อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

15 มกราคม 2566 วันไทปงกัล หุงข้าวทิพย์ บูชาองค์เทพฮินดู

เปิดปฏิทินวันสำคัญ อาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566 วันพิธีไทปงกัล วันไหว้-บูชาเทพฮินดู ตามแบบฉบับอินเดีย เตรียมร่วมงานได้ที่ วัดแขก สีลม

วันปงกัล, อุตรายัน สังกรานติ หรือ มกรา สังกรานติ เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวในภาคใต้ของอินเดีย การสิ้นสุดของฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของการเฉลิมฉลองโดยชาวทมิฬในรัฐทมิฬนาฑู ของอินเดีย ศรีลังกา และเนปาล

Advertisements

วันไทปงกัล คืออะไร ?

ปงกัล คือ จุดเริ่มต้นของการโคจรของดวงอาทิตย์ปัดไปทางเหนือ (หรือ อุตรายัน) และเป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นพร้อมกับงานเทศกาล มกรา สังกรานติ ที่มีการเฉลิมฉลองทั่วประเทศอินเดียขณะที่การเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูหนาว

15 มกราคม วันไทปงกัล

พิธีไทปงกัล มักจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 13 – 16 มกราคม ตามปฏิทินสุริยะคติ ซึ่งก็คือจากวันสุดท้ายของเดือน Maargazhi (மார்கழி) ของปฏิทินทมิฬ หรือ ตรงกับเดือน มฤคศิระมาส ตามปฏิทินฮินดู หรือประมาณเดือนธันวาคม – มกราคม จนถึงวันที่สามของเดือน Tai (தை) ซึ่งคือประมาณกลางเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์

ช่วงที่ 2 ใน 4 วันหรือวันแรกของ เดือนไท Tai (தை) ถือเป็นวันหลักของงานซึ่ง เป็นที่รู้จักกันว่า วัน ไท ปงกัล (Tai Pongal) นอกจากนี้วันนี้ยังหมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมังกร

Advertisements

15 มกราคม วันไทปงกัล

คำว่า ปงกัล (Pongal) หมายถึง การเดือด และล้นออกมา ของนมและข้าวในช่วงเดือนไทของชาวทมิฬ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ โดยในพิธีนี้จะทำการต้มนม น้ำตาลโตนด และข้าวให้เดือนจนล้นออกมา และนำมาราดด้วยน้ำตาลและเนย กลายเป็นขนมชนิดหนึ่งที่นิยมทำกันในเทศกาล พิธีไทปงกัล

นอกจากนี้เทศกาลนี้ ชาวทมิฬยังถือว่าเป็นวันขอบคุณสุริยะเทพ สำหรับการเก็บเกี่ยวและผลผลิตที่ดี และอุทิศข้าวเม็ดแรกที่เก็บเกี่ยวได้ เพื่อบูชาสุริยะเทพ ชาวทมิฬจะตกแต่งบ้านเรือน โดยมีใบกล้วยและมะม่วงและประดับประดาให้งดงาม เป็นชั้นๆ และมีรูปแบบการตกแต่งวาดโดยใช้แป้งข้าวเจ้าผสมสีเป็นลวดลายต่าง ๆ

15 มกราคม วันไทปงกัล

ขอบคุณข้อมูล – 1

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button