บันเทิง

รู้จัก ‘ท่าพับเป็ด’ ถวายตัว ในบทพระมเหสี “ท้าวศรีสุดาจันทร์”

ดูละคร แม่หยัว แล้วพามาเปิดประวัติศาสตร์เรื่องเซ็กส์ เพศศึกษาฉบับชาววัง รู้จัก “ท่าพับเป็ด” หนึ่งในท่าถวายตัวบังคับใช้ ประเภณีโบราณในการจะเป็นพระมเหสีใน สมัยสมัยอยุธยา ต้องเริ่มต้นฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็ก พร้อมปั้นตัวบุตรสาวสู่การเป็นพระมเหสีชาววัง

สำรวจเสน่ห์และความซับซ้อนของประเพณีโบราณผ่านมุมมองใหม่กับเรื่องราวเกี่ยวกับ “ท่าพับเป็ด” หนึ่งในท่าถวายตัวที่หญิงสาวต้องฝึกฝนตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อเตรียมตัวเป็นพระมเหสีในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่องราวนี้ได้หวนคืนสู่ความสนใจของคนรุ่นใหม่อีกครั้ง จากฉากในซีรีส์ “แม่หยัว” ทางช่อง ONE ที่นักแสดงสาว ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ รับบทเป็น จินดา หรือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์

ประวัติ “ท่าพับเป็ด” ท่ายาก “ถวายตัว” ต่อกษัตริย์อยุธยา

“ท่าพับเป็ด” เป็นหนึ่งในพิธีกรรมสำคัญตาม กฎมณเฑียรบาล ซึ่งกำหนดเงื่อนไขและวิธีการสำหรับหญิงสาวที่ต้องถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาหรือภรรยาของพระมหากษัตริย์ โดยการฝึกฝนท่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมตัวเพื่อให้พระวรกายอยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสม ไม่ให้เท้าสัมผัสร่างของกษัตริย์ระหว่างทรงร่วมเพศ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

เหตุผลที่ต้องใช้ “ท่าพับเป็ด” ระหว่างการถวายตัวกับกษัตริย์ในสมัยอยุธยา

การใช้ “ท่าพับเป็ด” ในระหว่างการถวายตัวและมีเพศสัมพันธ์กับกษัตริย์ ไม่ใช่เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังแฝงด้วยความหมายทาง จารีต ความเคารพ และ การรักษาสถานะของกษัตริย์ ในบริบทของสังคมโบราณ

1. สะท้อนสถานะและอำนาจสูงสุดของกษัตริย์

ในสมัยอยุธยา กษัตริย์ได้รับการยกย่องเสมือนสมมติเทพตามคติ เทวราชา ซึ่งเป็นการผสมผสานความเชื่อทางศาสนาพุทธและพราหมณ์ ทำให้กษัตริย์ไม่ใช่เพียงผู้นำทางโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้แทนของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์กับกษัตริย์ต้องกระทำในลักษณะที่ แสดงความเคารพสูงสุด หญิงสาวที่ถวายตัวต้องอยู่ในท่าทางสงบนิ่งและไม่แตะต้องพระวรกายส่วนพระบาทของกษัตริย์ เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่ถือว่าต่ำที่สุดตามคติไทยโบราณ

การใช้ ท่าพับเป็ด ซึ่งทำให้เท้าของหญิงสาวแนบไปด้านหลัง เป็นการป้องกันไม่ให้ ฝ่าเท้า สัมผัสกับพระวรกายโดยตรง นี่ถือเป็นการแสดงความจงรักภักดีและการยอมรับในสถานะที่ต่ำกว่า

2. สร้างภาพลักษณ์ของความอ่อนน้อมและความสงบเสงี่ยม

ท่านี้ยังแสดงถึงความ อ่อนน้อมและความสงบเสงี่ยม ของหญิงสาว การถวายตัวในสมัยโบราณไม่ได้มีเพียงมิติทางเพศ แต่เป็นการแสดงความพร้อมในการรับใช้และเป็นสัญลักษณ์แห่งการยอมสยบต่ออำนาจสูงสุด การพับขาให้อยู่ในลักษณะติดกับหลังสะท้อนถึงการลดทิฐิ และทำให้ร่างกายอยู่ในอิริยาบถที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก เป็นการส่งสัญญาณว่า หญิงสาวต้องยอมรับบทบาทของตนอย่างสงบ

3. การควบคุมสัญชาตญาณและการขัดเกลา

หญิงสาวที่ต้องถวายตัวถูกฝึกมาอย่างเข้มงวด เพื่อแสดงให้เห็นว่าเธอสามารถควบคุมอารมณ์และสัญชาตญาณส่วนตัวได้ การใช้ท่าพับเป็ดเป็นการแสดงออกถึง การละเว้นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เช่น การขยับเท้าหรือเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น ซึ่งอาจถูกตีความว่าเป็นการล่วงเกินหรือขาดความเคารพต่อกษัตริย์

4. ป้องกันความยุ่งยากระหว่างพิธีกรรมทางเพศ

จากการตีความเชิงปฏิบัติ การมีเพศสัมพันธ์กับกษัตริย์ต้องเป็นไปตาม พิธีรีตองที่เคร่งครัด ท่าพับเป็ดช่วยให้หญิงสาวอยู่ในตำแหน่งที่ ไม่รบกวนหรือขัดขวางพระราชประสงค์ ของกษัตริย์ ทำให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างราบรื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาล

5. สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และความพร้อม

หญิงสาวที่จะถวายตัวจำเป็นต้องได้รับการอบรมและเตรียมความพร้อมอย่างละเอียด ทั้งการอบร่ำและการดูแลร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความบริสุทธิ์และความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ท่าพับเป็ดที่ดูซับซ้อนและต้องการความยืดหยุ่นสูง ยังสะท้อนถึง ความอุตสาหะและความตั้งใจ ในการฝึกฝน ซึ่งแสดงถึงคุณค่าของหญิงสาวในฐานะภรรยาของกษัตริย์

ท่าพับเป็ด ถวายตัว คืออะไร 2567

บทบาททางสังคมและการเมืองของการถวายตัว

แต่ตามกฎการถวายตัว และถวายงานของบาทบริจาริกา ตามกฎมณเฑียรบาล เมื่อท่าแรก​หรือท่าบังคับ อย่างท่าพับเป็ด ตามจารีตผ่านไปแล้ว หลังจากนั้นจะขึ้นอยู่กับ พระราชนิยมส่วนพระองค์ อ้างอิงจากหนังสือของ เผ่าทอง ทองเจอ ปี 2552

สำหรับการถวายตัว ถือเป็นธรรมเนียมโบราณมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือการนำลูกสาวหรือหลานสาว ทูลเกล้าถวายตัวให้เป็นบาทบริจาริกาของกษัตริย์ เป็นไปเพื่อพยุงฐานะทางเศรษฐกิจสังคม และการเมืองของสมาชิกในตระกูลตนด้วยเช่นกัน จึงทำให้พระราชสำนักฝ่ายในคับคั่งไปด้วยสุภาพสตรีที่คอยปรนนิบัติรับใช้กษัตริย์

นอกจากนี้ บรรดาหญิงสาวต้องผ่านการล้างและอบร่ำอวัยวะช่วงล่างอย่างพิถีพิถัน โดยต้องอาบน้ำ ทาขมิ้น พรมน้ำอบแต่งตัวสวยงาม หลังจากนั้นต้องนั่งบนกระโถนสักพักใหญ่ ซึ่งในกระโถนนั้นจะมีของหอมกลิ่นแรงใส่ไว้ เพื่อรมให้อวัยวะสืบพันธุ์และช่องคลอดนั้นหอม โบราณเรียกการเตรียมตัวนี้ว่า อบเต่า จากนั้นจึงถือว่าพร้อม เพราะหอมทั้งนอกและใน

จากท้องพระโรงอยุธยาสู่ห้องบรรทมพระที่นั่งอัมพรสถาน

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานมีพระแท่นบรรทม​ ลักษณะ 4 เสา โครงหลังคาทำด้วยไม้ฉลุ มีที่พำนัก 3 ด้าน แต่ขึ้นลงได้ด้านเดียว ตามอิทธิพลที่ได้รับมาจากราชสำนักจีน ด้านหน้าพระแท่นบรรทม​ มีเตียงขาคู้ขนาดใหญ่ เรียกว่า “พระแท่นลด” สูงประมาณ 1 ศอก ลดต่ำลงจากพระแท่นบรรทม

ทั้งนี้ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวสยาม​รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากขึ้น สังเกตจากหัวเตียงปลายเตียง สามารถขึ้นลงได้ 2 ทาง อิงจากห้องบรรทมในพระที่นั่งอัมพรสถาน และทั้งสองด้าน พบ “พระแท่นลด” นำไปสู่ข้อถกเถียงถึงการถวายตัว ของบาทจาริกาในพระองค์​ อาจมีจำนวนมากกว่า 1 คน

“ท่าพับเป็ด” ในบริบทปัจจุบัน จากประเพณีสู่โยคะ

ปัจจุบัน ท่าพับเป็ด หรือ Supine Hero Pose จัดว่าเป็นท่าการออกกำลังกายแบบ โยคะ (Yoga) หน้าขาตึง ข้อเท้าติดพื้น ช่วยในเรื่อง การยืดเหยียดทำให้กล้ามเนื้อจากที่หดตัวแล้วยืดออก เป็นการช่วยยืดกล้ามเนื้อ บริเวณหัวเข่า สะโพก และกระดูกสันหลัง เสริมสร้างส่วนโค้ง บรรเทาอาการเมื่อยล้าของขา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx