ข่าวข่าวภูมิภาค

เพจกม.เเรงงาน ชี้! ไม่รับปริญญา ไม่รับทำงาน ได้หรือไม่?

เพจเฟซบุ๊ก “กฎหมายเเรงงาน” โพสต์ชี้แจงกรณี ประเด็นสังคมดัง “ไม่รับปริญญา ไม่รับเข้าทำงาน” ผิดกฎหมายหรือไม่ และเผยเคสคดีใดบ้างที่บริษัทไม่รับเข้าทำงาน เเรงงานสามารถฟ้องได้

วานนี้ 15 ม.ค.65 เพจเฟซบุ๊ก “กฎหมายแรงงาน” โพสต์ชี้เเจ้ง กรณีประเด็นดังในสังคมไทย เมื่อมีเเพทย์หญิงท่านหนึ่ง โพสต์ว่า หากไม่รับปริญญา ฝากถึงผู้ประกอบการไม่ให้รับเข้าทำงาน ซึ่งกรณีดังกล่าวถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ว่าผู้ประกอบการสามารถทำเช่นนั้นได้จริงไหม

Advertisements

ทางเพจให้คำตอบไว้อย่างละเอียดถึงการไม่รับคนเข้าทำงานด้วยกรณีไม่รับปริญญา ซึ่งอาจจะเกิดจากปัญหาทางการเงิน ครอบครัว ปัญหาส่วนตัว ซึ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะเข้ารับหรือไม่รับปริญญาก็ได้ ซึ่งการวางกติกานี้ในการเข้ารับทำงานถือว่าผิดหลัก เพราะควรดูที่ความรู้ ความสามารถเป็นหลัก

นอกจากนี้ ทางเพจยังได้เสนอเคสกรณี บริษัทไม่รับเข้าทำงานด้วยกรณีต่างๆ เช่น ความเเตกต่างทางเพศ ความพิการทางร่างกาย หรือเลือกรับเฉพาะผู้ที่มีผลการเรียนเกียรตินิยม เหตุผลเหล่านี้ เเรงงานสามารถฟ้องศาลได้ โดยโพสต์ระบุรายละเอียดว่า

“จากการที่แพทย์หญิงท่านหนึ่งออกมาโพสว่า “ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน” ส่งผลให้เกิด #ไม่รับปริญญา
และยังได้กล่าวไปถึงการดูโทรศัพท์ ซึ่งก็ถือเป็นการล่วงล้ำเข้าไปทำลายความเป็นส่วนตัวโดยเอาเงื่อนไขการรับสมัครงาน
“เขา”

ในที่นี้น่าจะรวมทั้งงานภาคเอกชน งานราชการ และรัฐวิสาหกิจซึ่งการไม่เข้ารับปริญญาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีเงิน เพราะการรับปริญญามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หรือหลายอาจเรียนเพื่อต้องการความรู้แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้ารับปริญญา หรือโควิด 19 ระบาด

ปกติมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาจะเปิดให้ลงทะเบียนว่าใครจะเข้ารับปริญญาบ้าง และใครจะไม่เข้ารับปริญญา ซึ่งก็เป็นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะเข้ารับหรือไม่

Advertisements

ส่วนจะรับปริญญากับใครก็สุดแล้วแต่ อย่างต่างประเทศก็อาจรับกับอธิการบดี ในไทยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐก็อาจรับกับราชวงศ์ มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ก็รับกับอธิการบดี หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

การวางกติกาว่าหากใครไม่เข้ารับปริญญาจะไม่รับเข้าทำงานนั้นถือว่าผิดธรรมชาติการรับคนเข้าทำงานที่จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ หรือทัศนคติ และการไม่เข้ารับปริญญาก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป

อย่างไรก็ตาม แม้มีการกำหนดกติกาการรับสมัครงานเอาไว้แต่เมื่อตราบใดที่ยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ก็ไม่อาจนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้าไปใช้บังคับได้

เมื่อเปิดรัฐธรรมนูญมาดูเราก็จะพบกับหลักการห้ามเลือกปฎิบัติงถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นในทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

หลักการเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ การเลือกปฎิบัติและทัศนคติที่มองคนเห็นต่างเป็นศัตรูย่อมเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าของสังคม จริง ๆ แล้วตราบาปที่ถูกบันทึกไว้จากการเลือกปฎิบัติในสังคมไทย มีหลายกรณี ดังนี้

๑) การเลือกปฎิบัติเพราะความแตกต่างในเรื่องเพศ
เกิดกรณีบริษัทได้กำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุ ๕๕ ลูกจ้างชายเกษียณ ๖๐ ปี ซึ่งเป็นการเลือกปฎิบัติกรณีเกษียณเพราะเหตุความแต่งต่างในเรื่องเพศ ส่งผลให้การกำหนดอายุการเกษียณของเพศหญิงเป็นโมฆะ (คำพิพากษาที่ ๒๑๒๗/๒๕๕๕)

๒) การเลือกปฎิบัติเพราะความพิการทางร่างกาย
เคสนี้ น่าตกใจมากเพราะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้บังคับใช้กฎหมายเอง เรียกว่า “ความพิการของกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย” โดยเป็นกรณีการเลือกปฎิบัติต่อผู้พิการในการสอบเป็นผู้ช่วยอัยการ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๔๒/๒๕๔๗) และการตัดสิทธิทนายโปลิโอในการเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา (คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๖/๒๕๔๕)

๓) การเลือกปฎิบัติเพราะผลการเรียน
เป็นกรณีที่เกิดกับการเลือกรับราชการ โดยรับเฉพาะเกียรตินิยม (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๕๘/๒๕๕๐)
และน่าตกใจที่แนวคิดการเลือกปฎิบัติอันเกิดจากการไม่เข้ารับปริญญา ขอเถอะจงเลือกจากความสามารถและคุณค่าในตัวเขา”

ก
ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก : กฎหมายเเรงงาน

navapol

อัปเดตข่าวสารล่าสุด เรื่องร้อนออนไลน์ ข่าวด่วนทันเหตุการณ์ ทุกประเด็นที่เป็นประแสในโลกโซเชียล จับประเด็นใหม่ให้เข้าใจง่าย สนุก ครบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button