คณะแพทย์สหรัฐ ประสบความสำเร็จ ‘ปลูกถ่ายหัวใจหมูในคน’ รายแรกของโลก
ทีมงานแพทย์ผ่าตัดของมหาวิทยาลัยแพทย์แมรี่แลนด์, สหรัฐอเมริกา ได้ประสบความสำเร็จในการ ปลูกถ่ายหัวใจหมูในคน โดยถือว่าเป็นรายแรกของโลก
(11 ม.ค. 2565) คณะแพทย์ผ่าตัดของมหาวิทยาลัยแพทย์แมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รายงานถึงความสำเร็จในการผ่าตัด ปลูกถ่ายหัวใจหมูในคน เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (10 ม.ค.) โดยถือว่าเป็นการดำเนินการครั้งแรกของโลก ในการนำเอาอวัยวะสัตว์ที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมมาปลูกถ่ายลงในร่างกายมนุษย์
การดำเนินการผ่าตัดนั้นเริ่มต้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยดำเนินการกับนายเดวิด แบนเนท (David Bennett) ผู้ป่วยโรคหัวใจเรื้อรังอายุ 57 ปี ที่ถูกวินิจฉัยว่ากระบวนการปลูกถ่ายดังกล่าวนั้นจะเป็นทางเดียวที่จะช่วยชีวิตของเขาได้ ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า นี้คือครั้งแรกของการนำเอาอวัยวะของสัตว์ที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมให้สามารถทำงานได้เหมือนกับของมนุษย์มาปลูกถ่ายลงในร่างกายมนุษย์
โดยผลการผ่าตัดนั้น ร่างกายของคุณแบนแนทไม่ได้มีปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะที่ปลูกถ่ายแต่อย่างใด ตลอดเวลา 3 วันที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้แล้วก็ยังคงต้องมีการดูอาการต่อไปอีกระยะหนึ่งให้ครบ 1 อาทิตย์ เพื่อที่จะมั่นใจ และเป็นข้อมูลยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวนั้นประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
คุณแบนเนทนั้นได้กล่าวก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดว่า “มันมีทางเลือกแค่ว่าจะตาย หรือรับการผ่าตัดในครั้งนี้ ตัวผมนั้นยังอยากที่จะมีชีวิตอยู่ ผมรู้ว่าวิธีการดังกล่าวนั้นไม่ต่างอะไรกับการยิงปืนในความมืด (a shot in the dark) แต่มันก็ถือว่าเป็นทางเลือกสุดท้ายของผม” โดยเขานั้นได้เข้ารับการรักษา และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดมาหลายเดือนแล้ว “ผมคาดหวังว่าจะสามารถลุกออกจากเตียงคนไข้นี้ได้ หลังจากที่ผมฟื้นตัวแล้ว”
นายแพทย์ Bartley P. Griffith แพทย์ผู้ดำเนินการผ่าตัดปลูกถ่าย ได้กล่าวถึงการดำเนินการดังกล่าวว่า “มันถือว่าเป็นการผ่าตัดถือเป็นความก้าวหน้าอย่างยิ่ง และนำเราไปสู่อีกขั้นหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอวัยวะ เนื่องจากในเวลานี้ เรายังไม่มีอวัยวะ โดยเฉพาะยิ่งหัวใจจากผู้บริจาคที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยที่มีจำนวนมาก” “พวกเรานั้นได้ดำเนินการผ่าตัดอย่างระมัดระวัง แต่พวกเราก็ยังคงมีความมั่นใจว่าการผ่าตัดครั้งแรกของโลกนี้จะนำไปสู่ทางเลือกใหม่ที่มีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยในอนาคต”
การผ่าตัดในครั้งนี้ได้รับการอนุมัติเป็นกรณีฉุกเฉินแบบพิเศษในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาโดยคณะกรรมการอาหาร และยาของสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งถือว่าการใช้งานหัวใจของหมูที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมนั้น จะถูกทดลองให้ใช้งานเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ป่วยที่อยู่สภาวะวิกฤติ หรือร้ายแรง โดยคาดหวังว่าการดำเนินการนี้จะสามารถช่วยเหลือชีวิตของผู้ป่วยได้
ในส่วนของ “หัวใจหมู” ที่ถูกนำมาใช้งานนั้น ก็มาจากหมูที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม ที่นำเอายีนส่วนที่ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาปฏิเสธอวัยวะ หรือส่งผลให้เกิดการเติบโตมากเกินออกไป ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ในการนำเอาชิ้นส่วนจากสัตว์มาใช้งานกับมนุษย์ โดยเฉพาะหมูที่มีการนำเอาหนัง และลิ้นหัวใจมาใช้งานกับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้งานชิ้นส่วนดังกล่าว ในส่วนของการผ่าตัดนั้นก่อนหน้านี้ก็ได้มีการทดลองเข้ากับลิงบาบูน รวมไปถึงได้มีการทดลอง และวิจัยมานานแล้วหลายปี
แหล่งที่มาของข่าว : University of Maryland Medical Center (UMMC), Deutsche Welle (DW)
สามารถติดตามข่าวต่างประเทศเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวต่างประเทศ
- ระทึก! ตร. ดึงนักบินออกจากเครื่องบิน ก่อนเครื่องบินถูกรถไฟชนพังเละ (คลิป)
- หนุ่มคลั่ง อ้างไม่มีจุดหมายในการดำเนินชีวิต ลงมือ จับตัวประกัน ผจก.ร้านอาหาร