ไลฟ์สไตล์

ไขสงสัย “วันสารทจีน” ความหมายมงคล ทำไมถึงเรียก “วันสารท”

รู้หรือไม่ วันสารทจีน คืออะไร เปิดเกร็ดความรู้ ที่มาประวัติศาสตร์ของ “วันสารท” พร้อมความหมาย ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ เช็กคำตอบได้แล้วที่นี่

กางปฏิทินจีน ชวนส่องความลับ ไขปริศนาความหมาย “วันสารทจีน” มีความหมายมงคลสื่อถึงสิ่งใด เชื่อว่าคนไทยเชื้อสายจีนหลายบ้านต่างก็รอให้ถึง วันสารทจีน วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (วันที่ 15 เดือน 7) เนื่องในวันสำคัญที่ครอบครัวจะได้กลับมาพร้อมหน้าพร้อมตา กราบไหว้บรรพบุรุษเพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลร่วมกันกัน แต่เคยสังเกตุหรือไม่ว่าทำไมถึงต้องเรียกว่าวันสารทจีน ซึ่งของไทยเองก็ยังมี วันสารทเดือน 10 อีกด้วย

Advertisements

ทีมงาน ไทยเกอร์ ได้รวบรวมคำตอบพร้อมความหมายมาให้ทุกท่านได้รับทราบกันถ้วนหน้าเรียบร้อย เชิญเข้ามาอ่านในนี้กันได้เลยครับ

วันสารทจีน ความหมาย 2566

“วันสารทจีน” ความหมายมงคล สื่อถึงอะไร

สำหรับคำภาษาจีนที่ใช้เรียก วันสารทจีน หมายถึง กุ่ยเจี๋ย (GuiJie) หรือ หวางเหรินเจี๋ย (Wangren Jie) ซึ่งคำว่า Gui ความหมายคือ ผี ซึ่งเป็นคำเรียกคนที่ถึงแก่กรรมแล้ว ส่วนคำว่า Wangren หมายถึง คนที่ตายไปแล้ว ดังนั้นเทศกาลนี้ จึงถูกเรียกว่า Ghost Festival หรือเทศกาลคนตายนั่นเอง

ทั้งนี้ “วันสารทจีน” ปีนี้ตรงกับวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน หรือก็คือ “วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566” ซึ่งปกติแล้วจะช้ากว่าปีปฏิทินทางจันทรคติของไทยประมาณ 2 เดือน สำหรับ เทศกาลสารทจีน หรือ เทศกาลจงหยวน (ตงง้วงโจย) ก็หมายถึง สารทกลางปี คนแต้จิ๋วเรียกว่า ซิกง่วยปั่ว แปลว่า กลางเดือนเจ็ดนั่นเอง

วันสารทจีน หมายถึง ความหมาย 2566

Advertisements

สำหรับประเทศไทยนั้น กุ่ยเจี๋ย ถูกเรียกให้เป็นภาษาไทยได้ว่า วันสารทจีน ซึงคำว่า สารท มีรากศัพย์มาจากภาษาบาลี “สรท” (สะ-ระ-ทะ) หมายถึง ฤดูใบไม้ร่วง

ทั้งนี้คำวา สารท สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้ให้ความหมายในทางความเชื่อของชาวจีนไว้ว่า เป็นเทศกาลที่ลูกหลานแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ วันสารทจีนตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ของจีน บางตำนานว่าเป็นวันที่ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์ และส่งวิญญาณร้ายลงนรก

วันสารทจีน ความหมาย 2566 หมายถึงอะไร

ชาวจีนทั้งหลายสงสารวิญญาณร้าย จึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ เนื่องจากเดือน 7 นี้ถือเป็นเดือนผี ซึ่งประตูนรกจะเปิดให้ผีทั้งหลายมารับส่วนบุญ ชาวจีนจึงจัดพิธีไหว้เจ้าที่ในตอนเช้า ตอนสายจะไหว้บรรพบุรุษ และตอนบ่ายจะไหว้ผี หรือวิญญาณพเนจร ซึ่งไม่มีลูกหลานกราบไหว้

ของไหว้จะประกอบด้วยอาหารคาวหวาน ของไหว้ที่ขาดไม่ได้คือขนมเข่ง ขนมเทียน นอกนั้นเป็นผลไม้ น้ำชาหรือเหล้า และมีการเผากระดาษเงินกระดาษทองด้วยนั่นเอง

 

มีวันสารทจีน แล้วมีวันสารทไทยไหม ?

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว นอกจากวันสารทจีนที่เราได้คุ้นชื่อกันบ่อย ๆ ก็ยังมี วันสารทไทย อีกด้วยนะ

วันสารทไทย หรือที่เรียกกันว่า วันสารทเดือนสิบ เป็นเทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน 10 หรือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 โดยนำพืชพรรณธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์ และข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์ ได้แสดงความเอื้อเฟื้อให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นการผูกมิตรไมตรีกันไว้ เนื่องจากชาวบ้านจะทำขนมกระยาสารทไว้แจกจ่ายกันตามหมู่บ้าน

สำหรับความเหมือนกันของ วันสารทไทย และ วันสารทจีน ก็คือการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนผู้มีพระคุณ เพราะเชื่อกันว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้วจะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ และญาติจะได้รับส่วนบุญ อีกทั้งเป็นการแสดงความเคารพ และอปจายนธรรมแก่ผู้หลักผู้ใหญ่ด้วยนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button