ข่าวข่าวภูมิภาค

เพจรายงาน เผย ตอบแชทหัวหน้าวันหยุด เรียกเป็นเงินได้ 1 เท่า

เพจกฎหมายตอบคำถาม ตอบแชทหัวหน้าวันหยุด สามารถเรียกเป็นเงินได้ ขอให้เก็บหลักฐานเอาไว้ มีสิทธิ์ได้เงิน 1 เท่า

เพจเฟซบุ๊ก กฎหมายแรงงาน ได้โพสต์ตอบคำถามชาวเน็ตที่ได้เขียนมาถามเกี่ยวกับการที่หัวหน้าเขียนไลน์มาคุยเรื่องงานว่า ตอบแชทหัวหน้าวันหยุด สามารถเรียกเงินได้ เผยเรียกเงินได้ 1 เท่า แต่ขอให้เก็บหลักฐานไว้ให้ดี

Advertisements

โดยทางชาวเน็ตได้เล่าเรื่องราวและนำไปสู้การตอบคำถามครั้งนี้ ได้เล่าประสบการณ์ว่า ตนทำงานหน้าเป็นเลขาหัวหน้าพ่อครัว ทำงาน 9.00 น. ถึง 22.00 น. ไม่ได้ OT วันเสาร์-อาทิตย์ก็ต้องตอบงานหัวหน้า จนไม่มีเวลาพักกลางวัน แถมถ้าทำไม่ทัน หัวหน้าก็จะบอกว่า “ไม่เสร็จ ไม่ต้องกลับ” จนล้มป่วย ลุกไปทำงานไม่ได้ และโดนตำหนิอีกตอนนี้ป่วยเป็นโรคแพนิค และมีอาการซึมเศร้า พอจะยื่นใบลาออก HR ก็ไม่ยอมดำเนินการให้ จนนำไปสู่การร้องเรียนใจเพจ

ทางเพจได้แบ่งประเด็นจากเรื่องนี้ว่า “1. เรื่องเวลาทำงาน เลขาเชฟทำงาน 13 ชั่วโมง ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายระบุไว้แค่ 8 ชั่วโมง ถ้าเกิน 8 ชั่วโมง นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา

2. วันอาทิตย์ต้องตอบไลน์ กรณีนี้ถือว่า นายจ้างให้ทำงานวันหยุด มีสิทธิ์ได้เงินอีก 1 เท่า ขอให้เก็บหลักฐานการแชตสั่งงานไว้ให้ดี

3. นายจ้างบอกว่า งานไม่เสร็จ ไม่ต้องกลับ ในส่วนนี้ต้องพิจารณาว่า ไม่ต้องกลับคือ เกิน 8 ชั่วโมงหรือไม่ เกินมาเท่าใดก็เรียกค่าโอทีย้อนหลัง

Advertisements

4. เวลาพักไม่ชัด หรือ ไม่ได้พัก กรณีนี้ผิดมาตรา 27 เพราะกฎหมายระบุว่า ต้องจัดเวลาพัก 1 ชั่วโมงหลังจากทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง

5. การให้ทำโอทีเกิน 2 ชั่วโมงต่อจากการทำงานปกติ ต้องจัดเวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาที กรณีนี้ก็เรียกค่าเสียหายได้

6. เรื่องการลาออกแล้ว HR ไม่ดำเนินเรื่อง ถือว่าการลาออกมีผลทันทีตั้งแต่ประสงค์ที่จะออก ไม่ต้องสนใจ HR ว่าอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

7. เงินค่าจ้าง เซอร์วิสชาร์จที่ค้างจ่าย ถ้าถึงกำหนดจ่ายเงินเดือนแล้วยังไม่ได้รับ ถือว่านายจ้างผิดนัด ต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนเรื่องเงินชดเชย ไม่มีสิทธิ์ได้ เพราะลาออกเอง ไม่ได้เลิกจ้าง

สุดท้าย ทางเพจแนะนำว่า ให้นำหลักฐานไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานในเขตพื้นที่ เพื่อเรียกร้องเอาเงินส่วนที่ยังไม่ได้ พร้อมดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม มีเรื่องหนึ่งที่ไม่มีกฎชัดเจน ไม่สามารถระบุได้ว่าผิดหรือไม่ นั่นคือ “การลาป่วยแล้วถูกตำหนิ”

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button