ข่าวข่าวการเมือง

ทักษิณ ชนะ คดีสรรพากร ศาลเพิกถอนประเมินเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป 1.7 หมื่น ลบ.

อดีต นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ชนะ คดีสรรพากร โดยศาลได้มีตัดสินให้เพิกถอนการประเมินเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป 1.7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการดำเนินการไม่เป็นไปตามกฎหมาย

(8 ส.ค. 2565) ศาลภาษีอากรกลาง มีคำพิพากษาคดีความแพ่ง ที่อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ทำการยื่นฟ้องต่อกรมสรรพากร (คดีสรรพากร) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในฐานการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการขายหุ้น บ.ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 17,000 ล้านบาท โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลตัดสินให้ทักษินชนะคดีความดังกล่าว

Advertisements

ในเชิงรายละเอียดนั้น มีด้วยกันดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 18 ก.ค.65 ศาลภาษีอากรกลาง มีคำพิพากษาคดีความแพ่ง หมายเลขดำ ภ.220/2563 ที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมสรรพากร ,นายพงษ์ศักดิ์ เมธาพิพัฒน์ ผู้แทนอธิบดีกรมสรรพากร ,นายประภาส สนั่นศิลป์ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด จำเลยที่ 3 นายพิสิทธิ์ ศรีวรานันท์ จำเลยที่ 1-4 ผู้แทนกรมการปกครอง ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ กรณีประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการขายหุ้น บ.ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 17,000 ล้านบาท โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ถือเอาการออกหมายเรียกนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย และน.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรสาว ในฐานะตัวแทนเชิด เป็นการออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรในฐานะตัวการ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินต้องออกหมายเรียกไปยังโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ถูกประเมินโดยตรง

แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับนิติกรรมที่ทำขึ้น ไม่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัทชินคอร์ป แต่อย่างใด โดยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทดังกล่าวอยู่ โจทก์จึงมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มีผลทำให้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่วินิจฉัยยืนตามการประเมิน ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน แต่เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยที่ 2-4 กระทำไปตามอำนาจหน้าที่จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว

พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.12) และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

Advertisements

โดยในเวลานี้ คดีดังกล่าวยังอยู่ในระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ แต่ก็ยังไม่ปรากฎคู่ความยื่นอุทธรณ์แต่อย่างใด

 

แหล่งที่มาของข่าว : ข่าวสดออนไลน์

สามารถติดตามข่าวการเมืองเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวการเมือง

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button