ข่าวไลฟ์สไตล์

ระวัง April fool’s day เล่นยังไง โกหกแบบไหน เสี่ยงติดคุก ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

แชร์ข่าวปลอม ระวัง April fool’s day เล่นยังไง โกหกแบบไหน เสี่ยงติดคุก ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2565 เนื่องในโอกาสวันสำคัญ April Fool’s Day วันโกหก หรือ วันเมษาหน้าโง่ 1 เมษายน เล่นมุกแบบไหน หลอกอะไรดี ตัดต่อภาพหวย ลอตเตอรี่ อาจถูกดำเนินคดีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท

อีกทั้งเนื่องจากในวัน April fool’s day วันโกหก 1 เมษายน คนส่วนใหญ่มักจะเล่นมุกโกหก หลอกลวงหรือการแชร์ข่าวปลอมสารพัดออกมามากมาย ไม่ว่าจะเพื่อสร้างความสนุก หรือเพื่อขำขันตามเทศกาล แต่อย่างไรก็ตามอยากเตือนว่า การเล่นมุกโกหก หลอกลวงในวัน April fool’s day ก็สามารถเสี่ยงถูกดำเนินคดี ติดคุกตามความผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ได้เหมือนกัน ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบข่าวปลอมให้รอบคอบ ก่อนจะแชร์ มาเช็กกันก่อนว่า ความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีโทษ และเงื่อนไขอะไรบ้าง

ทหารรัสเซีย เดินทางออกจาก เชอร์โนบิล แล้ว หลังยึดไปตั้งแต่ต้นสงคราม | ข่าวโดย Thaiger

| รู้จัก April fool’s day แปลว่าอะไร พร้อมประวัติ

ก่อนจะไปเช็กข้อควรระวัง April fool’s day เล่นยังไง โกหกแบบไหน เสี่ยงติกคุก ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จะขอพาผู้อ่านไปทำความรู้จัก ประวัติของ April fool’s day วันโกหก 1 เมษายน แบบคร่าว ๆ กันนะครับ โดยประวัติของ April fool’s day วันโกหก มีที่มาจากการล้อเลียนคนที่ฉลองวันปีใหม่ในวันอื่น ๆ นอกเหนือจากวันที่ 1 มกราคม ใครฉลองวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน, 1 กุมภาพันธ์ หรือวันอื่น ๆ ก็จะถูกล้อเลียนนั่นเอง

| ระวัง April fool’s day เล่นยังไง ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ คิดให้รอบคอบก่อนจะหลอกอะไรดี

สำหรับวันที่ 1 เมษายน April fool’s day ถึงแม้ว่าจะเป็นวันโกหก หรือเมษาหน้าโง่ ซึ่งใคร ๆ มักจะปล่อยมุกตลก แกล้งหลอกคนอื่น หรือคิดว่าวันนี้จะหลอกอะไรดี บ้างก็ทำเป็นข่าวปลอมจริงจัง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การโกหกที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจผิดหรือเกิดความเสียหาย จัดอยู่เป็น ความผิดฐานนำเข้าข้อมูลเท็จ” ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ระบุว่า

ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา -มาตรา 14 (1)

ผู้โพสต์ข้อความที่จะมีความผิดตามมาตรา 14 (1) ต่อเมื่อสิ่งที่นำเสนอนั้นเป็น ‘ความเท็จ’ โดยมีเจตนา ‘ทุจริตหรือหลวงลวง’ ซึ่งข้อมูลนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน

ซึ่งแปลว่าหากเราต้องการจะแชร์หรือโพสต์อะไรบ้างอย่าง แล้วรับรู้หรือทราบแต่แรกแล้วว่า ข้อมูลที่เราแชร์หรือโพสต์นั้น ไม่เป็นความจริง อีกทั้งคำว่าคำว่า”โดยทุจริต” ก็ยังมีคำนิยามอยู่ในมาตรา 2 ของประมาวกฎหมายอาญา มีความหมายว่า”เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น”

หมายถึง หากข้อความที่แชร์หรือโพสต์ เป็นความจริง จึงจะไม่ถือว่าเป็นความผิดใด ๆ หรือหากว่าข้อความดังกล่าวเป็นเท็จ แต่ผู้โพสต์ไม่ได้แสดงความคิดเห็นที่มีเจตนาทุจริตแต่แรก ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดตาม ม. 14(1) เพราะขาดองค์ประกอบหลักในเรื่อง เจตนา

นอกจากนี้กฎหมายยังตีกรอบข้อกฎหมาย ไม่ให้ใช้ในลักษณะเดียวกันกับความผิดฐานหมิ่นประมาทอีกด้วยครับ

ตัวอย่างของการเล่นมุกยังไงในวัน April fool’s day เล่นมุกยังไง ให้ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เช่น นาย ก โพสต์ภาพตัดต่อว่าถูกหวยรางวัลที่ 1 แล้วมีคนเข้าใจผิดจนเกิดความเสียหาย หรือมีผู้ได้รับผลกระทบเสียหายจากการโพสต์ข้อมูลอันเป็นเท็จ แล้วไปแจ้งความเอาผิด ก็จะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1) แม้จะทำแค่เพียงแกล้งเล่นขำขัน แต่ก็อาจเข้าข่าย ความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ได้ด้วยเหมือนกันครับ

april fool's day เล่นยังไง พรบ คอมพิวเตอร์

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน – มาตรา 14(2)

แปลว่าข้อความหรือข้อมูลเป็น “ความเท็จ” อีกทั้งข้อมูลดังกล่าวยังส่งผลให้เกิดความเสียหาต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในทางสาธารณะ เศรษฐกิจ หรือจะต้องก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน จะถือว่าเป็นความผิดตาม มาตรา 14(2)

เล่นมุกยังไงในวัน April fool’s day เล่นมุกยังไง ให้ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เช่น นาย ข โกหก หรือปั่นราคาหุ้น จนเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างใหญ่หลวง หากมีเจตนาชัดเจน หรือมีผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ก็จะเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 14(2) แต่หากว่าการแสดงข้อมูลดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายตามที่อธิบายข้างต้น แม้เป็นความเท็จ ก็ไม่อาจเป็นความผิดได้ เนื่องจากขาดองค์ประกอบความผิด

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา – มาตรา 14(3)

เป็นความผิดที่ส่งผลต่อความั่นคงแห่งราชอาณาจักร (ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศไทย) มาตรา 107-135 หรือเป็นความผิดที่เกี่ยวกับการก่อการร้าย มาตรา 135/1-135/4 ตามประมวลกฎหมายอาญา

หรือกล่าวว่าเป็นการนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แล้วทำการเผยแพร่ แชร์ หรือโพสต์ข้อความดังกล่าว จนกระทบต่อความั่นคงต่อประเทศ เล่นมุกยังไงในวัน April fool’s day ให้ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เช่น นาย ค ได้อัปโหลดข้อมูลที่เป็นเท็จบนเว็บไซต์ของทางการ โดยตั้งใจให้เกิดความเข้าใจผิด ก็จะถือว่าเข้าข่ายตามความผิด มาตรา 14(3)

(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

หรือก็คือการเผยแพร่ข้อมูลที่เข้าข่ายลักษณะของการลามก อนาจาร และประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ จะถือว่าเป็นความผิด ตาม มาตรา 14(4)

ความผิดในลักษณะข้อนี้จะคล้ายกับข้อ (3) ยกตัวอย่างเช่น นาย ก โพสต์ภาพถ่ายลามก อนาจารของบุคคลอื่น แม้จะเป็นการกลั่นแกล้งขบขัน แต่ก็จัดเป็นข้อมูลที่มีลักษณะลามก อนาจาร ที่ประชาชนทั่วไปยังสามารถเข้าถึงได้ จะมีความผิดตาม มาตรา 14(4)

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

สำหรับข้อนี้จะเป็นการกล่าวรวมถึงเงื่อนไขทั้งหมดที่ระบุมาว่า เล่นมุก April fool’s day ยังไง ให้ผิด พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ จะต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ

  1. เผยแพร่ แชร์ หรือโพสต์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
  2. ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

พร้อมกับพิสูจน์เจตนาของผู้โพสต์ข้อมูลอันเป็นเท็จ หากเข้าข่ายตามนี้ทั้งหมด ก็จะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นั่นเอง เช่น นาย ง โพสต์ภาพตัดต่อหวยว่าถูกระวังใหญ่ในงวดของวันที่ 1 เมษายน (เผยแพร่ ) ซึ่งทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ พร้อมกับเจตนาที่จะหลอกลวงผู้อื่นว่าได้รับเงินรางวัลใหญ่ จนเกิดความเข้าใจผิด และเสียหาเป็นวงกว้าง (อาจเข้าข่ายความผิด ม. 14(1)

| ตัวอย่างข้อควรระวัง April fool’s day เล่นยังไง โกหกแบบไหน หลอกอะไรบ้าง เสี่ยงติกคุก ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ บ้าง

สำหรับวัน April fool’s day วันโกหก 1 เมษายน หรือวันเมษาหน้าโง่ มีหลายคนที่กำลังคิดว่าจะเล่นมุกยังไง หลอกอะไร โกหกแบบไหนกันบ้าง หรือหนักกว่าคือลงทุนทำเป็นข่าวปลอม ซึ่งอาจเสี่ยงติดคุก หรือถูกดำเนินคดีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ได้เลยนะครับ มาดูตัวอย่างกันว่าจะมีมุกแบบไหนที่ไม่ควรเล่นในวันนี้

april fool's day เล่นยังไง พรบ คอม หวย

วัน April’s fool day – โพสต์ภาพตัดต่อถูกหวย ลอตเตอรี่ รางวัลที่ 1 แล้วเกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลเสียต่อผู้อื่น ถ้ามีเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย หรือมีผู้อื่นที่ได้รับผลกระทบเสียหายจากการโกหกครั้งนี้ ก็เสี่ยงอาจโดนเรียกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ได้เหมือนกันครับ

หรือโกหกเลขรางวัลหวยงวดนี้ เนื่องในวัน April fool’s day 1 เมษายน 2565 จนทำให้คนในสังคมเดือดร้อนกันเป็นวงกว้าง ก็เข้าข่ายความผิดตามาม พ.ร.บ คอมพิวเตอร์

แม้ว่าจะเป็นวันโกหก แต่เมื่อปี พ.ศ. 2564 ตำรวจประเทศไทยได้แจ้งเตือนว่าการโพสต์ และแบ่งปันข่าวปลอม (Fake News) บนสื่อสังคมถือเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ดังนั้นก่อนจะเล่นมุกหรือหลอกอะไร ก็ควรคิดดี ๆ ไตร่ตรองให้รอบคอบกันด้วยนะครับ สุขสันต์วัน April fool’s day วันโกหก เมษาหน้าโง่ 1 เมษายน ครับผม ?

อ้างอิงจาก : 1 2

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button