แก้ไม่หาย ‘บุ๋ม ปนัดดา’ และ ‘อั๋น ภูวนาท’ ถามภาค รัฐ ว่าจะจัดสรรอย่างไร ถ้าคนที่ติด โควิด-19 ไม่มี รถ ยนต์ส่วนตัวเดินทางไปโรงพยาบาล
เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับการเดินทางของผู้ป่วย โควิด-19 ที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล Hospitel หรือ ศูนย์พักคอย ด้วยตนเอง โดยไม่มีรถยนต์ส่วนตัว ล่าสุด (17 ม.ค.) ทางพิธีกรชื่อดังอย่าง ‘บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี‘ และ ‘อั๋น ภูวนาท คุนผลิน‘ เองก็ได้มีการตั้งคำถามไปยังภาครัฐ ว่ามีแนวทางจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร ? ผ่านรายการ ‘แซะ‘ ทางช่อง ‘อมรินทร์ ทีวี‘ โดยระบุว่า
บุ๋ม: จริง ๆ แล้วเรื่องนี้เป็นปัญหาเดิมค่ะ หลายคนที่รู้ตัวคอนเฟิร์มแล้วว่าตัวเองติดเชื้อโควิด หลายคนเดินทางไปโรงพยาบาล หลายคนเดินทางขึ้นแท็กซี่ หรือ รถเมล์ แล้วคุณลองนึกภาพคุณลุงแท็กซี่เขาต้องหยุดงานไหม ? หรือ เขาจะติดเชื้อไหม ? หรือ คนขึ้นคันนั้นเขาจะติดเชื้อด้วยหรือเปล่า ? มันก็เป็นการแพร่เชื้อกันไม่หยุดแต่มันก็เป็นปัญหาเดิมที่ บุ๋ม เจอมาเมื่อปีที่แล้วช่วงเดือนเมษายน ที่มันหนัก ๆ
อั๋น: คือเพราะเนื่องจากคนที่ติดแล้วจะต้องเข้ารักษา Hospitel หรือ ศูนย์พักคอย จะไปยังไงถ้าไม่มีรถส่วนตัว ?
บุ๋ม: มันก็เป็นทางภาครัฐก็ทราบว่าอันนี้มันก็เป็นช่องว่างอยู่แล้ว ที่มีเข้ามายื่นมือช่วยคือ องค์กรทำดี, เส้นด้าย, สายไหม หรือไม่ก็ เราต้องรอด เอกชนหมดเลยที่เอารถออกมาวิ่งให้ แล้วทำไมทางภาครัฐไม่ทำสักทีอันนี้เป็นสิ่งที่เราอยากจะถาม
และมี Hospitel หนึ่งแจ้งไว้ว่าถ้าถึงแล้วกรุณาโทรฯ เบอร์นี้เพื่อให้คนลงมารับ และ ส่วนเรื่องรถ (เขาไม่ได้บอกด้วยว่าจาก องค์กรทำดี ไม่มีชื่อให้ดิฉันด้วย) ลงไว้ว่าส่วนเรื่องรถโทรฯ เบอร์นี้ค่ะ ต้องบอกก่อนว่าการที่ องค์กรทำความดี ทำตรงนี้เราทำให้ฟรีจริง แต่เราอยากทำให้คนที่เขาลำบากยากจนจริง ๆ และกระจายให้ทั่วถึง แต่ไม่ใช่มาจะมาบริการที่ Hospitel คุณที่เดียว
อั๋น: คือไม่ใช่บริการหลักที่ทำให้กับทุกคน ถ้าทุกคนที่สามารถดูแลตรงจุดนี้ของตัวเองได้ควรช่วยกันนะครับ แต่หลักคนต้องมาช่วยตรงนี้คือภาครัฐก่อน แต่อย่าง Hospitel หรืออะไรต่าง ๆ ความเป็นจริงแล้วเขาเปิดมาเขาก็สามารถเบิกเงินจากภาครัฐได้ เพราะว่ามันมีงบประมาณที่สามารถเบิกจ่ายได้
แต่สำหรับ องค์กรทำดี คุณบุ๋ม ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายเอง ที่มาพูดไม่ใช่หมายความว่าจะไม่ทำตอนนี้ รู้สึกว่าอยากเบิกอะไรนะ เปล่า แต่เพราะว่าอยู่ดี ๆ มีคนเห็นว่าเปิดเพื่อช่วยเหลือรวมถึงองค์กรอื่น ๆ ด้วยก็เลยมาใช้องค์กรเหล่านี้ในภาคอาสาประชาชนเป็นช่องทางหลักในการรับส่งผู้ป่วย
แต่อยากให้มองว่าจริง ๆ องค์กรเหล่านี้ คือ อาสามีไว้เสริม แต่ช่องทางหลักคืออะไรตอนนี้เรายังตอบไม่ได้นะ ว่าจากจุด A ไปยังจุด B ที่ไม่มีรถส่วนตัวหรืออะไรตรงนี้เรายังหาคำตอบไม่ได้นะ
บุ๋ม: คือในส่วนของ บุ๋ม เองมีรถบริการ 4-5 คันก็จริงแต่การบริการตอนนี้ บุ๋ม ไม่ทันจริง ๆ คือหนึ่งคันต่อวันไม่ติดว่าสิบเคสนะคะ แล้วการที่เราวิ่งออกไปบริการคือ เราต้องใช้เวลาเดินทาง 1-2 ชั่วโมงนะคะ นี่คือไม่ได้หยุดกินข้าวไม่ได้ทำอะไรเลย แล้วกลายเป็นว่าเรารับไม่ทัน
แล้วคือคนจากหลาย ๆ พื้นที่มาบอกว่าถ้าในพื้นที่ของเขามีรถบริการในพื้นที่เขาแบบของ พี่บุ๋ม ก็จะช่วยพวกเขาได้เยอะมาก แต่เราก็ไม่สามารถวิ่งทุกจังหวัดได้ ซึ่งก็มีคอมเมนต์มาว่าคิดว่าตัวเองทราบว่าติดโควิดแล้วและจะเดินทางไปรักษาแล้วเขาก็ไม่รู้ว่าจะขับรถไหวไหม หรือว่าไปรถไฟฟ้า แต่ช่างมันเถอะเพราะว่ารัฐเป็นแบบนี้ก็ติด ๆ ไปให้หมดเถอะครับแม่ เขาคิดแบบนั้นเลย
อั๋น: ถ้าเขาคิดแบบนั้นเราควรโทษใคร คือก็ต้องโทษคนที่คิดแบบนั้นด้วย และก็ต้องโทษรัฐนิด ๆ ซึ่งตอนนี้ ใครที่ตรวจเจอทาง Hospitel คือให้เดินทางกลับบ้านเลย แต่ตอนนี้คำถามคือ กลับยังไง ?
บุ๋ม: เพราะว่ามันกลับบ้านไม่ได้ เพราะว่าในเมื่อเรารู้ตัวว่าเราติดแล้วและที่บ้านของเรามีญาติผู้สูงวัยอยู่ หรือ มีเด็ก ๆ อยู่คุณจะกล้ากลับไปที่บ้านเหรอ ?
อั๋น: ถ้าเป็นเช่นนี้ ผมก็จะถามแทนหลาย ๆ คนเลยแล้วจะให้เขาทำยังไง ?
บุ๋ม: นี่อยากจะถามกลับเหมือนกัน เพราะต้องบอกเลยว่า 2 ปีกว่ามาแล้วที่มีโควิด บุ๋ม ก็เต็มที่ในส่วนของ บุ๋ม แล้วนะ แล้ว บุ๋ม ก็ทำเต็มที่ในทุก ๆ วัน แต่เพราะว่า องค์กรทำดี ของเราก็ยังไม่สามารถกระจายช่วยได้ทุกที่จริง ๆ
อั๋น: เราก็อยากจะฝากองค์กรหลักในส่วนของการดูแลตรงนี้ แต่หากบังเอิญคุณมีอยู่แล้วช่วยบอกมาหน่อยเราจะได้ช่วยประชาสัมพันธ์
รับชมรายการ แซะ วันที่ 17 มกราคม 65 คลิก!
- ‘อ๊ะอาย-ตาออม 4EVE’ ติดโควิด เมมเบอร์คนอื่นประกาศกักตัว
- ‘หนุ่ม กรรชัย’ เปิดใจ รับกลัวติดโควิด ตรวจ ATK ถึง 5 รอบ
- นำเทรนด์! ‘บุ๋ม ปนัดดา’ โชว์ภาพลง ‘นะหน้าทอง’ หลังเกิดกระแสดัง