สาวเจอผลตรวจโควิด ATK อึ้งกว่าติดเชื้อ ตอนชุดตรวจขึ้น 4 ขีด
สาวสุดงง ตรวจหาเชื้อโควิดด้วยจชุดตรวจ ATK แต่แสดงผล ขึ้น 4 ขีด ทำเจ้าตัวสงสัยสายพันธุ์อะไรแน่ หรือเกิดความผิดพลาดขึ้นที่ตรงไหน
เมื่อคุณสู้โควิด แต่กลับถูกโควิดสู้กลับ เรื่องราวของสาวคนหนึ่งวันนี้ (17 มี.ค.65) ซึ่งสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงจะติดเชื้อโควิด19 จึงได้ทำการไปซื้อชุดตรวจ Antigen Test Kit หรือ ชุดตรวจโควิด ATK มาเพื่อทำการทดสอบหาเชื้อไวรัส
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่ทำเอาคนตรวจหาเชื้อต้องอึ้งก็เพราะ หลังจากทำการทดสอบไปแล้ว ปรากฏ ผลที่แสดงออกมาทำให้เกิดความสงสัย เพราะว่าขึ้นถึง 4 ขีด เจ้าตัวจึงนำมาโพสต์เอาไว้ พร้อมกับเขียนแคปชั่นว่า “ยังไงหนอ เดลตา-โอมิครอน หรือว่าสายพันธุ์ไหนอีก ?”
ทั้งนี้ ปกติแล้วการตรวจหาเชื้่อด้วยชุดตรวจ ATK หากขึ้น 1 ขีด หมายความว่า “ไม่พบเชื้อ” กรณีขึ้น 2 ขีด หมายถึง “ตรวจพบเชื้อ” แต่กับการทดสอบหาเชื้อเที่ยวนี้ที่ชุดตรวจ ATK เจ้ากรรมดันแสดงผลถึง 4 ขีด ก็ทำเอาตัวของคนที่ทำการตรวจเองและชาวเน็ตที่ทราบเรื่องราวดังกล่าว ต่างก็พากันสงสัยถึงสาเหตุที่แท้จริง ว่าเพราะอะไรชุดตรวจจึงแสดงผลอออกมาเช่นนี้
ขณะเดียวกัน อ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าว ไทยรัฐ ระบุ เบื้องต้นเจ้าของโพสต์ยังไม่ได้มาตอบกลับว่า ไปตรวจหาเชื้อซ้ำหรือยัง แต่คาดว่า น่าจะเป็นเพราะความคลาดเคลื่อนของชุดตรวจ
ล่าสุดวันนี้ 18 มี.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท SaintMed ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่าย ATK ที่ปรากฎในข่าวแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ได้ออกหนังสื่อชี้แจงต่อประเด็น ATK 4 ขีดว่า ไม่มีโอกาสที่ชุดตรวจ ATK จะขึ้น 4 ขีดได้ ความว่า
“ตามที่มีข่าวปรากฏในหนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และเพจเฟสบุ๊กต่างๆ ระบุว่า ATK ยี่ห้อ Baicare มีการแสดงผลตรวจขึ้น 4 ขีด ไม่ทราบแน่ชัดว่า ผลบวก ผลลบ Error ไม่สามารถแปรผลได้
หรือผลบวกสองสายพันธ์เดลต้าผสมโอมิครอน ความทราบทั่วถึงกันในสาธารณะดังกล่าวจนเป็นที่สงสัยกัน ในวงกว้าง
บริษัทฯ ในฐานะตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 แบบเร่งด่วน (ATK) ยี่ห้อ Baicare จากผู้ผลิต Baicare (Tianjin) Biotechnology Co., Ltd. China ขอเรียนให้ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านทราบว่า โดยทางคลินิกวิทยา เคมิคอลและเทคนิคคอลแล้ว ATK ยี่ห้อ Baicare จะไม่สามารถปรากฎ 4 ขีด ตามที่มีข่าวเผยแพร่กันในวงกว้างได้เลย บริษัทฯ จึงขอความอนุเคราะห์ให้สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ เจ้าของเพจเฟสบุ๊กต่างๆ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ได้ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลข่าวที่นำเสนอออกไปให้ถูกต้องอีกครั้ง
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และโปรดดำเนินการตรวจสอบ รวมถึงขอความอนุเคราะห์แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
ดร.วิโรจน์ วสุศุทธิกุลกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซนต์เมด จำกัด (มหาชน)”