ข่าวข่าวภูมิภาคไลฟ์สไตล์

1 เมษายน วันโกหก April Fool’s Day คืออะไร เช็คประวัติที่มา

1 เมษายน วันโกหก หรือ วันเมษาหน้าโง่ ชื่อภาษาอังกฤษ April Fool’s Day (ชื่อภาษาจีน 愚人节) ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาล วันสำคัญ สุดแปลก ที่หลาย ๆ ประเทศให้ความสำคัญ ไขข้อสงสัย วันโกหก คืออะไร ทำไมต้องหลอกลวงในวันนี้ เตรียมเข้าเช็ก ประวัติวันโกหก April Fool’s Day พร้อมที่มาที่ไปสุดแปลกประหลาดที่หลายคนอาจไม่เคยรู้

| April Foo’s Day ประวัติ

วันโกหก คืออะไร ทำไมต้องโกหกใส่กัน?

1 เมษายน วันโกหก คืออะไร ทำไมต้องหลอกลวงใส่กัน ทีมงาน The Thaiger ประเทศไทย จะขอพาผู้อ่านทุกท่าน ไปเช็กประวัติของวันนี้ว่า April’s Fool Day แปลว่าอะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

ย้อนกลับไปในช่วงเทศกาลฮิลาเรียของอาณาจักรโรมัน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม ของทุกปี และเทศกาลคนโง่ในยุคกลาง จัดขึ้นในวันที่ 28 ธันวาคม

เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นในตำนาน ตำนานแคนเตอร์บรี ของชอเซอร์ (The Canterbury Tales) เรื่องแม่ชีของพระ (Nun’s Priest’s Tale) กับประโยค “Syn March bigan thritty dayes and two”

โดยนักวิชาการในปัจจุบันตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีความผิดพลาดในการทำสำเนาเอกสารเขียนต้นฉบับ และในความเป็นจริงแล้วชอเซอร์เขียนว่า “Syn March was gon”

วลีนี้จึงหมายถึง 32 วันหลังเดือนเมษายน คือ 2 พฤษภาคม หรือก็คือ วันครบรอบการหมั้นระหว่าง พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ กับ แอนน์แห่งโบฮีเมีย สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ อันเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1564

ทว่าผู้อ่านกลับเข้าใจความหมายผิดเพี้ยนไป โดยเข้าใจว่าหมายถึง 32 มีนาคม หรือที่ถูกต้องก็คือ วันที่ 1 เมษายน นั่นเอง

1 เมษายน วันโกหก 2565

| ประวัติ April Foo’s Day

วันโกหก คืออะไร ในสมัยกลาง ?

วันโกหกคืออะไรในสมัยกลาง จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ทุกวันที่ 25 มีนาคมในยุโรปส่วนมาก จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ อีกทั้งในบางท้องที่ของประเทศฝรั่งเศสยังเป็นวันหยุดยาวนานถึง 1 อาทิตย์ และมักจะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 เมษายน

วันที่ 1 เมษายน วันโกหก กำเนิดมาจากการล้อผู้ที่เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันอื่น หรือกล่าวว่า เป็นการล้อเลียนคนที่ฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันอื่น ๆ นอกเหนือจากวันที่ 1 มกราคม ใครฉลองวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน, 1 กุมภาพันธ์ หรือวันอื่น ๆ ก็จะถูกล้อเลียนนั่นเอง

แม้ที่มาอาจดูคลุมเครือไม่ชัดเจน แต่ประเพณีเหล่านี้ก็ได้ตกทอดมาสู่ยุคปัจจุบันกลายเป็นเทศกาลประจำปีซึ่งเป็นที่นิยมทั่วโลก และมักปรากฎอยู่บนหลายสื่ออีกด้วย

ถึงจะเป็นวันโกหก แต่เมื่อปี พ.ศ. 2564 ตำรวจประเทศไทยได้แจ้งเตือนว่าการโพสต์ และแบ่งปันข่าวปลอม (Fake News) บนสื่อสังคมถือเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

อ้างอิงจาก : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button