ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

หา! ว่ายังไงนะค้า ราชบัณฑิต บัญญัติ คำทับศัพท์ชื่อกาแฟ เขียนอย่างนี้ถึงจะถูก?

งานนี้คอกาแฟและชาวคาเฟ่มีอึ้ง เมื่อ ราชบัณฑิต บัญญัติ คำทับศัพท์ชื่อกาแฟ ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ราชบัณฑิตออกมา ซึ่งก่อนหน้านี้เกิดกระแสที่ราชบัณฑิตเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงภาษาอังกฤษเป็น Bangkok และ Krung​Thep​ Maha​ Nakhon​ คราวนี้ถึงคิวของเครื่องดื่มอย่างกาแฟและคาเฟ่กันแล้ว คาปูชิโน่ มอคคา ลาเต้ คาเฟ่ หลบไป มาเรียนรู้ชุดคำทับศัพท์ใหม่จากราชบัณฑิตกัน ทำไมถึงเขียนแบบนี้ The Thaiger จะอธิบายให้ฟังทีละคำไปเลย

ราชบัณฑิต สร้างเรื่อง สร้างคำ บัญญัติ ‘คำทับศัพท์ชื่อกาแฟ’ แบบนี้อิงจากหลักอะไร ไปดู

  • Cappuccino

เริ่มกันที่คำทับศัพท์คำแรก “คาปูชิโน่” ซึ่งเป็นคำในภาษาอิตาลี สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Cappuccino

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : คาปูชิโน่

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : คัปปุชชีโน

โดยหลักในการทับศัพท์คำภาษาอิตาลี มีดังนี้

  • ตัว a ถอดเสียงได้เป็น สระอะ, ไม้หันอากาศ
  • ตัว u แบบมีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอุ
  • ตัว i แบบไม่มีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอิ
  • ตัว o แบบไม่มีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น โอ

ดังนั้นคำว่า Cappuccino จึงทับศัพท์ว่า คัปปุชชีโน นั่นเอง

  • Latte

ต่อกันที่คำทับศัพท์คำต่อมา “ลาเต้” เป็นคำในภาษาอิตาลี สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Latte

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : ลาเต้

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : ลัตเต

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอิตาลี มีดังนี้

  • ตัว a แบบมีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอะ, ไม้หันอากาศ
  • ตัว e ถอดเสียงได้เป็น สระเอ

ดังนั้นคำว่า Latte จึงทับศัพท์ว่า ลัตเต นั่นเอง

  • Mocha

ส่วนคำทับศัพท์ว่า “มอคค่า” เป็นคำในภาษาอิตาลี สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Mocha

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : มอคค่า

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : มอคา

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอิตาลี มีดังนี้

  • ตัว o แบบมีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น ออ
  • ตัว a แบบไม่มีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอา

ดังนั้นคำว่า Mocha จึงทับศัพท์ว่า มอคา นั่นเอง

  • Macchiato

สำหรับคำทับศัพท์ว่า “มัคคิอาโต” เป็นคำในภาษาอิตาลี สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Macchiato

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : มัคคิอาโต, มัคคิอาโต้

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : มัคคียาโต

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอิตาลี มีดังนี้

  • ตัว a แบบมีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอะ, ไม้หันอากาศ
  • ตัว c ที่ใช้เป็นตัวสะกด จะต้องมีเสียงตามที่เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป จึงถอดเสียงได้เป็น คี
  • ตัว ia ที่มีสระอื่นนำหน้าหรืออยู่ต้นพยางค์ (ch) ถอดเสียงได้เป็น ยา
  • ตัว a แบบไม่มีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอา
  • ตัว o แบบไม่มีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น โอ

ดังนั้นคำว่า Macchiato จึงทับศัพท์ว่า มัคคียาโต นั่นเอง

  • Matcha

สำหรับคำทับศัพท์ว่า “มัจฉะ” เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Matcha

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : มัจฉะ

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : มัตจะ

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาญี่ปุ่น มีดังนี้

  • ตัว a แบบมีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอะ, ไม้หันอากาศ
  • ตัว t ในตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ต้นคำ ถอดเสียงได้เป็น ต
  • ตัว ch ในตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ต้นคำ ถอดเสียงได้เป็น จ

ดังนั้นคำว่า Matcha จึงทับศัพท์ว่า มัตจะ นั่นเอง

  • Cafe

สำหรับคำทับศัพท์ว่า “คาเฟ่” เป็นคำในภาษาอังกฤษ สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Cafe

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : คาเฟ่

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : คาเฟ, แคเฟ

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอังกฤษ มีดังนี้

  • ตัว a ถอดเสียงได้เป็น สระอา, สระแอ
  • ตัว e ถอดเสียงได้เป็น สระเอ

ดังนั้นคำว่า Cafe จึงทับศัพท์ว่า คาเฟ, แคเฟ นั่นเอง

  • Milk

สำหรับคำทับศัพท์ว่า “มิลค์” เป็นคำในภาษาอังกฤษ สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Milk

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : มิลค์

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : มิลก์

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอังกฤษ มีดังนี้

  • ตัว i ถอดเสียงได้เป็น สระอิ
  • ตัว k ถอดเสียงได้เป็น พยัญชนะ ก

ดังนั้นคำว่า Milk จึงทับศัพท์ว่า มิลก์ นั่นเอง

  • Smoothie

สำหรับคำทับศัพท์ว่า “สมูทตี้” เป็นคำในภาษาอังกฤษ สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Smoothie

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : สมูทตี้

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : สมูทที

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอังกฤษ มีดังนี้

  • ตัว th ถอดเสียงได้เป็น พยัญชนะ ท
  • ตัว ie ถอดเสียงได้เป็น สระอี

ดังนั้นคำว่า Smoothie จึงทับศัพท์ว่า สมูทที นั่นเอง

เป็นอย่างไรบ้างคะ พอเห็นหลักเกณฑ์ในราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้แล้ว คิดว่าควรเขียนคำตามหลักที่สำนักราชบัณฑิตกำหนดขึ้น หรือควรเขียนแบบเดิมอย่างที่คุ้นเคยต่อไปดี ยังไงก็ลองนำประเด็นนี้ไปแชร์กับคนรอบตัวดูนะคะว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่เราจะต้องเขียนว่า “จะไปแคเฟมีใครฝากซื้อคัปปุชชีโน ลัตเต มัคคียาโตไหม” อ่านแล้วแปลกตาไม่น้อยเลยนะเนี่ย

ราชบัณฑิต บัญญัติ คำทับศัพท์ชื่อกาแฟ

อ้างอิงจาก (1) (2)

 

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button