สุขภาพและการแพทย์

รู้จัก ‘โรฮิบนอล’ คืออะไร? ยาลิ้นฟ้า เทรนด์อันตราย ส่งผลร้ายกว่าที่คิด

เตือนภัย โรฮิบนอล 542 คืออะไร ? รู้จักเทรนด์ใหม่ วัยรุ่นลิ้นฟ้า ที่อันตายถึงขั้นอย.ยังต้องคุมเข้ม หากซื้อออนไลน์ปลอมแน่นอน 100%

เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 65 คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงยา โรฮิบนอล 542 หรือยาลิ้นฟ้า จากกรณีข่าว มอส คลองขวาง ก่อเหตุกราดยิงโดยมีพฤติกรรมชอบเคี้ยวยาโรฮิบนอลตลอดเวลาจนเกิดอาการหลอน มาถึงตรงนี้เชื่อ่าหลาย ๆ คนอาจจะตั้งคำถามกันมาบ้างว่าเจ้ายาลิ้นฟ้านั้น คืออะไร ? วันนี้ The Thaiger มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้ว

โรฮิบนอล
www.detoxplusuk.com

ยาโรฮิบนอล เตือนภัยเทรนด์วัยรุ่นลิ้นฟ้า ยาอันตรายเสี่ยงของปลอม มีฤทธิ์หลอนประสาท

| รู้จัก โรฮิบนอล (Rohypnol)

ยาโรฮิบนอล (Rohypnol) เป็นยาระงับประสาทชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม ยามอมสาว มีชื่อทางเคมีคือ ฟลูนิแทรซิแพม (Flunitrazepam) จัดยู่ในกลุ่มของยาคลายกล้ามเนื้อพวกยาซาแน็กซ์ (Xanax) และยาแวเลียม (Valium) มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงซึมและความจำเสื่อมชั่วขณะ

สำหรับในทางการแพทย์ โรฮิบนอลเป็นยานอนหลับ มีฤทธิ์ทำให้นอนหลับและสูญเสียความทรงจำชั่วขณะ จึงนิยมใช้เป็นยานอนหลับ ยานำสลบ และสงบประสาทก่อนทำการผ่าตัด การออกฤทธิ์เร็วหลังรับประทานหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และฤทธิ์จะอยู่นานประมาณ 8-12 ชั่วโมง

โรฮิบนอล

| โรฮิบนอล อันตรายไหม ?

ยาโรฮิบนอล ถือเป็นยาที่ผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศยาดังกล่าวถูกกฎหมายและถูกนำมาใช้เพื่อรักษาโรคนอนไม่หลับ นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ยามอมสาว เนื่องจากมีการนำยานี้ไปใช้ในทางที่ผิดอยู่บ่อยครั้ง เช่น ใช้นำไปมอมผู้หญิงเพื่อให้เหยื่อหมดแรงต่อสู้ และจำอะไรที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ เป็นผลให้เกิดการก่อเหตุร้ายตามมา

สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ หรืออันตรายจากการใช้ยาชนิดนี้ ได้แก่ ง่วงซึม มึนงง เดินเซ ปวดศรีษะ และความจำในระหว่างที่ได้รับยาลดลง การตัดสินใจไม่ดี ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการสั่นและฝันร้าย

ผู้ที่ใช้ยาโรฮิบนอล ไม่ควรใช้ในขณะขับขี่ยานพาหนะ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานอื่นที่ต้องการความตื่นตัว เนื่องอาจมีอาการนอนไม่หลับ ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดปกติจนเกิดเป็นอาการหลอนทางประสาทได้

การใช้ยาในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถควบคุมตัวเอง เป็นลมหมดสติ และความจำเสื่อมชั่วขณะได้ นอกจากนี้ การใช้ยาร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดอื่นๆ จะทำให้ผู้ใช้เป็นลมหมดสติและสูญเสียความทรงจำในช่วงเวลาที่ยาออกฤทธิ์

ผลกระทบระยะยาวหากมีการใช้ยานี้มาเป็นระยะเวลานานจนเกิดอาการดื้อยา จะส่งผลทำให้ต้องใช้ยาในปริมาณมากยิ่งขึ้นเป็นเหตุทำให้เกิด อาการเสพติดยา นั่นเอง

โรฮิบนอล

| ยาโรฮิบนอล ในประเทศไทย

ฟลูนิแทรซิแพม (Flunitrazepam) ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ผู้มีสิทธิสั่งจ่ายได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ และสัตว์แพทย์ เท่านั้น ห้ามมิให้จำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป และผู้ที่จะใช้ยานี้ได้ก็ต้องใช้ตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น

ในตอนนี้นั้นประเทศไทยมีกระแส #ยาลิ้นฟ้า เกลื่อนทั่วโซเซียล ซึ่งเกิดจากการเคี้ยวยาโรฮิบนอล หรือ ฟลูนิแทรซิแพม นี่เองซึ่งสิ่งที่อันตรายของเทรนด์นี้นั่นก็คือโดยทั่วไป ยาชนิดนี้อยู่ในความควาบคุมของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องได้รับการสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

หมายความว่ายาที่อ้างว่าเป็น ยาโรฮิบนอล ที่มีขายอยู่ในโลกออนไลน์นั้นเป็น ของปลอมซึ่งยาชนิดนี้ไม่ได้รับการอนุญาตให้ขายทั่วไป แม้กระทั่งในร้านขายยา ผู้ที่ขายอาจนำยาชนิดอื่นมาผสม ใส่สีให้เหมือนแล้วอ้างว่าเป็นยาโรฮิบนอล

ขอบคุณข้อมูล fda.moph.go.th

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button