สุขภาพและการแพทย์

‘เส้นเลือดในสมองแตก’ เกิดจากอะไร ? ส่องสัญญาณโรคร้ายเสี่ยงอัมพาต

สำรวจ 9 สัญญานเตือนร่างกายเสี่ยง เส้นเลือดในสมองแตก ส่องสาเหตุเกิดจากอะไร มีอาการและวิธีรักษาอย่างไร ป้องกันไว้กับโรคร้ายอันตรายเสี่ยง อัมพาต

เมื่อพูดถึงโรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตและพิการเป็นจำนวนมาก โรคเส้นเลือดในสมองแตก ก็นับเป็นอีกหนึ่งโรคที่เป็นสาหตุดังกล่าว ซึ่งจากสถิติของประเทศไทยในปี 2557 ยังพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 3 ถึง 4 คนในคนไทยทุก ๆ 1,000 คน ดังนั้นหากเราสามารถรู้ที่มา และวิธีรักษาที่ถูกต้อง ก็สามารถลดจำนวนการเสียชีวิตลงจากโรคร้ายนี้ได้นั่นเอง

Advertisements

เส้นเลือดในสมองแตก

เช็ก 9 สัญญาณ เส้นเลือดในสมองแตก เกิดจากอะไร ? มีวิธีรักษาอย่างไร ? รู้สาเหตุรีบป้องกัน

เส้นเลือดในสมองแตก

| เข้าใจ โรคหลอดเลือดในสมอง คืออะไร ?

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดและออกซิเจนที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • หลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตัน (ischemic stroke)
  • หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)

เส้นเลือดในสมองแตก

| เส้นเลือดในสมองแตก มีอาการอย่างไร ?

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เกี่ข้องกับหลอดเลือดในสมองไม่ว่าจะเป็นการตีบ แตก หรือตัน มักจะมีอาการคล้าย ๆ กันอยู่มากคือ ส่งผลให้ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งชาหรืออ่อนแรงขึ้นมาทันที โดยจะเกิดแบบฉับพลันไม่ทันได้ตั้งตัว หรือผู้ป่วยบางรายก็หมดสติไปเลย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ยังปกติดีทุกอย่าง

หากเกิดภาวะเส้นเลือดสมองแตกผู้ป่วยอาจปวดศีรษะรุนแรงมากจนถึงขั้นที่เรียกว่ามากที่สุดในชีวิต ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน

เส้นเลือดในสมองแตก

| 9 สัญญาณร่างกายเตือน เส้นเลือดในสมองแตก

สำหรับผู้ที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองนั้นกำลังเสี่ยงที่จะเป็นเส้นเลือดในสมองแต่อยู่หรือไม่ สามารถเช็กได้จาก 9 สัญญาณของร่างกาย มีอาการดังนี้

  1. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ไม่มีแรงยกแขน กำมือไม่ได้ ของหลุดจากมือ ไม่มีแรงเดิน เดินเซ ยกขาไม่ขึ้น กระดกเท้าไม่ได้
  2. หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิทข้างเดียว กินน้ำน้ำก็ไหลจากมุมปาก
  3. พูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้คล้ายคนเมาเหล้า นึกคำไม่ออก ใช้คำพูดผิด หรือบางรายอาจพูดไม่ได้เลย
  4. ฟังคนพูด (ภาษาไทย) ไม่ออก ถามอย่างตอบอย่าง
  5. ชาใบหน้า ชาครึ่งซีกร่างกาย คล้ายถูกฉีดยาชา
  6. เห็นภาพซ้อน มองเห็นซีกเดียวของลานสายตา เดินชนของ
  7. กลืนไม่ได้ กลืนลำบาก สำลักน้ำหรือแม้แต่น้ำลายตัวเอง
  8. อยู่ ๆ ก็ปวดศีรษะรุนแรงแบบไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต มักมาร่วมกับการอาเจียน
  9. เวียนศีรษะบ้านหมุน นานมากกว่า 5 นาที โดยไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าทาง มักเป็นร่วมกับการเดินเซ

เส้นเลือดในสมองแตก

| วิธีการรักษา โรคหลอดเลือดในสมอง รักษาหายไหม

สำหรับวิธีการป้องกัน และรักษาผู้ที่มี ความเสี่ยง ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตก ห้สำรวจว่าตนเองมีความเสี่ยงมากน้อยหรือไม่ หากมีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อโรคควรดูแลโรคนั้นอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมไม่ให้ส่งผลข้างเคียงอื่น ๆ รวมทั้งการทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคู่ไปกับออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

Advertisements

ในกรณีที่พบว่าผู้ป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตกอย่างแน่นอน ควรรีบนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะการส่งแพทย์ได้เร็วย่อมรักษาได้ทันท่วงทีกว่าการส่งแพทย์ที่ล่าช้า สำหรับความรุนแรงของโรคคือส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ซีกใดซีกหนึ่งหรืออัมพาตทั้งตัว และรุนแรงที่สุดคือถึงขั้นเสียชีวิต

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง ต้องได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดหรือได้รับการผ่าตัด ภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง หลังจากที่เริ่มมีอาการจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับความรุนแรงของโรค ได้แก่

  • การรักษาโดยการให้ยาสลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (IV rt-PA)
  • การรักษาโดยลากสวนลิ่มเลือดออกจากสมอง (Mechanical Thrombectomy)
  • การรักษาโดยการผ่าตัด (Surgery)

ขอบคุณข้อมูล 1 2 3

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button