แก้หนี้ครัวเรือน 14 ธนาคาร ร่วมรีไฟแนนซ์ โอนหนี้ข้ามธนาคาร
รวมหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย รัฐบาลขอบคุณทุกฝ่ายร่วมแก้ หนี้ครัวเรือนไทย 14 ธนาคาร ร่วมรีไฟแนนซ์ โอนหนี้ข้ามธนาคาร
คาวมคืบหน้าการขับเคลื่อนการแก้หนี้ครัวเรือนของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาได้นำร่องในกลุ่มลูกหนี้ กยศ. ข้าราชการครูและตำรวจที่กู้ยืมจากสหกรณ์ ซึ่งมีความคืบหน้าและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
โดยวันที่ 24 กรกฏาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว เกี่ยวกับ ความคืบหน้าในส่วนของลูกหนี้อื่นๆ ที่กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยและกรมบังคับคดีได้ขับเคลื่อนเรื่องการเจรจาแก้หนี้และประนอมหนี้ อีกทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทย
ยังได้เป็นตัวกลางออกมาตรการ “รวมหนี้” สนับสนุนการรีไฟแนนซ์ (refinance) ตั้งแต่กันยายน 2564 แต่ยังพบว่าลูกหนี้ยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จึงได้ออกมาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้เพิ่มเติม เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีหรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19
ซึ่งการรีไฟแนนซ์ คือ การปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ลูกหนี้คือ อัตราดอกเบี้ยลดลง ลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น เหลือหนี้ก้อนเดียวและอัตราดอกเบี้ยอัตราเดียวทำให้การชำระหนี้ง่ายขึ้น ลดโอกาสการเสียประวัติลูกหนี้ หากเจรจารวมหนี้สำเร็จก่อนเกิดปัญหาหนี้เสีย
รวมหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย การรวมหนี้ แบ่งเป็น 3 รูปแบบ
การรวมหนี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลักคือ
- การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน
- การรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้บัตรจากธนาคารแห่งหนึ่งไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคารอีกแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นการโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้
- การโอนหนี้บ้านและหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นไปรวมกันที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ที่ลูกหนี้ไม่เคยมีหนี้ด้วยมาก่อน
ทั้งนี้ ปัจจุับันมี 14 ธนาคารที่สามารถยื่นขอรวมหนี้ ภายในธนาคาร หรือต่างธนาคารได้แล้วคือ กรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกร เกียรตินาคิน ซีไอเอ็มบีไทย ทหารไทยธนชาติ ทิสโก้ ไทยพาณิชย์ ยูโอบี แลนด์แอนเฮ้าส์ ไอซีบีซี ออมสิน และอิสลามแห่งประเทศไทย ส่วนที่อยู่ในขั้นดำเนินการคือ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย
ที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย