ข่าว

ฟังมุมวิศวกร แจงทำไมเตือน “ห้ามลุยน้ำช่วยคนโดนไฟดูด”

วิศวกร เจ้าของเพจ Darth Prin อธิบาย เหตุผล ข้อห้ามช่วยคนโดนไฟดูดตอนจมน้ำ เพราะเสี่ยงได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าทั้งคนช่วยและคนถูกช่วย

จากข่าวที่มีหนุ่มน้อยรายหนึ่งลุยน้ำเข้าไปให้ความช่วยเหลือเด็กที่โดนไฟดูดจนเป็นข่าวดัง ล่าสุด เฟซบุ๊กแฟนเพจ Darth Prin ซึ่งจากข้อมูลในโพสต์มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวิศวกร ออกมาระบุถึงเหตุผล อันตรายที่เกิดจากการลุยน้ำช่วยคนโดนไฟดูด ขณะที่น้ำท่วม

ก่อนที่เพจจะเล่าถึงเหตุผล ข้อห้ามในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุขณะที่กำลังจมน้ำ หรือ มีกระแสน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องขณะถูกไฟช๊อต หรือ ไฟดูดนั้น ระบุโดยจั่วหัวในเชิงตั้งคำถามในโพสต์เมื่อวันที่ 17 ก.ย.65 ที่ผ่านมาก่อนว่า ทำไมเราไม่ควรลุยน้ำไปช่วยคนจมน้ำที่โดนไฟดูด ?

“จากข่าวที่มีหนุ่มน้อยท่านหนึ่งลุยน้ำไปช่วยเด็กโดนไฟดูด แม้ว่านี่จะเป็นความกล้าหาญที่น่าชื่นชมแต่ก็เป็นเรื่องที่ควรจับมาตีตูดรัวๆไปพร้อมกัน เพราะ การพยายาม “ลงน้ำ” ไปช่วยคนโดนไฟดูดในน้ำ ส่วนใหญ่จะตายหมู่ มันแทบจะไม่มีวิธีช่วยที่ปลอดภัยชัวร์เลยถ้าตัวเราอยู่ในน้ำไปกับเหยื่อ”

“แต่ เราก็เข้าใจกันว่าการเห็นคนจะตายต่อหน้า มันก็ต้องมีคนอดจะวัดดวงเข้าไปช่วยไม่ได้ ดังนั้นเราก็มาคุยกันละกันว่า ทำไม ในวงความปลอดภัยถึงห้ามนักห้ามหนากับการลุยน้ำไปช่วยคนจมน้ำ” โพสต์ข้อความบางส่วนจากทางเพจ Darth Prin (คลิกอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่)

ต่อมาเพจดังกล่าวออกมาเคลื่อนไหวลงโพสต์ อธิบาย ความโชคดีในแง่ที่หนุ่มที่เป็นข่าวลงไปช่วยแล้วไม่ถูกกระแสไฟฟ้าช็อต

เนื้อหาอธิบายสาเหตุของทางเพจ “Darth Prin” ซึ่งชี้แจงพร้อมกับยกเหตุผลตามหลักอ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศษสตร์มาปรีะกอบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นภาพตามได้ง่าย

“คำถามที่ว่า ทำไมหนุ่มน้อยเสื้อม่วงไปช่วยคนโดนไฟดูดจมน้ำได้ อันนี้ อธิบายในแบบวงจรไฟฟ้าให้ดูว่าน้องเขาโชคดีขนาดไหน”

“R1 ให้เป็นความต้านทานไฟฟ้าของกระแสที่ผ่านน้ำไปในทิศทางอื่น ความต้านทานจากน้ำถึงตัวคนคือ R2 และ ความต้านทานไฟฟ้าผ่านตัวคนคือ R3 คนนอนราบ จะเป็นสะพานไฟฟ้าชั้นดี กระแสไฟวิ่งผ่านตัวคนดีกว่าน้ำ นั่นคือ เคส Electric Shock Drowning ESD ยังไม่ล้มคือพอประคองตัว ถ้าล้มก็คือเกม ถ้าซวยยังไง ก็พยายามล้มขวางทิศทางกระแส อย่าล้มเข้าหาแหล่งไฟ”

“การก้าวเท้ายาวสั้น มีผลต่อปริมาณกระแสไฟเช่นกัน เพราะเราคือสะพานไฟ คือทางด่วนของไฟฟ้า ยิ่งก้าวยาว ก็เป็นช่องทางให้ไฟฟ้าเดินทางผ่านได้มากขึ้น จังหวะการแตะตัวเพื่อช่วย วัตถุที่เข้าไปแตะตัวผู้ประสบภัยคือสะพานไฟ แตะปุ๊บเรากระตุกปั๊บ ถ้าเราล้มลงไป จากที่เหมือนจะทนไฟดูดได้ เราจะเป็นเหยื่อคนที่สอง”

อย่างไรก็ตามช่วงท้าย “เพจไม่แนะนำให้ลุยน้ำเข้าไปช่วยคนโดนไฟดูดในน้ำ นอกจากคุณจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ คนทั่วไปควรถือหลักการ Reach Throw Row but Don’t go into water อย่างเคร่งครัด ควรถือระยะปลอดภัยคือ 100 เมตร แน่นอน จริงๆถ้าเป็นน้ำจืด และเป็นไฟ Low volt ระยะอันตรายอาจแค่ 10 เมตร แต่เรารู้ได้อย่างไรว่าน้ำมันเป็นน้ำจืด ไม่ใช่น้ำเสียมีเกลือมีเคมีปน หรือนั่นเป็นไฟ 220 ไม่ใช่ไฟแรงดันสูง เราควรป้องกันไม่ให้มีเหยื่อไปเพิ่มในน้ำ ไม่ใช่ลงไปเป็นผู้ประสบภัยเสียเอง”

ช่วยคนไฟดูด ตอนจมน้ำ
ภาพ @Darth Prin

ขอบคุณภาพ – ข้อมูล Facebook @Darth Prin

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button