ม.มหิดล เผย ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นมะเร็งปอดได้ สาเหตุเกิดจาก EGFR
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่าผู้ที่มีสุขภาพดีไม่สูบบุหรี่ ก็มีความเสี่ยงเป็น “โรคมะเร็งปอด” โดยสาเหตุอาจเกิดจากรหัสพันธุกรรม EGFR mutation และปัจจัยอื่น ๆ
มะเร็งปอดตัวร้าย แม้ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้ เพราะมีหลายคนที่คิดว่าถ้าไม่สูบบุหรี่ก็จะไม่เป็นมะเร็งปอด ทั้งนี้ทางด้าน อ.พญ. ศิริโสภา เตชะวัฒนวรรณา อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมีบำบัด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า แม้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดี ไม่เคยสูบบุหรี่หรืออยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่มาก่อนก็มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดได้เหมือนกัน
อ.พญ. ศิริโสภา เตชะวัฒนวรรณา กล่าวว่าหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราเป็นโรคมะเร็งปอดได้เกิดมาจาก EGFR mutation หรือ Epidermal Growth Factor Receptor คือรหัสทางพันธุกรรมประเภทหนึ่งที่อยู่บนผิวเซลล์ ซึ่งมีอยู่ในร่างกายมนุษย์เป็นปกติอยู่แล้ว แต่หากวันหนึ่งเกิดความผิดปกติในระดับยีนส์ ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมการแบ่งยีนส์ได้ ยีนส์ทั้งหมดก็จะทำการตรวจสอบและทำการกำจัดยีนส์ที่ผิดปกติดังกล่าว ซึ่งถ้าเกิดความผิดปกติในยีนส์ EGFR ซ้ำไปมาจนต้องสร้างขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เซลล์ยีนส์นั้นเติบโตขึ้นจนพัฒนากลายเป็นมะเร็งปอดในที่สุด
ข้อมูลที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือผู้ป่วยมะเร็งปอดที่มีสาเหตุเกิดมาจากความผิดปกติของยีนส์ EGFR มีสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี โดยเทียบกับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดในประเทศไทยและแถบเอเชีย พบว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดจาก EGFR มีมากถึงประมาณ 60-62 เปอร์เซ็นต์
สำหรับอาการของโรคมะเร็งปอดจากยีนส์ที่กลายพันธ์ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ มีลักษณะใกล้เคียงกับโรคมะเร็งปอดที่เกิดจากการสูบบุหรี่ มีลักษณะอาการหลัก ๆ คือ หอบเหนื่อยได้ง่าย น้ำท่วมปอด หรือไอเป็นเลือด
แนวทางการรักษาหากพบความผิดปกติในยีนส์ EGFR
หากตรวจพบความผิดปกติในระดับยีนส์ EGFR (pidermal Growth Factor Receptor) ก็มีโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมและบรรเทาอาการได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้คนไข้ส่วนใหญ่ที่มาตรวจ EGFR มักตรวจพบเจอในระยะที่ 4 เนื่องมาจากอาการจากความผิดปกติของยีนส์ EGFR ค่อนข้างสังเกตุได้ยาก เพราะคนไข้มักจะมีอาการ ไอนิดหน่อย เจ็บบริเวณหน้าอกเป็นครั้งคราว หรือมีอาการเหนื่อยงานหลังจากทำงานหนัก ส่งผลให้ทั้งคนไข้หรือแพทย์วินิฉัยโรคนี้ได้ยาก วิธีการตรวจ EGFR สามารถแบ่งเป็น 2 วิธี คือ 1. การเจาะเลือด 2. ตรวจชิ้นเนื้อที่เจาะมา
การรักษามะเร็งปอดมีทั้งหมด 2 ระยะคือ “ระยะเพื่อหวังผลการหายขาด” และ “ระยะของโรคเพื่อรักษาแบบประคับประคอง” สำหรับการรักษาในกลุ่มอาการระยะที่ 1-3 เป็นประเภทการรักษาเพื่อการหายขาด จะใช้วิธีการผ่าตัด เคมีบำบัดและการฉายแสง
แต่หากเป็นระยะที่ 4 คือประเภทการรักษาเพื่อประคับประคองชีวิตของผู้ป่วย จะเป็นการรักษาด้วยยา พร้อมกับนัดตรวจเพื่อติดตามอาการและผลการรักษา
มีวิธีป้องกันมะเร็งปอดแบบ EGFR รึเปล่า?
สำหรับโรคมะเร็งปอดที่เกิดจาก EGFR mutation หรือ Epidermal Growth Factor Receptor ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคนี้ เพราะเครื่องมือทางการแพทย์ไม่สามารถตรวจจับได้ว่าบุคคลใดจะมียีนส์ที่เป็น EGRF บ้างเพราะเป็นการส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่นั่นเอง
อ.พญ. ศิริโสภา เตชะวัฒนวรรณา ทิ้งท้ายว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดควรหลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพร หรือพืชที่ไม่ได้รับขึ้นทะเบียนว่าใช้ในการรักษามะเร็งปอด นำมาใช้เพื่อการบรรเทาอาการ เพราะสารเคมีจากพืชสมุนไพรบางชนิดอาจไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเติบโตขึ้นเร็วกว่าเดิม
การรูตัวว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถทำใจได้โดยง่าย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำคือการเดินเข้าไปกอดคนที่คุณรักไม่ว่าจะเป็นครอบครัว แฟน สุนัขหรือแมว แล้วร้องไห้ออกมาให้หมด และนับจากนี้ขอให้คุณใช้ชีวิตอย่างมีความสุขครับ.
อ้างอิง : 1