ข่าวภูมิภาค

ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากทม. คนที่ 17 อย่างเป็นทางการ

ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากทม. คนที่ 17 อย่างเป็นทางการ กกต. รับรองผลการเลือกตั้งแล้ว

หลังจากที่ชาวกรุงเทพมหานคร ได้มีโอกาสเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ในรอบกว่า 8 ปี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ก็ได้แสดงพลัง เข้าคูหากาเบอร์ 8 เลือก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์เป็นผูว่ากรุงเทพมหานคร คนที่ 17 และล่าสุดวันนี้ 31 พฤษภาคม 2565 กกต. ก็ได้มีผลการรับรองชัชชาติเป็นผูว่ากทม. อย่างเป็นทางการแล้ว

Thaiger จะขอพาไปย้อนอ่าน ประวัติชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากรุงเทพผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีกัน

| ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เขาคือใคร ก่อนมาเป็นผู้ว่าคนกรุงเทพล่าสุด

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เกิดในครอบครัวของพลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล มีพี่น้อง 2 คน คือ ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรศ.นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ (ทัวร์) ฝาแฝด ของชัชชาติ ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ชัชชาติมีชื่อเล่นว่า ทริป

ด้านชีวิตสมรส ชัชชาติ ได้แต่งงานกับ ปิยดา สิทธิพันธุ์ ที่มีโอกาศได้พบกันตอนเรียนจบที่ต่างประเทศแล้ว ซึ่งในขณะนั้น ภรรยายังเป็นแอร์โฮสเตสอยู่ และมีลูกชายด้วยกันหนึ่งคนอย่าง แสนปิติ สิทธิพันธุ์ บทบาทเป็นพ่อที่ทำหน้าที่ดูแลลูกชายที่มีอาการหูหนวก

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ภาพจาก Fcaebookชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ส่วนด้านประวัติการศึกษาก็ไม่ธรรมดาเลย เพราะ ม.ต้นจบจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วต่อ ม.ปลาย ที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ก่อนจะสอบเข้าฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบรั้วจามจุรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา เกียรตินิยมอันดับ 1

จากนั้น ชัชชาติไปเรียนต่อปริญญาโท ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จบปริญญาเอกด้วย ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2530 วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ภาพจาก Fcaebookชัชชาติ สิทธิพันธุ์

| ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประวัติการทำงาน และผลงาน และการเมือง

ชัชชาติ นั้นเคยทำงานเป็นวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชนมาก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2555

นอกจากนี้ยังเคยอยู่ในรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่ง อาทิเช่น บริษัทขนส่ง จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยและเป็นกรรมการอิสระ บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานให้คำปรึกษาแก่กระทรวงคมนาคม ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร แต่ในเวลานั้นก็ไม่มีมีตำแหน่งใดๆ

ชัชชาติ เริ่มต้นงานการเมืองอย่างจริงจังในปีพ.ศ. 2555 เขาได้รับการทาบทามทางโทรศัพท์ จาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้มาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555

การที่เขาเข้ามารับงานทางการเมืองเป็นครั้งแรก ทำให้ในช่วงแรกในตำแหน่งรัฐมนตรี เขากลายเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จักมากที่สุดและจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งต่อมา ในปีเดียวกันนั้นเองเขาก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนตุลาคม

และในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นายชัชชาติเป็นหนึ่งในตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุมกับบรรดาแกนนำและตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาทางออกประเทศ และก็เกิดรัฐประหาร จากนั้นนายชัชชาติก็ได้กลับไปเป็นกรรมการอิสระบมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จนกระทั่งได้รับการประสานงานกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกครั้ง ให้มาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ภาพจาก Fcaebookชัชชาติ สิทธิพันธุ์

| ฉายา รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี

ชัชชาติ ได้รับฉายาว่าเป็น รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี สืบเนื่องจากร่างกายที่ดูแข็งแรงจากการหมั่นออกกำลัง และใช้ชีวิตเหมือนคนธรรมดาไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรถเมล์ หรือเดินถอดรองเท้าใส่บาตร ซ้อนจักรยานยนต์รับจ้าง นั่งรถสองแถว ขึ้นรถไฟออกตรวจราชการในพื้นที่ต่าง ๆ เกิดเป็นมีม (Meme) มากมาย

ขณะเดียวกันภาพลักษณ์ของเขาเมื่อเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็เป็นภาพลักษณ์ ของผู้ตั้งใจทำงาน และไม่เน้นเรื่องการเมือง ภาพลักษณ์ดังกล่าว เป็นที่กินใจของชาวกรุงเทพฯ หลายคนเป็นอย่างมาก

ปัจจุบัน ชัชชาติได้รับฉายา ผู้ว่าที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีไปแล้ว

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ภาพจาก Fcaebookชัชชาติ สิทธิพันธุ์

 

Thaiger

The Thaiger นำเสนอข่าวสารล่าสุดและอัปเดตจากทั่วประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button