รู้จัก ปลาเอเลียนสปีชีส์ คืออะไร สัตว์น้ำต่างถิ่นที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่ปลาในพื้นที่ได้มีประวัติและที่มาอย่างไรบ้าง เช็กคำตอบที่นี่
เดอะไทยเกอร์ชวนรู้จักสัตว์น้ำ ปลาเอเลียนสปีชีส์ ปลาพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานการดำรงชีวิตอยู่ของปลาในท้องถิ่น รวมทั้งยับยั้งการสืบพันธุ์ของปลาชนิดนั้นอีกด้วย เนื่องจากวันที่ 3 ก.ย. 65 ได้มีกรณีดราม่านักตกปลาริมน้ำโขงได้เข้าไปตกปลาเชิงอนุรักษ์ในเขตอภัยทานที่แพแห่งหนึ่ง บริเวณแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย
วันนี้ทีมงานเดอะไทยเกอร์จึงพาไขคำตอบว่าพันธุ์สัตว์น้ำเอเลียนสปีชีส์ คืออะไร พร้อมแนะนำสายพันธุ์ปลาที่สามารถปล่อยลงแหล่งน้ำได้มีอะไรบ้าง
เอเลียนสปีชีส์ (Alien Species) คือสัตว์พันธุ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง แต่เอเลียนสปีชีส์ถูกนำเข้ามาปะปนภายในท้องถิ่นนั้น ๆ และสร้างความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่น เช่น การกินปลาพันธุ์ที่เคยอยู่ก่อนหน้าจนมีอัตราการเกิดที่ลดน้อยลง เป็นต้น
ทั้งนี้บางที เหล่าสัตว์เอเลียนสปีชีส์ก็ก็สามารถดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ต่อไปได้ โดยไม่สร้างความเสียหายให้แก่ปลาในท้องถิ่นด้วยเช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการปรับตัวของสายพันธุ์ปลาอเลียนสปีชีส์ดังกล่าว
การดำรงอยู่ของปลาเอเลียนสปีชีส์ที่น่ากลัวเป็นอย่างมาก คือการเข้าแทนที่สายพันธุ์ปลาชนิดเดิมที่อยู่ในท้องถิ่น ทำให้สภาพของธรรมชาติกลายเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่อย่างสมบูรณ์แบบ พฤติกรรมที่น่ากลัวนี้เองทำให้ถูกเรียกว่า ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species)
ปลาเอเลียนสปีชีส์ที่พบในแม่น้ำโขง
สำหรับพันธุ์ปลา เอเลียนสปีชีส์ที่พบจากการปล่อยปลาลงแม่น้ำโขง ระบุโดยบัญชี TikTok คุณหลิว ปีศาจ นักตกปลา (@mongkolsawatali) ว่ามี ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาหมอเทศ ปลานิล
พันธุ์ปลาทั้งหมดเหล่านี้เป็นสายพันธุ์เอเลียนสปีชีส์ ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของปลาดั้งเดิมในแม่น้ำโขง ทำให้คุณหลิวเริ่มตกปลาเชิงอนุรักษ์ คือกลวิธีที่ทำให้สามารถย้ายปลาเอเลียนสปีชีส์ย้ายไปยังที่อยู่อาศัยอื่นได้ด้วยไม่จำเป็นต้องฆ่า ซึ่งถือว่าไม่ผิดกฎหมาย และยังได้รับการยอมรับจากเหล่านักตกปลาทั่วประเทศไทยอีกด้วย
ทั้งนี้การปล่อยปลาเอเลียนสปีชีส์ลงในแม่น้ำโขง จะมีความผิดตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประมง มาตรา 65 และมาตรา 114 ซึ่งมีโทษปรับ 1 ล้าน รวมทั้งโทษจำคุกอีกด้วย
ส่วนคำถามที่หลายคนสงสัยว่า ปล่อยปลาอะไรลงแม่น้ำได้บ้าง ก็ได้มีคำตอบจากกรมประมง ดังต่อไปนี้
- ควรปล่อยปลาช่อน ปลาดุกอุย ปลาหมอไทย ลงในคลอง หนอง บึง ที่มีน้ำไหลไม่แรงมาก ให้สังเกตว่ามีกอหญ้าอยู่รอบ ๆ ริมฝั่ง รวมถึงต้องเป็นน้ำสะอาด
- สำหรับ ปลาไหล ควรปล่อยในบริเวณแม่น้ำที่มีดินแฉะ และมีกระแสน้ำไหลไม่แรง เพื่อให้ปลาไหลขุดรูดินเพื่อพักอาศัยได้
- การปล่อยปลาสวาย ปลาบึก ปลาตะเพียน จะต้องปล่อยลงแม่น้ำที่ลึก และมีกระแสน้ำไหลแรง
สุดท้ายนี้ สัตว์น้ำเอเลียนสปีชีส์ที่พบได้ในประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์มาก ทางที่ดีที่สุดคือทุกท่านไม่ควรปล่อยปลา หรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ลงในแม่น้ำไม่ว่าจะด้วยความหวังดีแค่ไหนก็ตามที เพื่อไม่ให้มีบุคคลอื่นเข้าใจผิดและทำตามจนเกิดดราม่าปล่อยปลากันต่อไป.
อ้างอิง : 1
- กรมประมงการันตี อาหารจากสัตว์น้ำไทยไม่ปนเปื้อนโควิด-19.
- กรมประมง เตือนห้ามเพาะเลี้ยงพันธุ์ ปลาเรืองแสง.
- ดราม่าสาวปล่อยปลา โวย! เรือพุ่งชนโป๊ะ แบบนี้ใครผิด.