ข่าวภูมิภาค

กรมทางหลวงชนบท รายงานความคืบหน้าโครงการ สะพานเชื่อมเกาะลันตา กระบี่

กรมทางหลวงชนบท รายงานความคืบหน้าโครงการ สะพานเชื่อมเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมอย่างบูรณาการ

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม รายงานความคืบหน้าโครงการ สะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลาง – ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเดินทางให้กับประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่สัญจรไปมาระหว่างเกาะลันตากับแผ่นดินใหญ่ให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย เป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่งให้มีความสมบูรณ์

Advertisements

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า ทช. ได้ดำเนินการสำรวจออกแบบโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ของสำนักนโยบายและเเผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และอยู่ระหว่างการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งในปี 2566 ได้จัดทำคำขอภายในกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อเตรียมเสนอของบประมาณ จำนวน 1,854 ล้านบาท โดยจะใช้เงินกู้และงบสมทบจากงบประมาณประจำปี

ทั้งนี้ คาดว่าโครงการดังกล่าวจะเริ่มก่อสร้างประมาณปี 2566 และคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2568 ซึ่งจะสามารถเปิดให้ใช้บริการได้ในปี 2569 ต่อไปเนื่องจากเกาะลันตาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของจังหวัดกระบี่ โดยในปี 2561 มีปริมาณนักท่องเที่ยวเดินทางมาที่เกาะลันตามากกว่า 2 ล้านคนต่อปี แต่การเดินทางข้ามฝั่งจากแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะลันตาต้องใช้แพขนานยนต์ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเดินทางนาน มีข้อจำกัด ด้านการบรรทุกและช่วงเวลาการให้บริการ

ทช. จึงได้ดำเนินโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลาง – ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เพื่อช่วยร่นระยะทางและลดระยะเวลาการเดินทาง โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดหรือเทศกาลจะใช้เวลาเพียง 2 นาที จากเดิม 2 ชั่วโมง รวมทั้งสามารถอพยพประชาชนได้อย่างรวดเร็วกรณีเกิดภัยพิบัติ โดยแนวเส้นทางโครงการจะเริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4206 (กม. ที่ 26+620) ตำบลเกาะกลาง ไปบรรจบกับทางหลวงชนบทสาย กบ.5035 ตำบลเกาะลันตาน้อย ระยะทางรวม 2,240 เมตร ซึ่งก่อสร้างสะพานเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างสะพานคานขึง (Extradosed Bridge) และสะพานคานยื่น (Balanced Cantilever Bridge) ความยาวสะพาน 1,825 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ช่องละ 3.75 เมตร ไหล่ทาง ข้างละ 2.5 เมตร พร้อมถนนต่อเชื่อมทั้งสองฝั่งรวมระยะทาง 415 เมตร

 

แหล่งที่มาของข่าว : รัฐบาลไทย

Advertisements

สามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเศรษฐกิจ

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button