อย่าลืม! ยื่นภาษี เงินได้ปี 2564 หมดเขตวันไหน ? ดูที่นี่
ยื่นภาษี เงินได้ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด. 91 ประจำปี 2564 ภายในเวลาที่กำหนด แบบกระดาษกับแบบออนไลน์ ตรวจสอบเลยทำได้ถึงวันไหน
หมดเขตยื่นภาษี 2564 วันไหน ? อัปเดตล่าสุด วันนี้ (28 มี.ค.65) สรุปวิธี ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด. 91 ประจำปี 2564 ภายในเวลาที่กำหนด โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ กรมสรรพากร สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
– แบบกระดาษ 31 มี.ค.2565 เป็นวันสิ้นสุด
– ทางอินเทอร์เน็ต ยื่นภาษี 2564 ออนไลน์ ได้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 2565 เป็นวันสิ้นสุด
ขอเชิญชวนผู้ที่ยังไม่ได้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปีภาษี 2564 ยื่นแบบฯ ตามกำหนดเวลาดังกล่าว เพื่อลดภาระค่าปรับและเงินเพิ่ม
ทั้งนี้ หากยื่นภาษีไม่ทันจนเลยวัน หมดเขตยื่นภาษี 2564 ของทั้งสองช่องทางจะมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท และต้องเสียเบี้ยปรับสูงสุด 2 เท่า ของภาษีที่ต้องชำระ อีกทั้งยังต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่ายนับจากวันที่เกินกำหนดชำระ แถม ถ้ามีเศษวันก็จะปัดเป็น 1 เดือนด้วย สมมติเลยกำหนดมา 3 เดือน 2 วัน ก็จะคิดเป็น 4 เดือน กันเลยทีเดียว
วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2564 ทำอย่างไร ดูที่นี่
ขั้นตอนการลงทะเบียนระบบ E-Filing สำหรับยื่นภาษีปี 2564
หากใครไม่มีบัญชีผู้ใช้งานของเว็บไซต์กรมสรรพากรมาก่อน ก็มาเริ่มต้นลงทะเบียนไปพร้อม ๆ กัน แต่สำหรับใครที่มีข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเข้าสู่ระบบ และข้ามไปหัวข้อถัดไปได้เลยค่ะ
1. เปิดเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเพื่อสมัครสมาชิก >>E-FILING<<
2. จากนั้นเลือก ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3. กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ วันเดือนปีเกิด และเลขหลังบัตรประชาชน จากนั้นกด ตรวจสอบ
4. กรอกข้อมูลที่อยู่ พร้อมเลือกวิธีที่จะใช้ยืนยันตัวตน สามารถเลือกได้ระหว่างโทรศัพท์มือถือและอีเมล
5. หากเลือกยืนยันตัวตนผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ ให้กรอกรหัส OTP ที่ได้รับภายใน 5 นาที
6. กำหนดคำถามสำหรับใช้ในการยืนยัน กรณีหากลืมรหัสผ่าน
7. กดยืนยันการลงทะเบียน
วิธียื่นภาษี 2564 ผ่านระบบ ออนไลน์ E-Filing
- เข้าสู่ระบบ E-Filing เว็บไซต์กรมสรรพากร >>efiling.rd.go.th<< หากยังไม่ได้สมัครสมาชิกให้ทำการลงทะเบียนก่อน โดยให้กด ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91
- กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี ได้แก่ สถานะ กิจการส่วนตัว (ถ้ามี)
- กรอกข้อมูลเงินได้ ได้แก่ เงินเดือน ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ ควรกรอกให้ครบนะคะ เพื่อประโยชน์ของตัวตคุณเอง
- กรอกค่าลดหย่อน ซึ่งจะมีทั้งหมด 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการขอทุนและการลงทุน ค่าลดหย่อน/ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายภาครัฐ เงินบริจาค
- ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
- กด “ยืนยัน” การยื่นแบบ