‘โรคขี้เต็มท้อง’ ที่ ‘ตุ๊กตา จมาพร’ เป็น คืออะไร อาการเบื้องต้น-สาเหตุเกิดมาจากอะไร ? พร้อมเผยวิธีฝึกพฤติกรรมการขับถ่ายที่ถูกสุขลักษณะ
จากกรณีข่าวของนักร้องสาว ‘ตุ๊กตา จมาพร แสงทอง‘ เล่าประสบการณ์ป่วยเป็น ‘โรคขี้เต็มท้อง‘ เผย เบื้องต้นเธอมีอาการลมมามาก เวียนหัว-คลื่นไส้-อาเจียนทุกวัน หนักจนถึงขั้นต้องเดินทางไปพบแพทย์
สาเหตุ: เกิดมาจากพฤติกรรมการอั้นอุจจาระ และมีการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยสังเกตได้เมื่อเบ่งอุจจาระออกแล้วหน้าท้องแฟ่บ หรือหายใจออกแล้วหน้าท้องแฟ่บ ให้สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นการนั่งถ่ายที่ผิด
อาการ: เบื้องต้นจะเริ่มมีอาการแน่นท้อง ผายลมเปรี้ยว-เรอเปรี้ยวตลอดทั้งวัน เวียนหัว-คลื่นไส้-อาเจียน อาการคล้ายโรคกระเพาะ ทานข้าวได้น้อยลง อ่อนเพลีย ปวดเนื้อเมื่อยตัว นอนไม่ค่อยหลับ
แนวทางการรักษา: หากมีอาการข้างต้นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียในระยะยาว โดนส่วนมากแพทย์จะจ่ายยาระบายมาให้ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อลำไส้ เพื่อให้ร่างกายขับอุจจาระออกมาให้ได้มากที่สุดและ ไม่แนะนำให้ซื้อยาทานเองโดยเด็ดขาด เพราะยาระบายอาจทำให้มีอาการหนักกว่าเดิม
พฤติกรรมการขับถ่ายที่ถูกสุขลักษณะ
1. ฝึกถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอและเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายและลำไส้เคยชินกับการขับถ่าย เวลาขับถ่ายที่เชื่อว่าดีที่สุด คือ ตอนเช้าเวลา 5.00 – 7.00 น. หรือหลังอาหารเช้า แต่ถ้าไม่สะดวกในช่วงเวลานี้ อย่างน้อยพยายามหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สามารถขับถ่ายได้อย่างเป็นเวลา สม่ำเสมอทุกวัน ควรให้เวลากับการถ่ายอุจจาระอย่างเพียงพอ ไม่เร่งรีบ
2. ดื่มน้ำ 1 แก้วใหญ่ ในตอนเช้าหลังตื่นนอน โดยแนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำปกติ ไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะน้ำอุ่นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และจะช่วยกระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนตัวได้ดี ไล่ของเสียในลำไส้ลงมาทำให้ขับถ่ายได้สะดวก
3. อย่ากลั้นอุจจาระ ถ้ารู้สึกปวดก็ควรรีบเข้าห้องน้ำและขับถ่ายทันที เพราะบางคนเมื่อกลั้นอุจจาระไว้ กว่าร่างกายจะส่งสัญญาณกระตุ้นให้ขับถ่ายอีกครั้งอาจจะผิดเวลาไปแล้ว หรือบางคนอาจจะไม่รู้ปวดหรืออยากขับถ่ายอีกเลยตลอดทั้งวัน และการกลั้นอุจจาระอาจทำให้ลำไส้บีบอุจจาระกลับขึ้นไปที่ลำไส้ อาจทำให้มีอุจจาระที่คั่งค้างที่ผนังลำไส้ได้ ในทางกลับกัน
ขณะที่เข้าห้องน้ำกำลังขับถ่าย ถ้ายังไม่ปวดอย่าพึ่งเบ่งอุจจาระ เพราะร่างกายจะมีสมดุลการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ ควรรอจังหวะที่ปวดแล้วค่อยเบ่งอุจจาระ เพราะการเบ่งอุจจาระแรงๆ ขณะที่ไม่ปวดจะเหมือนเป็นการกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ ทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ หากทำบ่อยๆ อาจทำให้ลำไส้โป่งพองเกิดริดสีดวงทวารตามมาได้
4. นวดลำไส้ ถ้าในเด็กให้นวดรอบสะดือ ในผู้ใหญ่ให้นวดตรงท้องด้านล่างซ้ายเลยสะดือไป นวดเบา ๆ โดยค่อยๆ นวดดันลงไปข้างล่าง แล้วทิ้งไว้สักพักจะรู้สึกปวดถ่ายขึ้นมา
5. นั่งถ่ายอย่างถูกวิธี จริง ๆ แล้วท่านั่งที่เหมาะกับการขับถ่ายมากที่สุด คือ นั่งยอง ๆ เพราะจะมีแรงกดจากหน้าขาช่วยให้ขับถ่ายได้คล่องที่สุด แต่ปัจจุบัน ห้องน้ำส่วนใหญ่เป็นชักโครกสำหรับนั่งซึ่งทำให้มีแรงเบ่งอุจจาระที่น้อยกว่า ดังนั้นควรมีท่านั่งที่ถูกต้องช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น ท่าถ่ายอุจจาระที่เหมาะสม คือ
โค้งตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ถ้าเป็นเด็กและเท้าเหยียบไม่ถึงพื้น ควรมีที่รองเท้าให้เด็ก เพื่อให้ออกแรงเบ่งอุจจาระได้ดีขึ้น คนที่ขับถ่ายยาก ขณะขับถ่ายอาจใช้มือกดท้องด้านซ้ายล่างก็จะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น
ที่มา: a:care