ตะลึง! NASA ปล่อยคลิป สุริยุปราคา บน ดาวอังคาร (คลิป)
ชมวินาทีภาพสุดตะลึงจาก NASA ซึ่งเป็นภาพวินาทีที่เกิด สุริยุปราคา บน ดาวอังคาร หลังจากดวงจันทร์ของดาวอังคารเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์
เมื่อวันที่ 21 เมษายน องค์การบริหารการบินและอวกาศของสหรัฐฯ หรือ องค์การนาซา (NASA) ได้โพสต์วิดีโอลงในทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นวินาทีที่ดาว โฟบอส ซึ่งเป็นดวงจันทร์ของดาวอังคาร เคลื่อนตัวบดบังดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคาบนดาวอังคาร
ภาพนี้ถูกบันทึกโดยระบบกล้องแมสต์แคม-ซี ของยานสำรวจดาวอังคารเพอร์เซเวอแรนส์ ที่กำลังสำรวจพื้นผิวดาวอังคาร โดยทางนาซาระบุว่าภาพนี้เป็นภาพถ่ายอวกาศที่มีการซูมและมีจำนวนภาพที่ปรากฏต่อวินาทีหรือเฟรมเรทมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากกล้องแมสต์แคม-ซี
โดยนักวิทยาศาสตร์ของทางนาซาระบุว่า เธอรู้ว่าภาพนี้จะต้องออกมาเป็นภาพที่ดี แต่เธอไม่คิดว่าภาพนี้จะเป็นภาพที่วิเศษขนาดนี้ ซึ่งเธอเปรียบเทียบว่า เหมือนความรู้สึกว่านี่เป็นเหมือนเซอร์ไพรส์วันเกิด
ทั้งนี้การสังเกตการณ์ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบนดาวอังคาร เป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณการเปลี่ยนแปลงวงโคจรของดวงจันทร์โฟบอส ที่อยู่ใกล้ดาวอังคารมาก และนักดาราศาสตร์พบว่ามีการขยับเข้าใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดคาดคะเนว่ามีโอกาสที่ดาวโฟบอสจะชนดาวอังคาร และส่งผลกระทบต่อดาวเคราะห์ดวงนี้ แต่ยังไม่ได้จะเกิดขึ้นในอีกหลายสิบล้านปีจากนี้
ก่อนหน้านี้ เพอรเซเวอแรนส์เพ รถสำรวจจากองค์การนาซา ได้ลงจอดบริเวณแอ่งหลุมอุกกาบาตเยเซโร บนดาวอังคารได้สำเร็จ เมื่อช่วงเวลาประมาณเกือบตี 4 ตามเวลาประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ปี 2564 ท่ามกลางเสียงยินดีของวิศวกรในห้องควบคุม
โดยเพอรเซเวอแรนส์จะปฏิบัติภารกิจขุดเจาะหินบนดาวอังคารเป็นระยะเวลาสองปี และทำการสำรวจหาหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเคยมีสิ่งชีวิตอาศัยอยู่บนดาวดวงนี้ ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าแอ่งหลุมอุกกาบาตเยเซโรเคยเป็นแหล่งน้ำมาก่อน และหากมีแหล่งน้ำก็มีความเป็นไปได้สูงว่าจะเคยมีสิ่งชีวิตอาศัยในบริเวณนี้
Truly fascinating. I zoomed in with my Mastcam-Z camera on a Phobos solar eclipse. This detailed video can help scientists on my team better understand the Martian moon’s orbit and how its gravity affects the interior of Mars, including its crust & mantle. https://t.co/jVdJ4UwhDx pic.twitter.com/q45HwKwLIS
— NASA's Perseverance Mars Rover (@NASAPersevere) April 20, 2022