อาหารผู้ป่วยมะเร็ง กินอย่างไร ให้บรรเทาอาการข้างเคียง จากการรักษา
โรคมะเร็ง ภัยร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับตัวเอง หรือคนในครอบครัว แต่หากเกิดเรื่องไม่คาดคิด คนใกล้ชิดเป็นมะเร็งขึ้นมา อาหารการกิน ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะอาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง
การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอเหมาะสมก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นและมีความรู้สึกดีขึ้น มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสมนั่นเอง
อาหารในผู้ป่วยมะเร็งสำคัญอย่างไร ?
การรักษามะเร็ง ทั้งการผ่าตัด ฉายแสง หรือการใช้ยา มักมีการอักเสบหรือการสูญเสียเนื้อเยื่อเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอเพื่อซ่อมแซมร่างกาย
ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพออาจส่งผลให้ร่างกายฟื้นตัวช้าและทำให้การรักษามะเร็งไม่ได้ผลที่ดีตามควร ดังนั้นอาหารจึงเป็นส่วนเสริมที่สำคัญเพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถรับการรักษามะเร็งจนครบได้
การรักษาโรคอาจประกอบด้วย การผ่าตัด การฉายแสง (รังสีรักษา) เคมีบำบัด การใช้ฮอร์โมนรักษา และ Biologic immunotherapy หรือ การใช้หลายวิธีร่วมรักษาการรักษาโรคมะเร็งจะมีเป้าหมายเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามเซลล์ที่ปกติอาจถูกทำลายบางส่วนทำให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา ดังต่อไปนี้
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักเปลี่ยนแปลง (เพิ่ม หรือ ลด)
- เจ็บปาก และคอ
- ปากแห้ง
- ปัญหาบริเวณฟัน และเหงือก
- การรับรสชาด และรับกลิ่นเปลี่ยนไป
- คลื่นไส้ และอาเจียน
- ท้องเสีย
- แพ้น้ำตาลแลกโตส (พบได้ในนมวัว)
- ท้องผูก
- อ่อนเพลีย หรือซึมเศร้า
อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตามอาการ
อาการเจ็บที่ปาก
มีแผลในปาก เหงือก ในคอ หรือมีปัญหาการกลืน
อาหารมื้อหลัก : ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส, ข้าวต้ม, กระเพาะปลา, โจ๊ก, ปลานึ่ง, ไข่ตุ๋น, แกงจืด, ต้มจับฉ่าย, เต้าหุ้ทรงเครื่อง, มันฝรั่งบด หรือซุป เป็นต้น
ของว่าง : วุ้น, แพนเค้ก, ตะโก้, สังขยา, ไข่หวาน, ทองหยอด, สาคูเปียก, ลอดช่อง, ขนมเปียกปูน, ไอศกรีมเชอร์เบ็ท, พุดดิ้ง, โยเกิร์ต เป็นต้น
เครื่องดื่ม : นม, สมูทตี้
ผลไม้ : กล้วยหอม, มะละกอ, มะม่วงสุก, แก้วมังกร เป็นต้น
อาการท้องเสีย
อาหารมื้อหลัก : ข้าวขาว, ขนมปังขาว, เนื้อไก้ต้มหรือย่าง, ไข่, ปลา, ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส (ไม่ใส่ผัก) เป็นต้น
ของว่าง : วุ้น, เยลลี่, หวานเย็น, สังขยา, ไอศกรีมเชอร์เบ็ท เป็นต้น
เครื่องดื่ม : น้ำเปล่า, ผงเกลือแร่ (ORS)
อาการปากแห้ง
อาหารมื้อหลัก : ก๋วยเตี๋ยวน้ำใส, ข้าวต้ม, ซุปใส หรือซุปข้น, แกงจืดต่าง ๆ เป็นต้น
ของว่าง : เฉาก๊วย, สมูทตี้, วุ้นอ่อน, น้ำหวานต่าง ๆ, อาหารทางการแพทย์
ผลไม้ : น้ำปลไม้, แตงโม, สาลี่
อาการเบื่ออาหาร
- ให้ผู้ป่วยมะเร็งลองรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่เพิ่มความถีในการรับประทาน
- พยายามดื่มน้ำ หรือของเหลวที่มีส่วนประกอบของน้ำมาก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำที่เพียงพอ
- กรณีที่ไม่อยากรับประทานข้าว อาจรับประทานเป้นอาหารเหลว เช่น ซุป น้ำผลไม้ นม หรืออาหารทางการแพทย์แทน เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอ
- ลองปรับเปลี่ยนอาหารบางชนิด ให้มีความแปลกใหม่ สร้างสรรค์ น่าทานมากยิ่งขึ้น
- ผู้ป่วยส่วนมากจะรู้สึกอยากทานอาหารช่วงเช้ามืดมากที่สุด แต่หารรู้สึกหิว ก็สามารรับประทานได้ทันที
- การดื่มน้ำะหว่างรับประทานอาหาร จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอิมเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นควรเลือกดื่มน้ำก่อน หรือหลังรับประทานอาหาร 30 – 60 นาที
อาหารที่ผู้ป่วยมะเร็ง ไม่ควรกิน
ทั้งนี้นอกจากอาหารที่มีประโยชน์ ที่ผู้ป่วยมะเร็งควรกินแล้วนั้น อาหารบางชนิด แม้ว่าจะดุมีประโยชน์ แต่ความจริงเมื่อกินไปอาจให้โทษมากกว่าที่คิด ได้แก่
- อาหารประเภทของทอด ของมัน
- ผัดดิบ หรือเปลือกผลไม้
- บรอกโคลี่ ข้าวโพด ถั่ว กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำ
- เครื่องดื่มที่มีส้วนผสมของคาเฟอีน
- อาหารรสจัด เผ็ดจัด, เค็มจัด, หวานจัด
- หลีกเลี่ยงอาหารแห้ง ๆ ปละอาหารที่ร้อนจัด
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ทุกชนิด