อัปเดตคำศัพท์ภาษาไทย “พระฉันบวบ “ถวายบัว” “ตอกเสาเข็ม” คืออะไร หลังชาวโซเชียลแห่แชร์กันยกใหญ่ เผยที่มาสุดอื้อฉาวจากวงการพระสงฆ์ไทย
จากกรณีเหตุการณ์ “แพรรี่ ไพรวัลย์” ได้ออกมาแฉว่าเจ้าอาวาสแห่งหนึ่งในวัดจังหวัดนครสวรรค์ ได้ประพฤติตนไม่เหมาะสมด้วยการกระทำที่เรียกว่า “พระฉันบวบ” และข่าวการเปิดโบงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือ “อาบัติ” ในวงการพุทธศาสนาไทยกันอย่างไม่มีพัก จนเกิดเป็นศัพท์หรือวลีใหม่บนโซเชียล ไม่ว่าจะเป็น พระฉันบวบ, ถวายบัว, ตอกเสาเข็ม ที่คำดังกล่าวกลายเป็นการพูดถึงภาพลักษ์ด้านลบของวงการพระสงฆ์ไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทีมงาน The Thaiger จึงจะมาไขข้อข้องใจ ความหมายของคำดังกล่าวว่าสื่อถึงอะไรกันบ้าง
1. พระฉันบวบ
“พระฉันบวบ” หากเป็นความหมายทั่วไปก็สื่อถึงพระที่กำลังรับประทานบวบตามปกติในชีวิตประจำวัน แต่จากเหตุแฉพฤติกรรม “อาบัติ” ของเจ้าอาวาสวัดดังแห่งหนึ่ง จังหวัดนครสวรรค์ ดังกล่าว ส่งผลให้คำว่า “พระฉันบวบ” มีความหมายว่า เป็นการเลี้ยงหรือดูแลเด็กผู้ชายเอาไว้บำเรอกาม หรือเสพเสพสังวาส เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นพระเฒ่าหัวงูที่เป็นสายเปย์เด็กผู้ชายนั่นเอง
2. ถวายบัว
สำหรับคำศัพท์ลำดับถัดมาคือคำว่า “ถวายบัว” เดิมเป็นคำศัพท์เฉพาะของชาว LGBT อยู่ก่อนแล้ว มีความหมาย สื่อถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปากกับอวัยวะเพศ หรือ อรัลเซ็ก (Oral Sex) ที่มีลักษณะการโน้มตัวลงมาคล้ายกับท่าถวายบัว โดยสามารถแตกเป็นคำศัพท์ใหม่ ๆ ได้เป็น คำว่าบัวสด คือการอรัลเซ็กแบบไม่สวมถุงยางอนามัย และคำว่า บัวลูกชุบ ที่หมายถึงการสวมถุงยางที่อวัยวะเพศแล้วจินตนาการว่ากำลังกินลูกชุบ
3. ตอกเสาเข็ม
ปิดท้ายกันด้วยศัพท์เก่าในความหมายใหม่อย่างคำว่า “ตอกเสาเข็ม” ซึ่งมีความหมายที่ใคร ๆ ก็รู้อยู่แก่ใจ เพราะการตอกเสาเข็มลงดินย่อมต้องมีโคลนติดออกเป็นธรรมดา ดังนั้นคำว่า “ตอกเสาเข็ม” ในกาลนี้จึงหมายความถึง การร่วมรักระหว่างชายรักชาย
สรุปแล้วคำว่า พระฉันบวบ ถวายบัว และตอกเสาเข็ม เป็นเพียงคำที่แสดงพฤติกรรม หรือรสนิยมทางเพศทั่วไป แต่กรณีที่ยกมาข้างตนนั้น เป็นการใช้คำในบริบทของพฤติกรรมฉาววงการพระสงฆ์ไทย ที่แสดงพฤติกรรมอาบัติรุนแรง จนทำให้พุทธศาสนาในไทยเสื่อมเสียชื่อเสียง