ข่าว

อาจารย์เจษฎ์ สยบข่าวลือ ATK ตรวจโควิดไม่ได้ เพราะความเป็นกรด-ด่าง

สยบเฟกนิวส์ “อาจารย์เจษฎ์” เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อธิบายอีกรอบหลังโลกออนไลน์พากันแชร์ข้อมูลชุดตรวจโควิด ATK ตรวจโควิดไม่ได้เพราะร่างกายเป็นกรด

วันนี้ (25 ก.พ.65) “อาจารย์เจษฎ์” เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับชุดตรวจหาโควิด ATK ที่ก่อนหน้านี้กลับมามีการแชร์ข้อมูลกันบนโลกออนไลน์ว่าไม่สามารถตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ เพราะความเชื่อว่า ปกติร่างกายเรามีความเป็นกรด ทำให้เวลาตรวจด้วยชุด ATK จะให้ได้ผลเป็นบวกเสมอ

ประเด็นนี้อาจารย์ม.ดัง ออกมาแจงผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ วันนี้ (25 ก.พ.65) โดยระบุว่า “ยังมีการแชร์อยู่เรื่อยๆ เรื่องที่บอกว่า “ชุดตรวจ ATK ไม่สามารถใช้ตรวจหาโรค covid ได้จริง เพราะมันความเป็นกรดด่าง ไม่ได้หาเชื้อไวรัส” !? ซึ่งไม่จริงนะครับ !! เขียนโพสต์เตือนเรื่องมั่วนี้ไปหลายทีแล้ว … มันเป็นผลจากการที่เอาไปใช้ผิดประเภท ทำให้ชุดตรวจรายงานผลผิดพลาดไปด้วย ควรใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำในคู่มือนะครับ”

อาจารย์เจษฎ์ ได้ยกเนื้อหาเก่าที่เคยอธิบายไว้มาชี้แจงเพิ่มว่า “กลุ่มต่อต้านวัคซีนโรคโควิด พยายามจะบอกว่าชุดตรวจ ATK ใช้ไม่ได้ผลจริง เพราะมีค่าเทียบเท่ากับแค่กระดาษลิตมัส วัดค่า pH กรดด่าง เท่านั้น โดยเขาทดลองเอาไปจิ้มกับส้ม (ซึ่งเป็นกรด) แล้วได้ผลเป็นบวก และเอาไปจิ้มกับสบู่ (ซึ่งเป็นด่าง) ก็ได้ผลเป็นลบ ?!”

“คนกลุ่มนั้น มีความเชื่อว่า ปกติร่างกายเรามีความเป็นกรด ทำให้เวลาตรวจด้วยชุด ATK จะให้ได้ผลเป็นบวกเสมอ !? ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่เรื่องจริงนะครับ ! เป็นความมั่วที่เกิดจากการเอาชุด ATK ไปใช้แบบผิด ๆ ไม่ทำตามวิธีในคู่มือที่เขากำหนดมา”

“เรื่องนี้ก็ปัญหาเดียวกันกับที่เอาชุด ATK ไปใช้กับน้ำประปา หรือน้ำโคล่า ซึ่งมีความเป็นกรด เลยทำให้ผลที่ออกมามันผิดพลาด เกิด ผลบวกปลอม (false positive) ขึ้น (ดูโพสต์เก่าที่เคยเขียนอธิบายไว้ https://www.facebook.com/219186678564393/posts/1306122003204183/)”

“การใช้ชุดตรวจโควิดแบบ ATK นี้ให้ถูกต้อง จะต้องเก็บตัวอย่างเชื้อ ไปผสมกับหลอดน้ำยา ซึ่งเป็นสารละลายบัฟเฟอร์ buffer ที่ช่วยควบคุมค่าพีเอช pH (ค่าความเป็นกรดด่าง) ไว้อย่างเหมาะสม การเอาไปตรวจกับของเหลวอื่น ที่มีความเป็นกรด ก็จะทำให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของชุดตรวจผิดไป สีอินดิเคเตอร์ของพีเอช ที่แถบแสดงผล ก็อาจจะติดสีขึ้นมา และกลายเป็นผลบวกปลอมขึ้นมาได้”

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button