ข่าว

สาวสาธิตวิธีปฐมพยาบาล อาหารติดคอเด็ก ทำขำสนั่นโซเชียล

ไวรัล สาวสาธิตวิธีปฐมพยาบาลเด็กอาหารติดคอ ชาวเน็ตแซวงานนี้คนเจ็บผวาแน่ หลังขำกันจนเกือบขิต แห่แซว น้องยังปลอดภัยดีใช่ไหมคะ

กลายเป็นภาพที่บนโลกโซเชียลกำลังยกให้เป็นไวรัลประจำสัปดาห์ ภายหลังจากเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 บัญชีเฟซบุ๊ก @วิทยากรสอนปฐมพยาบาล เบื้องต้นตามกฎหมาย ได้โพสต์ภาพลง กลุ่ม FC ครูเสสอนปฐมพยาบาล CPR AED RESCUEงู/งานจปว จปท พร้อมแคปชั่นว่า “เศษอาหารที่ติดคอ ออกเรียบร้อย” โดยจากรูปจะเห็นภาพของการจำลองวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยเหลือเด็กเล็กยามที่ต้องเจอสถานการณ์ไม่คึาดฝันอย่างเษอาหารเข้าไปติดในลำคอ แต่ที่เป็นไวรัลก็เพราะจากรูปหญิงสาวที่เป็นคนสาธิตได้ถอดหัวหุ่นพลาสติกจนกระเด็นหลุดออกมาจนเรียกรอยยิ้มให้กดับความตลกร้ายนี้จากสังคมโซเชียลเป็นจำนวนมาก

Advertisements

ส่วนใหญ่เข้ามาแสดงความเห็นกัน อาทิ ต้องเอาหัวออกก่อนเหรอคะ, เรียนรู้แล้วนำไปใช้, สบายตัวหัวหลุด นอกจากนี้ชาวเน็ตบางกลุ่มก็พากันแท็กเพื่อนซี้ ให้เข้ามาดูไวรัลมากมาย พร้อมแซวสนั่นว่า ดูหน้าน้องด้วย

ปฐมพยาบาลอาหารติดคอเด็ก

เด็กอาหารติดคอ

ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวเป็นเป็นเพียงการโพสต์ภาพเรียกเสียงหัวเราะจากช่วงเวลาหนึ่งในการปฏิบัติกิจจกรมสื่อการเรียนการสอนวิชาปฐมพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งวิธีการที่ถูกต้องเราก็ได้มีการหยิบยกมาอธิบายไว้ด้วยเช่นกัน ดังนี้

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเด็กทารกหรือเด็กโตอาหารติดคอ ต้องปฏิบัติอย่างไร โดยทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเคยกล่าวไว้ว่า

Advertisements

กรณีเด็กเล็ก หรือ น้อยกว่า 1 ปี

  1. กรณีไม่หมดสติ ตรวจดูอาการทางเดินหายใจอุดกั้น เช่น ร้องไม่มีเสียง ไอไม่ออก
  2. จับคว่ำตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับนอนหงาย กดหน้าอก 5 ครั้ง
  3. ใช้ฝ่ามือรองเพื่อซัพพอร์ตคอเด็กขณะตบหลัง
  4. ทำซ้ำจนสิ่งแปลกปลอมออกมา
  5. กรณีหมดสติ ให้ทำปฏิบัติการกู้ชีพ ขอความช่วยเหลือ ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมค่อยดึงเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา ทำการปฏิบัติการกู้ชีพจนความช่วยเหลือมาถึง

กรณีเด็กโต

  1. กรณีไม่หมดสติ ถามว่าพูดได้ไหม ให้ลงมือช่วยเมื่อเห็นว่า พูดไม่มีเสียง
  2. รัดกระตุกที่ท้อง เหนือสะดือใต้ลิ้นปี (Abdominal Thrust)
  3. ทำซ้ำจนสิ่งแปลกปลอมออกมา
  4. กรณีหมดสติ ให้ทำปฏิบัติการกู้ชีพ และขอความช่วยเหลือ
  • ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมค่อยดึงเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา
  • ทำการปฏิบัติการชีพจนความช่วยเหลือมาถึง

ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button