ข่าวอาหารไลฟ์สไตล์

อย่าชะล่าใจ “อาการแพ้กัญชาในอาหาร” มีอาการอย่างไร ? ใครเสี่ยงแพ้บ้าง ?

เช็กเลย “อาการแพ้กัญชาในอาหาร” ใครเข้าค่ายเสี่ยงบ้าง ? มีอาการอย่างไร ? ก่อนกินต้องรู้ พร้อมแนะนำวิธีแก้อาการเมากัญชา

ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ประเทศไทย ปลดล็อกกัญชา-กัญชง เป็นพืชถูกกฎหมายเรียบร้อยแล้ว ทำเอาหลาย ๆ คนต่างตื่นเต้นที่จะได้ลองรสชาติ ที่เคยได้ยินมานานกับ เมนูกัญชา ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม กัญชาในอาหาร ของหวาน แต่เดี๋ยวก่อน! รู้หรือไม่ว่ายังมีบางคนที่มี อาการแพ้กัญชาในอาหาร อยู่ด้วยนะ ดังนั้นแล้วก่อนกินต้องสำรวจตัวเองให้ดีก่อน คุณเข้าข่าย แพ้กัญชาหรือไม่ ?

Advertisements

เช็กก่อนกิน ! อาการแพ้กัญชาในอาหาร เป็นอย่างไร ใครเสี่ยงแพ้กัญชาได้บ้าง

| กัญชา – กัญชง เมาได้อย่างไร ?

ในกัญชา มีสารแคนนาบินอยด์ที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) หรือสาร THC ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้มึนเมาหรือเคลิ้ม และสารแคนนาบินอยด์ (Cannabidiol) หรือสาร CBD ที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท

โดยสาร CBD ถูกนำมาใช้รักษาโรคลมชักชนิดดื้อยากันชัก ขณะเดียวกันสาร THC ก็ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์เช่นเดียวกัน อย่างการรักษาประคับประคองของมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งสาร แคนนาบินอยด์ นี้นั้นแม้จะมีประโยชน์ก็จริง แต่ถ้าได้ับในปริมาณที่มากเกินความจำเป้นก็จะส่งปลให้เกิดอาการ เมากัญชา ได้

Advertisements

โดยเฉพาะอาจส่งผลต่อสมองของเด็กและวัยรุ่น เช่น พัฒนาการล่าช้า ปัญหาพฤติกรรม เชาวน์ปัญญาลดลง และส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ เช่น มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภท เสี่ยงต่อการติดสารเสพติดชนิดอื่นๆ รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

| ข้อดี – ข้อเสีย ของกัญชา

  • ข้อดีของกัญชา – แม้กัญชามีกลิ่นเหม็นเขียว แต่ก็มีประโยชน์ทางยาที่น่าสนใจหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาแก้โรคเส้นประสาท หรือช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ
  • ข้อเสียของกัญชา – การใช้กัญชาสามารถสร้างความเสียหายแก่ผู้ทาน หรือสูบกัญชา อาทิ ทำให้เส้นประสาทมึนชา คอแห้ง อยากรับประทานของหวาน หนังตาหนักถ่วงลง ตกใจง่าย การตอบสนองของร่างกายช้าลง ทำลายสมรรถภาพทางกาย หรือทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

| อาการแพ้กัญชาในอาหาร

แน่นอนว่าหลังจากปลดล็อกกัญชา – กัญชงแล้วนั้น ย่อมมีเมนูอาหารใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามมาให้คนที่อยากเริ่มเข้าสู่เส้นทางสายเขียวได้ลิ้มลอง แต่สิ่งควรระวังไว้นั้นก็คือ อาการแพ้กัญชา ทั้งในอาหาร และเครื่องดื่ม โดยผู้แพ้จะมีอาการเบื้องต้นดังนี้

อาการแพ้กัญชาในอาหาร

  • มีอาการง่วงนอนมากผิดปกติ
  • ตกใจง่ายขึ้น
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะและมึนงง
  • ปากแห้ง คอแห้ง
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

อาการดังกลาวสามารถหายได้เองจากการหยุดรับประทาน อาจเป็นเพราะร่างกายยังไม่เคยชินกับสาร THC และ CBD แต่เมื่อมีอาการที่รุนแรงกว่านี้ควรรีบเข้าพบแพทย์ในทันที ได้แก่

  • มีความรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วและรัวผิดจังหวะ
  • เป็นลมหมดสติ
  • มีอาการเจ็บหน้าอก หรือรู้สึกปวดร้าวไปที่แขน
  • เหงื่อแตกหรือตัวสั่น
  • รู้สึกอึดอัดหายใจไม่สะดวก
  • มีอาการเดินเซ หรืแพูดไม่ชัด
  • รู้สึกสับสน กระวนกระวาย วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล
  • มีอาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน พูดคนเดียว
  • อารมณ์แปรปรวน

| ใครเป็นกลุ่มเสี่ยง แพ้กัญชา บ้าง ?

คนที่แพ้กัญชามักมีปัญจัยเสี่ยงด้านอายุ โรคประจำตัว ดังนี้

  1. กลุ่มเยาวชนที่มีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
  2. กลุ่มผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ หรือกำลังอยู่ระกว่างให้นมบุตร
  3. ผู้มีโรคประจำตัว ตับและไตบกพร่อง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  4. ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา ซึ่งอาจเกิดจากส่วนประกอบอื่น ๆ หรือสารที่เป็นตัวทําละลาย (solvent) ที่ใช้ในการสกัด
  5. ผู้ที่เป็โรคจิตมาก่อน หรือ มีอาการของโรคอารมณ์แปรปรวน
  6. ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก

| วิธีบรรเทาอาการแพ้กัญชาในอาการ แก้อาการเมากัญชาเบื้องต้น

เมื่อรับประทานเมนูกัญแล้วแล้วเกิดอาการ แพ้กัญชาในอาหาร มีวิธีบรรเทาอาการเบื้องต้น ดังนี้

  • ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมาก ๆ เพื่อบรรเทาอาการคอแห้งปากแห้ง
  • ดมพริกไทยดำหรือเคี้ยวในปริมาณเล็กน้อย ก็ช่วยบรรเทาอาการเมากัญชา
  • หากมีอาการวิงเวียนศีรษะหรือคลื่นไส้อาเจียน ให้ชงชาขิง หรือน้ำขิงดื่ม
  • อาบน้ำ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นระหว่างที่รอให้สร่างเมา

ขอบคุณข้อมูล 1 2

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button