ข่าว

เปิดเรตราคาชอปปิ้งงานวิจัย จ่ายหลักหมื่น-เบิกหลักแสน ไม่ต้องทำเอง

แค่กดซื้อแล้วชำระเงิน เปิดตัวเลข ซื้อ-ขาย ช้อปปิ้งงานวิจัย หลังนักวิชาการไทยในต่างแดนแฉซื้อขายกันตั้งแต่หลักหมื่น อยู่ลำดับแรกจ่ายสูงหน่อย

จากกรณีนักวิชาการไทยในต่างประเทศรายหนึ่งได้ออกมาแฉว่ามีการซื้อขายออนไลน์เพื่อให้ได้ใส่ชื่อตัวเองเป็นผู้แต่งงานวิจัยโดยไม่ต้องทำจริง ซึ่งงานวิจัยที่มีผู้แต่งหลายคนจะเรียงชื่อตามลำดับความสำคัญและการมีส่วนร่วม ถ้าอยู่ลำดับแรกก็ต้องจ่ายในเรตราคาที่แพงกว่าปกติ ลำดับถัดมาราคาจะลดหลั่นกันลงไป โดยทุกแพคเกจสามารถเลือกได้แล้วก็กด “ซื้อ” และชำระเงิน

โดยประเด็นร้อนที่กำลังเป็นที่วิจารณ์กันสนั่นคือมีการจับพิรุธของอาจารย์จากมหาวิทยาลัยชื่อดังทางภาคเหนือ เนื่องจากเดิมทีในปี 2019 อาจารย์รายนี้มีงานวิจัยแค่ชิ้นเดียว แต่ต่อมาในปี 2020 มีเพิ่มเป็น 40 ชิ้น ปี 2021 มีเพิ่มถึง 90 ชิ้น

ทำให้ต่อมาบรรดาผู้คนในแวดวงวิชาการออกมาแฉเพิ่มว่า อาจารย์ท่านนี้จ่ายเงินเพื่อซื้อชื่อผู้แต่งลำดับที่ 1 ในราคา 900 ดอลลาร์ (ราว 30,000 บาท) แล้วนำงานวิจัยไปเบิกเงินกับมหาวิทยาลัย 1.2 แสนบาท ได้เงินส่วนต่าง 90,000 บาท

เรตราคาซื้อ-ขายงานวิจัย “ช้อปปิ้งงานนวิจัย” ต้องใช้เงินเท่าไหร่ ?

  • เรตราคา มีชื่อเป็นผู้แต่งลำดับที่ 1 ราคา 900 ดอลลาร์ (ประมาณ 30,000 บาท)

ด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ออกมากล่าวถึงกรณดังกล่าวว่า ธุรกิจที่น่ากลัวที่สุดของสังคมวิจัย คือ การที่นักวิจัยไป ช้อปปิ้ง (shopping) งานวิจัยที่ตัวเองไม่ได้ทำ

ดร.อนันต์ ยังได้ยกตัวอย่างเพื่อให้ห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยผู้ที่ทำการซื้องานวิจัยจะเริ่มจากไปอ่านงานที่คิดว่าอยากมีชื่อตัวเองในเปเปอร์นั้นๆ แล้วใช้เงินไปซื้อตำแหน่งของการเป็นผู้แต่ง หรือ ผู้นิพนธ์ ในงานวิจัย โดยเรตราคาก็อย่างที่ได้ระบุไว้ในบรรทัดบนและเมื่อได้จำนวนผู้แต่งครบงานวิจัยหลอกๆ นี้ก็ส่งไปตีพิมพ์โดยคนที่จ่ายเงินเป็นผู้แต่งก็จะไปสามารถอ้างผลงานทางวิชาการ หรือ ไปใช้ขอทุนจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อถอนทุนคืนได้

ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการไบโอเทค ยังบอกอีกว่า งานวิจัยที่ออกมาจะมีผู้แต่งแบบหลากหลายสถาบัน หลายประเทศที่ไม่เคยเห็นหน้าหรือรู้จักกันเลย พฤติกรรมแบบนี้ไม่แตกต่างจากการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในวงการราชการเลย ที่เสียใจคือ เห็นชื่อนักวิจัยของไทยในงานแบบนี้ด้วย.

anon jongkaewwattana
ภาพ Facebook @anon jongkaewwattana
ข่าว งานวิจัยซื้อขาย
ภาพ Facebook @Anan Jongkaewwattana
ซื้องานวิจัย
ภาพ Facebook @Anan Jongkaewwattana

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button