สุขภาพและการแพทย์

เช็กอาการ “ไทรอยด์เป็นพิษ” โรคร้ายอันตราย อาจทำลายร่างกายไม่รู้ตัว

เตือนภัยสุขภาพ ไทรอยด์เป็นพิษ หรือ Hyperthyroidism สำรวจอาการของตัวคุณเองได้ง่าย ๆ กับโรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิต น้ำหนักลงผิดปกติไม่ใช่เรื่องดี

“ต่อมไทรอยด์” (Thyroid Gland) ต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ ที่มีความสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นแล้วเมื่อ ไทรอยด์มีการทำงานผิดปกติหรือที่เรียกว่า ไทรอยด์เป็นพิษ จึงอาจส่งผลกระทบต่อร่างการอย่างมาก สำรวจอาการ มีสาเหตุเกิดจากอะไร และรักษาหายได้ไหม

เช็กก่อนสาย ไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะน้ำหนักลงผิดปกติ ไม่ใช่เรื่องดี อาการนี้ใช่หรือไม่

| ต่อมไทรอยด์ คืออะไร ?

ต่อมไทรอยด์ (ภาษาอังกฤษ : Thyroid Gland) ต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่สำคัญคือการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายผีเสื้อ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมี 2 รูปแบบหลัก คือ Triiodothyronine (T3) และ Thyroxine (T4)

| ความสำคัญของ ฮอร์โมนไทรอยด์

ฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้

  1. ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ
  2. สัมพันธ์กับการทำงานของสมองและระบบประสาท รวมถึงภาวะด้านอารมณ์
  3. ควบคุมระบบเผาผลาญและอุณหภูมิของร่างกาย
  4. ช่วยส่งเสริมการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อ หัวใจ กระดูก

| ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร ?

สำหรับอาการ ไทยรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น

อาการไทรอยด์เป็นพิษนั้นมี สาเหตุ หลักได้หลายปัจจัย ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยดังนี้

1. Grave’s disease เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด โรคนี้เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดหนึ่ง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป

2. ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ พบมากในผู้สูงอายุ โดยพบก้อนเนื้อเจริญบนต่อมไทรอยด์ มักเป็นก้อนเนื้อร้ายที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป

3. ต่อมไทรอยด์อักเสบ ทำให้ฮอร์โมนที่เก็บอยู่ในต่อมไทรอยด์รั่วออกมาได้

4. ได้รับไอโอดีนมากเกินไป ส่วนใหญ่พบได้ในยาบางชนิด สาหร่ายทะเล อาหารทะเล หากมีการบริโภคไอโอดีนเกิดความจำเป็นจะทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากผิดปกติ

5. ได้รับยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยภาวะไฮโปไทรอยด์ ที่รับประทานยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป

| เช็ก 10 สัญญาณเตือนไทรอยด์เป็นพิษ

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไทรอยด์เป็นพิษ ในช่วงแรกจะแทบไม่เห็นความแตกต่างจากอาการปกติ แต่จะมีแค่บางส่วนเท่านั้นที่อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตรายที่กำลังใกล้เข้ามา

1. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะส่งผลกระทบไปถึงการทำงานของหัวใจ จะทำให้รู้สึกใจสั่นง่าย อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง

2. ผมร่วงผิดปกติ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้ผมเส้นบางและเล็กลง หลังจากนั้นจะร่วงง่าย

3. น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือลดลง แบบผิดปกติ เพราะต่อมไทรอยด์ผิดปกติในลักษณะหลั่งฮอร์โมนออกมามากจะกระตุ้นระบบเมตาบอลิซึมให้ขยันเกินไป ในภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะพบว่าน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่าย เนื่องจากการเผาผลาญต่ำลง

4. นอนไม่หลับ ไทรอยด์ฮอร์โมนที่มีมากจะกระตุ้นการทำงานของระบบปราสาทส่วนกลาง ทำให้รบกวนการนอนได้

5. รู้สึกง่วงตลอดเวลา หากต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ เกิดภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนจะส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น รู้สึกง่วงตลอดเวลา คิดช้า และไม่มีสมาธิ

6. รู้สึกหนาวหรือขี้ร้อนมากขึ้น ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายก็จะลงน้อยลง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะมีอาการขี้ร้อน เหงื่อออกมากกว่าปกติ ส่วนภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีอาการขี้หนาวมากขึ้น

7. ตาโปน ในคนไข้โรคไทรอยด์เป็นพิษอาจมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหลง่าย ดูคล้ายว่าตาโปน แต่จริงๆแล้วอาจเป็นเพราะหนังตาปิดตาขาวได้น้อยกว่าปกติ

8. ขับถ่ายไม่เป็นปกติ ไทรอยด์เป็นพิษ ส่งผลให้ลำไส้ทำงานหนัก เมื่อลำไส้เคลื่อนไหวมากกว่าปกติ จึงขับถ่ายอุจจาระบ่อยกว่าปกติ ในขณะที่ภาวะไทรอยด์ต่ำจะส่งผลตรงข้ามกันคือทำให้มีอาการท้องผูก

9. ประจำเดือนมาผิดปกติ ในผู้หญิงที่มีภาวะไทรอยด์สูงกว่าปกติหรือต่ำกว่าปกติ จะส่งผลให้เกิดประจำเดือนขาดหรือมามากผิดปกติได้ แต่เมื่อรักษาให้ฮอร์โมนไทรอยด์คงที่แล้วประจำเดือนก็จะเริ่มกลับมาปกติอีกครั้ง

10. ผิวแห้ง ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลง ส่งผลให้ผิวแห้งมากขึ้นหรือเหงื่อลดน้อยลง

| ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาหายไหม ? วิธีการรักษาอย่างไร ?

1. กินยา โดยยาที่ใช้ในการรักษา โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ คือ ยาที่ออกฤทธิ์สกัดกั้นการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอยด์ (ยาต้านไทรอยด์) ซึ่งจะช่วยให้อาการต่างๆ ที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกายที่สูงเกินไปหายไป เช่น อาการใจสั่น เหนื่อย น้ำหนักลด

2. กินไอโอดีน-131 เป็นสารกัมมันตรังสีของธาตุไอโอดีนที่ผลิตขึ้นโดยผ่านธาตุไอโอดีนเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เมื่อทิ้งไว้จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นไอโอดีน-128 เมื่อผู้ป่วยกินเข้าไป ต่อมไทรอยด์ที่ถูกทำลายจะมีขนาดเล็กลง

3. การผ่าตัด ผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษออกไปบางส่วนเพื่อทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลง จะได้ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยลง วิธีนี้ช่วยให้อาการต่าง ๆ หายไปอย่างรวดเร็ว แต่ก้แลกมากับค่าใช้จ่ายที่สูง

ขอบคุณข้อมูล 1 2 3

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button