เนื่องในโอกาส วันสตรีสากล ในวันที่ 8 มีนาคม ทาง The Thaiger จึงขอเป็นส่วนถึงในการในความรู้เกี่ยวกับ พฤติกรรมคุกคามทางเพศ ที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้ทุกคนได้รู้เท่าทันเและคอยช่วยกันเป็นหูเป็นตาในการหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อสังคมที่ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงเตือนให้ผู้คนมีความระมัดระวังเพราะ พฤติกรรมที่ไม่คิดว่าเป็นการคุกคามของคุณ ก็อาจจะกลายเป็นมุมมองการถูกคุกคามของผู้อื่นก็เป็นได้
พฤติกรรมคุกคามทางเพศ คืออะไร ?
สำหรับความหมายของการคุกคามทางเพศนั้น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า Sexual Harassment ซึ่งมีความในเชิงพฤติกรรมที่ส่อแววในการมีเจตนาไม่ดีต่อตรงข้าม โดยไม่ได้รับการยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งนั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชายก็อาจจะโดนคุกคามทางเพศได้ไม่ต่างกัน โดยการคุกคามทางเพศนั้น ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็น เพศชาย กระทำต่อ เพศหญิง หรือ เพศหญิง กระทำต่อ เพศชาย เพราะในสังคมปัจจุบัน มีการยอมรับในความหลากหลายทางเพศที่มากขึ้น ทำให้ทุกเพสมีโอกาสโดนกระทำการคุกคามได้ไม่ต่างกัน
การคุกคามทางเพศ แบ่งได้กี่ประเภท ?
โดยพื้นฐานแล้วพฤติกรรมใดที่ผู้โดนกระทำไม่ได้มีความยินยอม ก็จะถือเป็นพฤติกรรมคุกคามทางเพศทั้งหมด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัด ได้ 3 รูปแบบหลัก ๆ ดังนี้
- การแสดงออกด้วยวาจา (Verbal Conduct)
เป็นการกระทำที่ใช้วาจาทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้รับความอับอาย หรือรู้สึกเป็นกังวลโดยมีเรื่องที่ส่อเสียดไปในทางเพศ ตัวอย่างเช่น การพูดจาล่วงเกิน การพูดถึงเรื่องตลกเกี่ยวกับเพศ คำพูดในทางลามกที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย เป็นต้น
- การคุมคามทางเพศด้วยท่าทาง (Visual Conduct)
การใช้กิริยาและท่าทางที่ดูไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อรู้สึกถูกคุกคาม เช่น การใช้สายตาแทะโลม หรือการเพ่งสายตาไปยังอวัยวะใด ๆ โดยเกินความจำเป็นโดยผู้ที่ถูกจ้องมองไม่ยินยอม
- การใช้ช่องทางการสื่อสารในเชิงอนาจาร (Written Conduct)
ในยุคโลกาภิวัตน์ยุคที่ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ ถูกผูกติดอยู่กับข้อมูลภายในโทรศัพท์ การแอบถ่ายภาพของผู้อื่น การเปิดคลิปอนาจาร รวมถึงการส่งของลับ และ การBlackmail (กระทำการปล่อยภาพที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย) จึงเป็นวิธีการที่คุกคามและล่วงละเมิดทางเพศที่ร้ายแรงเป็นอย่างยิ่ง
- การสัมผัสทางกาย (Physical Conduct)
การใกล้ชิดฝ่ายตรงข้ามมากเกินไปโดยไม่จำเป็น และการสัมผัสร่างกายโดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอมก็ถือเป็น พฤติกรรมคุกคามทางเพศ ที่เลวร้ายและรุนแรงไม่ต่างกับพฤติกรรมอื่น ๆ ที่กล่าวถึงในข้างต้นเลย
ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากการถูกคุกคามทางเพศ
คำตอบง่าย ๆ แต่แนวทางในการปฏิบัติกลับต้องใช้ ทั้งความกล้าหาญ และจิตใจที่มั่นคงพอสมควรเพราะ หากเกิดเหตุการณ์การล่วงละเมิดเช่นนี้เกิดขึ้นในอดีตนั้นคนที่ถูกสังคมวิจารณ์ส่วนใหญ่กลับกลายเป็นผู้ถูกกระทำแทนที่จะกลายเป็นผู้กระทำผิดที่สมควรได้รับการลงโทษจากสังคมและควรที่จะสำนึกในการกระทำของตน กลับกลายเป็น “เหยื่อ” ที่ต้องอับอายจากกระแสสังคมที่บอกว่า ทำไมไม่รู้จักระวังตัวเอง หรือการตั้งคำถามว่าเป็นฝ่ายที่เริ่มยั่วเพศก่อนหรือไม่ และน่าแปลกที่ความคิดทั้งหมดนี้ก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบันตามสื่อต่าง ๆ
เราจะสามารถหยุดพฤติกรรมคุกคามทางเพศได้อย่างไร ?
3 สิ่งที่ควรกระทำหากโดน พฤติกรรมคุกคามทางเพศ คือ การแสดงออก การส่งเสียงเรียกให้ผู้อื่นช่วยเหลือและรับรู้ และหากในกรณีที่ผู้ล่วงละเมิดนั้นยังไม่หยุดก็สามารถนำโทรศัพท์มือถือหรือกล้องวีดิโอขึ้นมาบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานได้ ซึ่งแม้ว่าเราจะไม่ใช่คนที่กำลังโดนคุกคามทางเพศก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อปัญหาเหล่านี้ เพื่อร่วมมือกันทำให้สังคมที่ความเท่าเทียมและน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
อ้างอิงจาก : 1
เรื่อง : พฤฒ พงษ์พิเชฐ
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญกุล
? ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน The Thaiger