ข่าว

อ้าว! กรมอุตุแจง หนาวเดือนเมษา ไม่ได้เกิดจาก ‘Polar Vortex’

อ้าว! กรมอุตุแจง หนาวเดือนเมษา ไม่ได้เกิดจาก ‘Polar Vortex’ แต่เป็นผลมาจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงจาก ‘ประเทศจีน’

ช่วงสองวันที่ผ่านมานี้ อากาศในประเทศไทยเย็นตัวลงอย่างรู้สึกได้ ซึ่งหลาย ๆ คนคาดคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์ Polar Vortex’ โดย ไออุ่นนอกพื้นที่เบียดรุกเข้าสู่แดนขั้วโลก ทำให้ลมหมุนถูกเบี่ยงเบน ไอเย็นก็ขยายออกตามลงมา สู่เส้นศูนย์สูตรเป็นจุด ๆ ส่งผลกระทบไปทั่วโลก

Advertisements
ภาพจาก National Oceanic and Atmospheric Administration

ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกมาเผยข้อเท็จจริงว่า อุณหภูมิที่ลดลงในเดือนเมษายนนี้ ไม่ได้เกิดจาก ปรากฏการณ์ Polar Vortex แต่อย่างใด แต่เป็นผลมาจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน

ซึ่ง ปรากฏการณ์ Polar Vortex เป็นกระแสลมวนที่ไหลเวียนจากทางด้านตะวันตกไปตะวันออก แต่มีเทือกเขาหิมาลัยเป็นอุปสรรคกั้น ทำให้กระแสลมมาไม่ถึงประเทศไทย ทำให้ทิศทางลมของกระแสลมวนที่ไหลเวียนลงมาเปลี่ยนทิศทางไปทางอื่น

ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์ได้มีการเผยแพร่ข้อความและภาพ ถึงสาเหตุที่อุณหภูมิทั่วไทยลดลง อากาศแปรปรวน หนาวเย็น ฝนตกหรืออากาศหนาวเย็นช่วงฤดูร้อนเดือนเมษายน 2565 โดยผู้เชี่ยวชาญได้ชี้ว่า “เป็นผลจากปรากฏการณ์ Polar Vortex ทำให้เย็นวูบวาบ กระแสลมโลกเบี่ยงทิศ ผลพวงปัญหาโลกร้อนที่ต้องเร่งแก้ไข” นั้น

กรมอุตุนิยมวิทยา ขอเรียนชี้แจงว่า ความแปรปรวนของสภาพอากาศในช่วงวันที่ 1 – 3 เมษายน 2565 เป็นผลมาจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูร้อน (กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเข้าสู่ฤดูร้อน วันที่ 2 มีนาคม 2565)

ซึ่งโดยทั่วไป อุณหภูมิบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงกลางวันอากาศร้อนถึงร้อนจัดในบางวัน และมักจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่วนความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่เคยปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ในช่วงฤดูหนาวจะอ่อนกำลังลง และถอยกลับไปปกคลุมบริเวณประเทศจีน แต่ยังมีบางช่วงที่มีมวลอากาศเย็นดังกล่าว แผ่ลงมาปกคลุมได้เป็นระยะๆ ขึ้นอยู่กับความแรงของมวลอากาศ

Advertisements

หากมวลอากาศเย็นดังกล่าว มีกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคใต้ตอนบน มักจะทำให้ประเทศไทยตอนบน มีสภาพอากาศแปรปรวน โดยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรกๆ ส่วนใหญ่มักจะเริ่มเกิดขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน หลังจากนั้น อุณหภูมิจะลดลง และมีลมแรง
ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้เคยเกิดขึ้นในอดีต เช่นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2559 เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นในฤดูร้อน แต่จะเป็นระยะเวลาสั้นๆ 2-3 วันเท่านั้น

ส่วนปรากฏการณ์ Polar Vortex ที่อ้างถึงดังกล่าว มักจะไม่มีผลกระทบถึงประเทศไทย เพราะกระแสลมวนที่ไหลเวียนจากทางด้านตะวันตกไปตะวันออก จะมีเทือกเขาสูงกีดขวางเป็นอุปสรรค คือ เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูง ทำให้ทิศทางลมของกระแสลมวนที่ไหลเวียนลงมาเปลี่ยนทิศทางไป โอกาสที่นำความหนาวเย็นจากขั้วโลก เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก

ดังนั้นอุณหภูมิที่ลดลงในระยะนี้ จึงไม่ได้มาจากอิทธิพลของกระแสลมวนขั้วโลก (Polar Vortex) ดังกล่าวแต่อย่างใด

กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจสังคม

รู้จัก Polar Vortex คืออะไร ปรากฎการณ์ขั้วโลก

ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Math Navanarisa

หญิงสาวผู้สนใจคอนเทนต์สายบันเทิง ดารา หนัง ซีรีส์ ไลฟ์สไตล์ ผู้หญิง อัปเดตเทรนด์ที่เป็นกระแสขณะนี้ด้วยเนื้อหาน่าสนใจ เข้าใจง่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button