5 อาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ เรื้อรัง สัญญาณเตือนวัยทำงาน
ตรวจสอบ 5 อาการ ออฟฟิศซินโดรม เรื้อรัง ก่อนที่จะกลายเป็นโรคประจำของคุณในช่วงวัยทำงาน มีอาการอะไรบ้าง รักษาได้ไหม เช็กที่นี่
รวบรวมมาให้แล้ว 5 อาการเรื้อรังของออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ที่มักจะพบได้บ่อยในหมู่คนวัยทำงาน เพราะต้องนั่งทำงานในที่ประจำเป็นเวลาทุกวัน นอกจากนี้การใช้สายตาจ้องที่คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานานก็ทำให้เป็นออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน
ทีมงานเดอะไทยเกอร์จึงพามาเช็ก 5 สัญญาณเตือนอาการออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง และวิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมในเบื้องต้น หากพร้อมแล้วละก็ไปเช็กอาการด้วยกันเลยครับ
อาการออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง มีอะไรบ้าง
โรคออฟฟิศซินโดรม คืออาการที่เกิดขึ้นจากการนั่งทำงานด้วยอิริยาบถเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนท่าทาง ทำให้กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ เกิดการชาหรืออักเสบที่ส่งผลต่อการเป็นโรคเรื้อรังในอนาคตได้
ทั้งนี้อาการออฟฟิศซินโดรมสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย ถ้ามีการกระทำที่คล้าย ๆ กัน ซึ่งมีสัญญาณเตือนทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้
1. อาการปวดกล้ามเนื้อที่คอ ไหล่ และหลัง
บริเวณคอ ไหล และหลังเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่คนส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดกันเป็นจำนวนมากด้วยท่านั่งอากัปกิริยาที่ไม่ถูกต้อง หากมีอาการปวดต่อเนื่องเข้าจนกลายเป็นเรื้อรัง อาจทำให้ไม่สามารถหายขาดจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้แม้จะทำกายภาพบำบัดก็ตาม
2. มีสายตาอ่อนล้าพร่ามัว
อีกหนึ่งอาการเรื้อรังของออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากชาวออฟฟิศทั้งหลายมักจะนั่งจ้องหน้าคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถืออยู่เกือบวันละ 8 ชั่วโมงที่ต้องทำงาน การไม่ได้พักสายตาจะทำให้ปวดตาได้ รวมทั้งอาการตาแห้ง เมื่อเป็นบ่อย ๆ เข้าอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรังได้
3. ปวดที่นิ้วมือ มือ แขน และขา
อาการออฟฟิศซินโดรมเรื้อรังในข้อนี้มักจะเกิดจากการใช้นิ้วมือ มือ แขน และขาหนักจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการชาที่บริเวณดังกล่าวได้ นอกจากนี้อาจทำให้เอ็นกล้ามเนื้อบวมได้เช่นกัน
4. อาการปวดบริเวณข้อต่อของร่างกาย
อาการปวดข้อต่อร่างกายได้แก่ หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ เข่า และข้อเท้า เกิดจากการใช้งานที่รุนแรง หรือบ่อยจนเกินไปทำให้ผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมมีอาการที่บริเวณดังกล่าว และอาจกลายเป็นอาการเรื้อรังได้ในอนาคตถ้าไม่รีบรักษาให้ถูกวิธี
5. การปวดหัวเรื้อรังจากออฟฟิศซินโดรม
สำหรับอาการปวดหัวเป็นอาการเรื้อรังที่นิยมในหมู่ออฟฟิศซินโดรมเป็นอย่างมาก เพราะบางครั้งปัญหาการใช้กล้ามเนื้อในบริเวณต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มือ ขา สายตา มักจะส่งผลกระทบต่ออาการปวดหัว ถ้าหากมึนหัวเรื้อรังมากจนรุนแรง อาจทำให้มีอาการปวดหัวไมเกรนได้