ภาษีคริปโต 2565 สรุปคำถามและข้อสงสัย คำนวนภาษีอย่างไร
ภาษีคริปโต 2565 อัปเดตล่าสุด รวมเรื่องควรรู้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัล คำนวณภาษีอย่างไร บวกลบ กำไร-ขาดทุน จากการเทรดแบบไหน และมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามอะไรบ้าง สรุปแบบสั้น ๆ ให้ได้เข้าใจประเด็นสำคัญ
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ กรมสรรพากร ได้ประกาศเรียกเก็บภาษีคริปโต โดยให้เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ก็กลายเป็นประเด็นหลักให้กับเหล่านักลงทุนทั้งหน้าใหม่และมือเก๋า ที่ต้องมานั่งวุ่นศึกษาการเสียภาษีคริปโตกันใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าคุณจะจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนเหรียญคริปโต, ขุดเหรียญคริปโต หรือใช่จ่ายสินค้า บริการต่าง ๆ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ถึงขั้นตอนการเสียภาษีด้วยเหมือนกัน มาดูกันว่าจะมีหัวข้อสำคัญอย่างไรบ้าง ที่นักลงทุนทุกท่านควรรู้ ถ้าพร้อมแล้วก็เข้ามาอ่านในนี้กันได้เลย
ภาษีคริปโต 2565 สรุปคำถามและข้อกังขา กิจกรรมแบบไหน หรือใครบ้างที่ต้องเสียภาษี
Q: คริปโทเคอร์เรนซี ต้องเสียภาษีประเภทใดบ้าง
A: คำตอบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด90 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเงินได้ตามมาตรา 40(4) (ฌ) กับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15 เปอร์เซ็นต์ ตามมาตรา 50 (ฉ)
Q: ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีคริปโต
A: คำตอบ ผู้มีเงินได้ตามเงื่อนไขที่ ได้กำไรจากการโอนหรือขายคริปโต (ถ้าได้กำไรจากการเทรดครั้งที่ 1 แต่ขาดทุนจากการเทรดครั้งที่ 2 ก็นับว่าเป็นกำไรด้วยเช่นกัน -_-), ผู้ที่ขายคริปโต ซึ่งได้จากการขุด และเงินหรือผลตอบแทนใด ๆ ที่ได้จากการนำคริปโตไปหาผลประโยชน์
Q: หากได้รับเหรียญคริปโตจากการขุดต้องเสียภาษีหรือไม่
A: คำตอบ เมื่อเราได้รับเหรียญคริปโตจากการขุดด้วยตัวเอง จะยังไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินซึ่งเงินได้พึงประเมินก็คือ เงินได้ที่กฎหมายระบุว่าเราต้องนำมาเสียภาษี ดังนั้น ในกรณีของคริปโตนั้นจะยังไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินจนกว่าจะมีการ จำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีที่ขุดมาได้ ก็จะกลายเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเราต้องเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ การโอนเงินเดือน หรือค่านายหน้า ฯลฯ
Q: ญาติให้คริปโตเป็นของขวัญวันเกิด ต้องเสียภาษีไหม ?
A: คำตอบ ตามเงื่อนไขข้อที่ 4 ในเอกสาร คำแนะนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัล ที่ระบุว่าหาก ได้รับคริปโทเคอร์เรนซี / โทเคนดิจิทัลจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล ให้ถือว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
Q: คำนวนภาษีคริปโตอย่างไรได้บ้าง
A: คำตอบ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาโลกแตกของนักลงทุน ที่ดูเหมือนว่าจะต้องมานั่งคำนวนตัวเลขที่ผันผวนแทบจะตลอดเวลา เพื่อยื่นภาษีให้กับสรรพากร! โดยจะขอยกตัวอย่างเป็นตัวเลขง่าย ๆ กันก่อนครับ เช่น
- เทรดครั้งที่ 1 ซื้อมา 10,000 บาท ขายออก 12,000 บาท ได้กำไรจำนวน 2,000 บาท
- เทรดครั้งที่ 2 ซื้อมา 10,000 บาท ขายออก 5,000 บาท ขาดทุน -5,000 บาท
- สรุปว่าเราขาดทุน -3,000 บาท และได้กำไรเพียง +2,000 บาท (แต่เราขาดทุน -3,000 บาท โดยที่สรรพากรไม่รู้ ไม่สนนะจ๊ะ)
ซึ่งยังมีรายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับ ภาษีคริปโต 2565 ที่นักลงทุนและผู้สนใจต้องรู้ โดยสามารถเข้ามาอ่านสรุปถาม-ตอบ ทั้ง 24 ข้อ จากสรรพากรได้เลยนะครับ จะได้ทำตามขั้นตอนครบถ้วน ไม่ต้องมาเสียเวลาในภายหลังนะครับ
อ้างอิงจาก : 1