ลูกจ้างควรรู้ ‘โอทีวันหยุด’ ทำงานล่วงเวลา ต้องได้ค่าแรง 3 เท่า
ควรรู้ ‘โอทีวันหยุด‘ ทำงานล่วงเวลาทุกประเภท กฏหมายแรงงานระบุ ลูกจ้างต้องได้ค่าแรง 3 เท่า!
มนุษย์แรงงานทุกคนต้องรู้ โอทีวันหยุด หรือ ทำงานล่วงเวลา (Overtime)วันหยุด ในงานทุกประเภท นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าจ้างให้คุณ 3 เท่าจากปกติ หากคุณทำงานเกินเวลาในวันหยุดแล้วยังได้ค่าแรงเท่ากับวันปกติ ขอบอกเลยว่าผิดกฏหมายแรงงาน! ดังนั้นลูกจ้างทุกคนควรรู้ข้อกฏหมายที่ถูกต้องไว้ ก่อนจะถูกเอาเปรียบ
รู้หรือไม่ โอทีวันหยุด ต้องได้ค่าจ้าง 3 เท่า/ชั่วโมง
ทำงานวันหยุดล่วงเวลา ทำงานวันหยุดแต่ไม่ล่วงเวลา ทำงานวันปกติล่วงเวลา ต้องได้ค่าจ้างเพิ่มเท่าไหร่ เช็คที่นี่
โอที (OT) ย่อมาจาก Overtime หมายถึง การทำงานล่วงเวลา หรือการทำงานเกินเวลาเลิกงานที่นายจ้างกำหนด ซึงตามกฏหมายแรงงาน หากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา นายจ้างจะต้องจ่างค่าแรงให้ลูกจ้างเพิ่มตามเวลาที่ทำงานเกิน
สามารถแบ่งการคิดค่าทำงานได้ 3 แบบ ได้แก่
- ค่าทำงานล่วงเวลา คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำ งานเกินเวลาในวันทำงานปกติ
- ค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทน การทำงานเกินเวลาในวันหยุด
- ค่าทำงานในวันหยุด คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทน การทำงานในวันหยุด
วิธีคิดค่าโอที (ค่าจ้างทำงานล่วงเวลา)
วิธีคิดค่าโอทีกรณีลูกจ้าง ทำงาน ‘ล่วงเวลา’ ในวันหยุด (วันหยุดประจำสัปดาห์, วันหยุดตามประเพณี, วันหยุดนักขัตฤกษ์) ลูกจ้างหรือพนักงานที่ต้อง ทำงานในวันหยุด เกินเวลา เลิกงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนในอัตรา 3 เท่าต่อชั่วโมง โดยต้องได้ค่าตอบแทนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกิน
ตัวอย่าง ทำงานวันหยุด นายจ้างกำหนดให้พนักงานเริ่มงานเวลา 09.00 น. ถึง 18.00 น. แต่พนักงานจำเป็นต้องทำงานให้เสร็จ จึงทำงานเกินเวลาถึงเวลา 20.00 น.
ลักษณะแบบนี้เข้าข่ายที่นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง
สมมติว่า ได้เงินเดือน ๆ ละ 24,000 บาท เฉลี่ยทำงาน 30 วัน ได้วันละ 800 บาท หากเฉลี่ยเป็นชั่วโมง ทำวันละแปดชั่วโมง จะเท่ากับได้ค่าจ้างชั่วโมงละ 100 บาท
กฏหมายระบุ โอทีวันหยุด ต้องได้ 3 เท่า แปลว่า จากที่นายจ้างจ่ายชั่วโมงละ 100 บาท นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มเป็นชั่วโมงละ 300 บาทหากเกินเวลาเลิกงานไปแล้ว
ดังนั้น ทำงานเกินจากเวลาเลิกงานไปกี่ชั่วโมง ก็เอาจำนวนชั่วโมงที่เกินคูณ 300 ก็จะเท่ากับค่าจ้างที่ควรได้
|กรณีลูกจ้าง ทำงาน ‘ล่วงเวลา’ ในวันปกติ
ลูกจ้างหรือพนักงานที่ต้อง ทำงาน เกินเวลา ในวันปกติ ไม่ใช่การทำโอทีวันหยุดนายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่า 1.5 ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือตามจำนวนผลงานที่ลูกจ้างทำได้
|กรณีลูกจ้าง ทำงานโอทีในวันหยุด (ไม่ล่วงเวลา)
ลูกจ้างหรือพนักงานที่ต้อง ทำงานโอทีในวันหยุดแต่ไม่ล่วงเวลา จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี
- ลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างที่คำนวณตามผลงาน
หากไม่มาทำงานในวันหยุด จะไม่ได้ค่าจ้าง แต่หากมาทำงาน จะได้รับค่าจ้างในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันปกติ หรือที่เรียกกันว่า โอที 2 แรง - ลูกจ้างรายเดือน หากไม่มาทำงานในวันหยุด จะยังได้ค่าจ้าง เพราะนายจ้างเหมาจ่ายเป็นรายเดือน และหากต้องทำงานในวันหยุด จะต้องได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างในวันปกติ
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ระบุข้อกฏหมายเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง อย่าลืมเช็คให้ดีนะคะ
อ้างอิงข้อมูลจาก : 1