ข่าวข่าวภูมิภาค

ปภ. แจ้งเตือน เหนือ-อีสาน-ภาคกลาง-ใต้ 11 – 15 ก.ค.นี้ รับมือน้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน

ปภ. แจ้งจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ รับมือน้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ช่วงวันที่ 11 – 15 ก.ค.65

11 ก.ค. 65 เวลา 13.00 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่า จะมีปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่อง อีกทั้งสถานการณ์น้ำในลำน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติบางพื้นที่ที่ฝนตกหนักอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ระหว่างวันที่ 11 – 15 กรกฎาคม 2565 ดังนี้

Advertisements

พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วมขัง

ภาคเหนือ 5 จังหวัด

  • พะเยา (อำเภอเชียงคำ ปง ภูซาง) ลำปาง (อำเภองาว แจ้ห่ม เมืองปาน วังเหนือ) แพร่ (อำเภอร้องกวาง วังชิ้น สอง) พิษณุโลก (อำเภอนครไทย) เพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองฯ วิเชียรบุรี หล่มสัก)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่

  • เลย (อำเภอด่านซ้าย ปากชม)
  • หนองบัวลำภู (อำเภอสุวรรณคูหา)
  • อุดรธานี (อำเภอกุมภวาปี ทุ่งฝน นายูง น้ำโสม บ้านดุง บ้านผือ พิบูลย์รักษ์ เพ็ญ วังสามหมอ สร้างคอม หนองหาน) หนองคาย (อำเภอท่าบ่อ เฝ้าไร่ โพธิ์ตาก โพนพิสัย เมืองฯ รัตนวาปี สระใคร สังคม)
  • สกลนคร (อำเภอกุดบาก คำตากล้า เจริญศิลป์ นิคมน้ำอูน
  • บ้านม่วง ภูพาน วานรนิวาส วาริชภูมิ ส่องดาว อากาศอำนวย)
  • ยโสธร (อำเภอกุดชุม ทรายมูล ป่าติ้ว เมืองฯ เลิงนกทา)
  • ชัยภูมิ (อำเภอเทพสถิต หนองบัวแดง เกษตรสมบูรณ์)
  • ขอนแก่น (อำเภอเขาสวนกวาง ชนบท เมืองฯ อุบลรัตน์)
  • กาฬสินธุ์ (อำเภอเขาวง คำม่วง นาคู สมเด็จ สามชัย)
  • ร้อยเอ็ด (อำเภอโพนทอง หนองพอก)
  • อำนาจเจริญ (อำเภอชานุมาน พนา เมืองฯ ลืออำนาจ หัวตะพาน)
  • นครราชสีมา (อำเภอเมืองยาง)
  • อุบลราชธานี (อำเภอเขมราฐ โขงเจียม ตระการพืชผล ตาลสุม นาจะหลวย นาตาล พิบูลมังสาหาร โพธิ์ไทร ม่วงสามสิบ ศรีเมืองใหม่ สิรินธร)

ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่

  • ระนอง (อำเภอกระบุรี กะเปอร์ เมืองฯ)
  • ชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ เมืองฯ)
  • สุราษฎร์ธานี (อำเภอท่าชนะ)
  • พังงา (อำเภอคุระบุรี)

พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน

  • บริเวณแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ลำน้ำน ลำน้ำยาม และแม่น้ำตาปี

พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำน้ำพุง จังหวัดสกลนคร อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง

Advertisements

พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ

  • ภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง น่าน และพะเยา
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ เลย สกลนคร ขอนแก่น นครราชสีมา นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ ตราด
  • ภาคใต้ 1 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ กอปภ.ก.ได้ประสานจังหวัดติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ หากมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ ให้ถือปฏิบัติตามข้อสั่งการของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งขาติ และเตรียมรับมือสถานการณ์ตามประกาศของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ท้ายนี้ ประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
ภาพ Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
สถานการณ์น้ำในประเทศไทย 2565
ภาพ Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
สถานการณ์น้ํา ล่าสุด
ภาพ Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
สถานการณ์น้ำ ประเทศไทย
ภาพ Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button