ข่าวข่าวภูมิภาค

เครียด! NeoCov ไวรัสใหม่ อาจอันตรายกว่าโควิด

ทั่วโลกจับตาหลังนักวิทยาศาสตร์จีนเผยแพร่เอกสารพบไวรัส NeoCov ไวรัสตัวใหม่ที่อาจจะอันตรายกว่าโรคโควิด-19 ถึง 3 เท่า

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผ่านเว็ปไซต์ Blockdit เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ที่ชื่อว่า NeoCov โดยระบุว่า พบโคโรนาไรวัสชนิดใหม่ (NeoCoV) เข้าเซลล์มนุษย์ได้ ลักษณะคล้ายไวรัสก่อโรค MERS ซึ่งรุนแรงกว่า SARS 3 เท่าตัว

Advertisements

โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ออกมาเผยแพร่เอกสารที่ระบุว่าพบไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ หรือ NeoCov ภายในค้างคาวในแอฟริกาใต้ พร้อม ระบุว่า NeoCov สามารถแพร่เชื้อในคนได้ และ สามารถแทรกซึมเข้าไปในเซลล์มนุษย์ได้

นพ.เฉลิมชัยเผย สาเหตุที่การค้นพบครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นที่ตื่นเต้นกันมาก ตลอดจนมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่จะทำให้เกิดผลกระทบกับมนุษยชาติอย่างไร

ความน่าเป็นห่วงก็คือ ไวรัสที่อยู่ในค้างคาวอาจจะไม่ก่อโรคในมนุษย์ ถ้าไม่สามารถจับและเข้าไปในเซลล์มนุษย์ได้ แต่ไวรัสใหม่ที่ค้นพบนี้บังเอิญสามารถจับกับหน่วยรับ ACE-2 แล้วเข้าเซลล์ร่างกายมนุษย์ได้ จึงมีความกังวลว่า ไวรัสใหม่นี้อาจจะก่อโรคแบบโควิด-19 แต่อาจจะรุนแรงกว่า

อย่างไรก็ตาม นพ.เฉลิมชัยกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวนี้ยังมีความไม่แน่นอนส่วนหนึ่ง ที่จำเป็นจะต้องศึกษาค้นคว้ากันอย่างเร่งรีบ ซึ่งองค์การอนามัยโลก ได้ร่วมกับหน่วยงานระดับโลกอีกหลายหน่วยงาน เช่น องค์การระดับโลกเรื่องสุขภาพสัตว์ องค์การอาหารและเกษตรโลก ตลอดจนโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ เพื่อที่จะรีบหาข้อมูล และสรุปให้ได้โดยเร็วที่สุดว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ มีโอกาสก่อโรคโควิดในมนุษย์มากน้อยเพียงใด

ทั้งนี้สำนักข่าว อินดิเพนเดนท์ ได้รายงานว่า NeoCoV ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2555 และ 2558 ในประเทศตะวันออกกลาง

Advertisements

 

 

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button