ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

เปิดรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ล่าสุด 2565 ให้สิทธิคู่รักเพศเดียวกันอะไรบ้าง

เช็ก รายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต หลัง ครม. ไฟเขียว อนุมัติพิจารณา ให้สิทธิคู่รักเพศเดียวกัน กลุ่ม LGBTQ+ ต้อนรับเดือนแห่ง Pride Month 2022 เพิ่มสิทธิ จดทะเบียนเป็นคู่ชีวิต สามารถรับเลี้ยงลูกบุญธรรม และจัดการมรดก ตามกฎหมายได้

ต้อนรับเทศกาล Pride Month 2022 เปิดรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ล่าสุด 2565 สำหรับกลุ่ม LGBTQ+ ให้สิทธิคู่รักเพศเดียวกัน ทั้งการจดทะเบียนสมรสเป็นคู่ชีวิต สามารถรับเลี้ยงลูกบุญธรรม พร้อมทั้งจัดการมรดกตามกฎหมาย วันนี้ทีมงาน The Thaiger จึงจะมาแนะนำ ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ล่าสุด สำหรับกลุ่ม LGBTQ+ ว่ามีเงื่อนไขรองรับอะไรที่ต้องรู้บ้าง

Advertisements

เปิดรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ให้สิทธิคู่รักเพศเดียวกันอะไรบ้าง lgbtq+

อ่านรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ล่าสุด 2565 เช็กสิทธิคู่รักเพศเดียวกัน

สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต 2565 ล่าสุด ต้อนรับเดือน Pride Month สำหรับกลุ่ม LGBTQ+ หลังจาก ครม. ไฟเขียว อนุมัติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เพื่อเป็นกฎหมายที่รองรับความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน โดยมีการอุปการะเลี้ยงดูและมีความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างไปจากคู่สมรส โดย ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ฉบับนี้ ให้สิทธิ และหน้าที่คู่ชีวิต ดังนี้

เช็กเงื่อนไข พ.ร.บ.คู่ชีวิต สิทธิ อะไรบ้าง

  1. ให้หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  2. ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิติ มอบอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายในคดีอาญาเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา
  3. มอบสิทธิรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน
  4. สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
  5. สิทธิและหน้าที่ในการเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ หากอีกฝ่ายเป็นคนไร้ หรือเสมือนไร้ความสามารถฃ
  6. สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย และ
  7. สำหรับสิทธิจัดการศพ

และในส่วนของสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บคู่ชีวิต 11 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้

Advertisements

เปิดรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ให้สิทธิคู่รักเพศเดียวกันอะไรบ้าง Pride Month

รายละเอียด กฎหมายพ.ร.บ.คู่ชีวิต ล่าสุด 2565

  1. ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต คู่ชีวิต คือ บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้
  2. กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้
  3. การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย รวมทั้งกำหนดบุคคลต้องห้ามไม่ให้จดทะเบียนคู่ชีวิต เช่น ทั้งสองคนเป็นญาติสืบสายโลหิตกัน เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา เป็นต้น
  4. กรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือศาล และเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิตแล้วผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะ
  5. กำหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับลักษณะความสัมพันธ์ของคู่ชีวิต เช่น ต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวและช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน
  6. คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป. วิ อาญา)
  7. ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต แบ่งเป็นสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วมกัน
  8. การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต คู่ชีวิตย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หรือการเลิกการเป็นคู่ชีวิต รวมทั้งกำหนดเหตุฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต เช่น คู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต ประพฤติชั่ว ทำร้าย ทรมานร่างกายหรือจิตใจ จงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี
  9. บุตรบุญธรรม เมื่อคู่ชีวิตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขใน พ.ร.บ. นี้ และ ป.พ.พ. แล้ว สามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วยก็ได้
  10. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ว่าด้วยมรดก
  11. กำหนดให้นำบทบัญญัติในป.พ.พ.ว่าด้วยคู่สมรสครอบครัวและบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลมในบางกรณี

เปิดรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ให้สิทธิคู่รักเพศเดียวกันอะไรบ้าง คู่รักเพศเดียวกัน

นอกจากนี้ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสาวรัชดา ธนาดิเรก กล่าวด้วยว่า ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้

  1. ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี “คู่สมรส” หรือ “คู่ชีวิต” อยู่ไม่ได้
  2. กำหนดให้เหตุฟ้องหย่ารวมถึง กรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉัน “คู่ชีวิต”
  3. ให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต

ทั้งนี้ สิทธิที่เกี่ยวข้องกับการเป็นคู่ชีวิตในกฎหมายฉบับอื่นๆ จะมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป ภายหลังจากร่าง พ.ร.บ.นี้ มีผลบังคับใช้

สรุปว่า ครม. ได้ไฟเขียว อนุมัติ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ล่าสุด 2565 ซึ่งต่อจากนี้หลังจากการประกาศใช้ ก็จะมีกรณีศึกษาเพิ่มเติม เพื่อทำการปรับปรุงแก้ไข ให้เป็น ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตที่สมบูรณ์ และเหมาะสมกับกลุ่ม LGBTQ+ ในประเทศไทยมากที่สุด

อ้างอิง : 1

เปิดรายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ให้สิทธิคู่รักเพศเดียวกันอะไรบ้าง lgbtq+

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button