อาหารไลฟ์สไตล์

วิธีเช็ก ‘อาหารแช่ฟอร์มาลีน’ ภัยร้าย อันตรายเงียบ ที่มาพร้อมความอร่อย

ช่วงนี้กลายเป็นกระแสหนัก หลังมีเจ้าหน้าเข้าตรวจร้านหมูกระทะหลายเจ้า พบอาหารทะเล และเนื้อหมูแช่ สารฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าสารดังกล่าวเอาไว้ใช้ยืดอายุของศพ !!!

คงไม่ต้องพูดถึงเรื่องของอันตราย หากผุ้บริโภคกินเข้าไปจะเสี่ยงขนาดไหน แต่ครั้นจะให้รัฐตรวจสอบทั้งประเทศก้คงไม่ได้การ เราในฐานะผู้บริโภคเองก็ต้องมีวิธีเช็ก วิธีสังเกตด้วยเช่นกัน ซึ่งวิธีดูว่าอาหารใดบ้างที่ผ่านการ แช่ฟอร์มาลีน ที่ถูกต้องจะเป็นอย่างไรตาม The Thaiger มาดูกัน

รู้จักสารฟอร์มาลีน (Formaldehyde)

ฟอร์มาลีน หรือ Formaldehyde เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีตามธรรมชาติ มีสูตรเคมี CH2O เป็นสารตั้งต้น ของวัสดุและสารประกอบเคมีอื่น ๆ มากมาย เช่น แผ่นชิ้นไม้อัด และวัสดุเคลือบ เป็นหลัก

วิธีเช็ก อาหารแช่ฟอร์มาลีน

สารฟอร์มาลีน เป็นอันตรายอย่างมากมนุษย์ เนื่องจากไอระเหยของสารชนิดนี้มีพิษ ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จึงมักใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ที่ไม่ข้องเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ หรือถ้าใช้ก็จะใช้ในปริมาณที่เปอร์เซ็นต์น้อยมาก ๆ เช่น สารฆ่าเชื้อ, ยาทาเล็บ, ยาเคลือบเล็บ เป็นต้น

อีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนทราบกับดีคือ ฟอร์มาลีน (Formaldehyde) มักจะถูกใช้ในการคงสภาพเนื้อเยื่อ และฉีดดองศพ เป็นกระบวนการก่อความเชื่อมโยง (crosslinking) ระหว่างกลุ่มกรดอะมิโน โดยสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ที่ความเข้มข้น 4% สามารถคงสภาพเนื้อเยื่อที่เป็นโรคในอัตรา 1 มม./ชม. ที่อุณหภูมิห้อง

และด้วยคุณสมบัติที่สามารถคงสภาพเนื้อเยื่อได้นาน จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ที่ขายเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ที่รับมาในปริมาณมาก ๆ แต่ต้องการคงสภาพให้สดอยู่ตลอดเมื่อขายไม่หมด โดยไม่ได้คำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคหารับประทานเข้าไป

วิธีเช็ก อาหารแช่ฟอร์มาลีน

วิธีเช็ก อาหารแช่ฟอร์มาลีน

สำหรับวิธีเช็กง่าย ๆ ว่าอาหารที่เรารับประทาน หรือร้านหมูกระทะที่เราเข้าไปใช้บริการนั้น แช่เนื้อแช่อาหารในฟอร์มาลีน ก่อนมาเสิร์ฟเราหรือไม่ เช็กได้ดังนี้

อาหารประเภทเนื้อสัตว์ – อาหารชนิดนี้ มีหลักการคล้าย ๆ กับร่างกายมนุษย์ คือเมื่อแชร์ฟอร์มาลีนมาจะยังคงสภาพสมบูรณ์ อยู่ได้นาน แม้กระทั่งตากลม หรือตากแสดงแดดเป็นเวลานาน เนื้อก็ยังคงนุ่ม สีสดอยู่ตลอด ขอแนะนำให้ข้ามร้านนี้ไปได้เลย

วิธีเช็ก อาหารแช่ฟอร์มาลีน

อาหารประเภทอาหารทะเล – อาหารทะเล เป็นส่วนประกอบอาหารที่เสียง่ายเร็วที่สุดของบรรดาร้านบุฟเฟ่ต์ หมูกระทะ ดังนั้นหากพบเจอ กุ้ง หมึก ปลา แมงกระพรุน ที่บางส่วนเนื้อแข็งบ้างบางส่วนเนื้อยุ่ยบ้าง ยิ่งในถาดเซ็ดเดียวกัน ให้ข้ามไปร้านอื่นได้เลย

อาหารประเภทผัก ผลไม้ – ผัก ผลไม้ที่มีลักษณะแข็ง เขียว กรอบหรือสดผิดปกติ ให้ดมที่ใบ ผลหรือหักก้านดม ถ้ามีกลิ่นแสบจมูกแสดงว่ามีฟอร์มาลินปนเปื้อนอย่างแน่นอน

วิธีเช็ก อาหารแช่ฟอร์มาลีน

แต่หากซื้อของสดจากตลาดมา แล้วไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ซื้อมานั้นปนเปืเอนสารฟอร์มาลีนมาหรือไม่ ควรแช่ด้วยสารละลายด่างทับทิมเจือจาง (ในอัตราส่วน ด่างทับทิมประมาณ 20 เกล็ด ผสมน้ำ 4 – 5 ลิตร) ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำ เพราะ ฟอร์มาลีนจะทำปฏิกิริยากับด่างทับทิมแล้วได้เกลือฟอร์เมตซึ่งละลายน้ำได้นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล Weerachai Phutdhawong

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button