สธ. เผยพบ ผู้เสียชีวิต จาก โควิดโอมิครอน 2 ศพ
กระทรวงสาธารณสุข เผยพบ ผู้เสียชีวิต จาก โควิดโอมิครอน แล้ว 2 ศพ ชี้ทั้งสองฉีดโควิดครบสองโดสแล้ว แต่ป่วยหนักจากอาการอื่นจนเสียชีวิต
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธ์ุโอมิครอน โดย นพ.ศุภกิจ เปิดเผยว่าพบผู้เสียชีวิตจากโควิดโอมิครอนแล้ว 2 ศพ และมีผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในไทยแล้วเกือบหมื่นราย
นพ.ศุภกิจ ระบุว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย มีประวัติการรับวัคซีนโควิดครบแล้ว 2 เข็ม แม้ว่าวัคซีนสองเข็ม ช่วยลดความรุนแรงได้ แต่ที่เกิดปัญหาหากป่วยหนักจนเสียชีวิต มีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ซึ่ง 2 รายนี้ เป็นผู้ป่วยติดเตียง ระบบภูมิต้านทานของร่างกายไม่ค่อยปกติ
ข้อมูลจาก ศบค. ระบุข้อมูลของผู้ป่วยโควิดโอมิครอน ที่เสียชีวิตรายที่ 1 เป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี เป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี เป็นผู้ป่วยติดเตียงและอัลไซเมอร์ ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ประวัติเสี่ยง หลานชายที่เดินทางกลับมาจากภูเก็ตเป็นผู้ป่วยยืนยันโควิดสายพันธุ์โอมิครอน แพร่เชื้อให้แก่คนในครอบครัว
- 6 ม.ค.2565 ผู้ป่วยมรไข้ มีเสมหะ ทราบข่าวลูกสาวตรวจพบโควิด หลานสาวตรวจหาเชื้อด้วยATKผลบวกจึงส่งต่อเข้ารับรักษาที่รพ.หาดใหญ่
- 7.ม.ค.2565 ผู้ป่วยเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยในที่ รพ.หาดใหญ่ แพทย์เก็บตัวอย่าง ส่งตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการ รพ.หาดใหญ่ ผลพบเชื้อ ผู้ป่วยมีใข้ 38.5C ไอ หายใจลำบาก แพทย์รับไว้ที่แผนก เอกซเรย์ปอด ผล infltration both lungs, on ETT แพทย์จ่ายยา Dexamethasone 10mg., Remdesivir
- 12 ม.ค. ผู้ป่วยเสียชีวิต เวลา 09.20 น. ส่งตัวอย่างตรวจยืนยันสายพันธุ์ที่ ศวก.12 สงขลา ผลพบเชื้อ SAR-COV-2 สายพันธุ์ โอมิครอน
รายที่ 2 ผู้เสียชีวิต (Omicron) จังหวัดอุดรธานี เพศหญิง อายุ 84 ปี ภูมิลำเนา อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี โรคประจำตัว : มะเร็งที่ปอดระยะสุดท้าย รักษาแบบประคับประคอง ใส่ออกซิเจน
ประวัติการได้รับวัคซีน : ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน
ประวัติเสี่ยง : เป็นผู้ป่วยติดเตียง ครอบครัวเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19
วันที่ 9 ม.ค.2565 : ตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วยวิธี RT -PCR เนื่องจากเป็นผู้สัมผํสเสี่ยงสูง ของลูกชาย
วันที่ 10 ม.ค.2565 : ผลตรวจ พบเชื้อ โรงพยาบาลประสานเพื่อเข้ารับรักษา ผู้ป่วยและญาติปฏิเสธการเข้ารักษาในโรงพยาบาล แพทย์
อนุญาติให้เข้าสู่ระบบ Home Isolation ตามความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติ แพทย์ให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ตามแผนการรักษา และจัดเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายและออกซิเจนปลายนิ้ว โดยออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้ ซึ่งก่อนติดเชื้อโควิดลูกชายที่ดูแลแจ้งว่าค่ออกซิเจน
ปลายนิ้วก็อยู่ระหว่างช่วงดังกล่าว ผู้ป่วยไม่มีเหนื่อย หายใจไม่หอบ
วันที่ 11-12 ม.ค.2565 : ออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้
วันที่ 13-14 ม.ค.2565 : ผู้ป่วยรับประทานได้น้อยลง ไม่มีหายใจหอบ ไม่มีไข้ ออกซิเจนปลายนิ้ว 86-87%
วันที่ 15 ม.ค.2565 : ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หายใจหอบ คำออกซิเจนปลายนิ้ว <76% เปลี่ยนออกซิเจนจาก cannular เป็น mask c bag ให้ออกซิเจนปลายนิ้ว 90% ประสานผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาล แต่ญาติปฏิเสธการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แพทย์ให้เพิ่มฟาวิพิราเวียร์ จาก 5
วันเป็น 10 วัน และเพิ่มมอร์ฟีน ให้เนื่องจากยาเดิมหมด เวลา 16.00 น. ผู้ป่วยตอบสนองได้น้อยลง หายใจหอบลึก และคลำชีพจรไมได้ หัวใจหยุดเต้น เสียชีวิตเวลา 19.45 น. รวมระยะเวลารักษา Home Isolation 6 วัน