ข่าวข่าวภูมิภาค

สนง.ประกันสังคม โต้ แจกเงิน 5000 เยียวยาโควิด ไม่เป็นความจริง

สำนักงานประกันสังคม ออกโรงโต้ กรณี แจกเงิน 5000 เยียวยาโควิด ไม่เป็นความจริง ชี้ตอนนี้ไม่มีนโยบายแจกเงินให้ทุกมาตรา

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ออกมาโพสต์ข้อความเฟซบุ๊กชี้แจงหลังจากที่มีกระแสข่าวว่า ผู้ประกันตน ม.33,39,40 รับเงินเยียวยา เข้าบัญชีสิ้นเดือนพ.ค. 65 คนละ 5,000 บาท ทั้งทาง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็น ข่าวปลอม

โดย สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึง กรณีที่ แจกเงิน 5000 ตอนสิ้นเดือนว่า “ตามที่มีการส่งต่อคำแนะนำเรื่องผู้ประกันตน ม.33,39,40 รับเงินเยียวยา เข้าบัญชีสิ้นเดือนพ.ค. 65 คนละ 5,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

ในกรณีที่มีคลิปวีดีโอโดยระบุว่าพ.ค.นี้แจกเงินเยียวยาสำหรับผู้ประกันตน ม.33,39,40 รับเงินเยียวยา เข้าบัญชีสิ้นเดือนพ.ค. 65 คนละ 5,000 บาท ทางสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า สำนักงานประกันสังคมไม่มีนโยบายแจกเงินเยียวยา 5,000 บาทให้สำหรับผู้ประกันตน ม.33,39,40 และสำนักงานประกันสังคมเคยมีโครงการเยียวยาอยู่ 3 ประเภท ดังนี้

1. โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
2. โครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40
3. โครงการเยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิง และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ

และทั้งหมดการดำเนินงานทั้ง 3 โครงการนี้ได้สิ้นสุดระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก สำนักงานประกันสังคม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : สำนักงานประกันสังคมไม่มีนโนบายแจกเงินเยียวยาสำหรับผู้ประกันตน ม.33,39,40 เดือนละ 5,000 บาท มีเพียงโครงการเยียวยา 3 ประเภท ซึ่งการดำเนินงานทั้ง 3 โครงการนี้ได้สิ้นสุดระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565″

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button