‘ชัชชาติ’ ตอบปม สวนป่าเบญจกิติ หญ้าแห้ง ชี้เป็นเรื่องปกติ
ชัชชาติ ตอบกรณี สวนป่าเบญจกิติ หญ้าแห้ง และ น้ำเน่า ว่าเป็นเรื่องปตกิ เพราะสวนที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติ ส่วนน้ำสูบมาจากคลองไผ่สิงโต
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพ ให้สัมภาษณ์หลังจากที่มีประเด็นโจมตีการทำงานจากสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องการดูแลสวนเบญจกิติ ว่าปัจจุบันสวนเบญจกิติ ว่าหญ้าแห้งและน้ำมีกลิ่นเหม็น ว่า สวนป่าเบญจกิตินั้นเป็นสวนที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นลักษณะแบบสนามหญ้าทั่วไป จึงมีสภาพจริงในรูปแบบของป่ามากที่สุด
ดังนั้นแล้วสภาพหญ้าแห้งหรือเหี่ยวตายนั้น ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า เป็นเรื่องปกติ ส่วนเรื่องน้ำนั้นสูบมาจากคลองไผ่สิงโต ซึ่งคุณภาพน้ำยังมีปัญหาอยู่ จึงสั่งการลงไปให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดูแลในเรื่องของคุณภาพน้ำที่นำมาใช้ให้ดีมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ น.ส.ปาจริยา มหากาญจนะ ผู้อำนวยการส่วนสวนสาธารณะ 1 สำนักสิ่งแวดล้อม ได้ชี้แจงประเด็นนี้ว่า สวนเบญจกิตินั้นมีพื้นที่กว่า 450 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สวนน้ำ 130 ไร่ สวนป่า 320 ไร่ โดยสวนป่าจะแบ่งเป็นระยะที่ 1 มีจำนวน 11 ไร่ และระยะที่ 2 และ 3 คือจุดที่มีปัญหาคือพื้นที่ 259 ไร่ มีบ่อน้ำอยู่จำนวน 4 บ่อ โดยทั้ง 4 บ่อจัดทำขึ้นเพื่อไว้รองรับน้ำในหน้าฝน และนำมาใช้ในหน้าแล้ง
สวนเบญจกิตินั้นมีพื้นที่กว่า 450 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สวนน้ำ 130 ไร่ สวนป่า 320 ไร่ โดยสวนป่าจะแบ่งเป็นระยะที่ 1 มีจำนวน 11 ไร่ และระยะที่ 2 และ 3 คือจุดที่มีปัญหาคือพื้นที่ 259 ไร่ มีบ่อน้ำอยู่จำนวน 4 บ่อ โดยทั้ง 4 บ่อจัดทำขึ้นเพื่อไว้รองรับน้ำในหน้าฝน และนำมาใช้ในหน้าแล้ง
ส่วนหญ้าที่เห็นว่าเป็นสีเหลืองหรือแห้งนั้น เป็นหญ้ารูซี่ ที่ใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งหญ้าชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งแบบหญ้านวลน้อยที่ปลูกอยู่ตามบ้านเรือน จึงทำให้ภาพที่เห็นเป็นภาพที่หญ้าแห้งแล้ง ขณะเดียวกันจุดที่ดูดซับน้ำเข้าดินได้ดีก็จะยังคงสภาพสวนสีเขียว จึงถือเป็นสภาพสวนปกติอย่างที่ควรจะเป็น
น.ส.ปาจริยา กล่าวต่อว่า ส่วนการดูแลพื้นที่ป่านิเวศลักษณะนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวให้ยุ่งยาก เจ้าหน้าที่จะดูแลแค่เรื่องขยะเท่านั้น สวนเบญจกิตินั้นไม่ได้มีเฉพาะบริเวณที่เป็นสวนป่าอย่างเดียว แต่มีพื้นที่ใช้งานแบบสวนสาธารณะ ซึ่งจุดนี้ดูแลอย่างดี เพื่อรองรับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ
สำหรับกรณีน้ำในบริเวณดังกล่าวที่มีกลิ่นเหม็นนั้น เพราะนำน้ำเหล่านี้มาจากคลองไผ่สิงโต และนำน้ำตรงจุดนั้นมาบำบัดในระบบธรรมชาติโดยการใช้พืชน้ำบำบัด และส่งน้ำไปตามแต่ละบ่อจึงอาจทำให้น้ำภายในสวนนั้นมีกลิ่นบ้าง แต่จัดเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบหากพบว่าจุดไหนมีความเข้มข้นมาก จึงจะนำน้ำจากบ่อมาเติมเพื่อให้ความเข้มข้นจางลง