอกประยุทธ์ ต้องตอบใครเป็นคนสั่งกลับสัตหีบ
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ในที่ประชุมรัฐสภา พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้เปิดประเด็น สาเหตุเรือหลวงสุโขทัยล่มที่คร่าชีวิตลูกเรือ 24 นาย สูญหายอีก 5 รายนั้น คือความบกพร่องโดยสุจริตหรือจงใจบกพร่องโดยทุจริตทีละเล็กทีละน้อย ย้ำชัดกรณีเรือหลวงอัปปาง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
“วันนี้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาต้องตอบให้ชัดครับ ว่าใครเป็นคนสั่งให้เรือกลับไปที่สัตหีบ” พิจารณ์ ระบุตอนเริ่มอภิปรายพร้อมกับตั้งคำถามก่อนหน้าว่าเป็นเพราะความผิดพลาดของคนบบนเรือวันดังกล่าว หรือ เกิดจากความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงานชายฝั่งหรือไม่
“คำถามคือว่าเพราะเหตุใดครับ เรือหลวงสุโขทัยจุึงไม่เข้าเทียบท่าที่บางสะพาน ตกลงแล้วเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาการที่ไหนครับ ที่สั่งให้เรือหลวงสุโขทัยนั้นกลับสัตหีบ” รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าว
นอกจากเรื่องใครเป็นคนสั่งการแล้ว พิจารณ์ยังตั้งข้อสังเกตเรื่องการซ่อมบำรุงเรือที่ส่อพิรุธ โดยเปิดข้อมูลเอกสารการซ่อมเรือหลวงสุโขทัย ในช่วงระหว่าง พ.ค. 61 – ม.ค. 64 รวม 300 กว่าหน้า งบประมาณ 60 กว่าล้านบาท แต่ถึงจะซ่อมบำรุงแล้วก็ยังมีปัญหาจนตนกล้าพูดได้เลยว่า ไม่ใช่ความบกพร่องโดยสุจริต แต่เป็นความบพร่องจงใจทุจริตในการซ่อมทำ จนตนไม่แน่ใจนี่เป็นเรือรบหรือขนมเค้ก
พิจารณ์ ยกตัวอย่างการซ่อมบถำรุงที่เป็นปัญหา ไล่ตั้งแต่ สมอเรือ ที่กว้านสมอซ่อมเสร็จก็ยังพังเมื่อทดสอบการใช้งานจริง, มาตรวัดแรงดันหาย ใช้ได้บ้างไม่ได้ติดตั้งบ้าง, มอเตอร์น้ำรั่ว สั่นรุนแรง และทุกเครื่องจักรสั่นหนักมาก สั่นแม้แต่เครื่องใหม่จนต้องตั้งคำถามว่า ติดตั้งยังไง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีทั้งหดม 4 เครื่อง มี 1 เครื่องซ่อมเสร็จก็ยังพัง
นายพิจารณ์ ระบุชัดเจนว่า ที่กล่าวไปนั้นเป็นสภาพภายหลังการซ่อมในช่วงปี 61-64 คนมีหน้าที่ซ่อมซ่อมยังไง รวมถึงคนมีหน้าที่ตรวจรับ ตรวจรับได้อย่างไร ?
ทั้งนี้ พิจารณ์ บอกด้วยว่า ในฐานะคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ได้เรียกให้กองทัพเรือเข้ามาชี้แจงถึง 4 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 22 ธ.ค.65 สี่วันหลังเรือล่มมีการขอเอกสารมากมาย อาทิ ประวัติการซ่อมเรือ, งบประมาณที่ใช้, บันทึกการปฏิบัติภารกิจ, บันทึกการติดต่อสื่อสาร จนถึงเวลาที่ระบบสื่อสารใช้การไม่ได้ และ เช็คลิสต์ (Check List) ตรวจสอบความพร้อมของเรือ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา นายพิจารณ์กล่าวว่าคือตัวอย่างเอกสารที่ขอคำชี้แจงไปแล้วไม่ได้
ส่วนที่ได้มา คือ อัตรตากำลังพลและประวัติการบรรจุของเรือ กับ เอกสารประเมินสภาพออากาศก่อนอกจากสัตหีบ.