การเงิน

สรุป PayPal นโยบายใหม่ กระทบฟรีแลนซ์ เสียภาษี?

สรุป PayPal นโยบายใหม่ กระทบฟรีแลนซ์ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ พร้อมค่าธรรมเนียมและภาษี ส่งผลต่อรายได้ผู้ใช้บัญชีคนไทย

หลังจากที่ก่อนหน้านี้เมื่อ เดือน ส.ค. 2021 PayPal ได้ประกาศ ปิดรับสมัครผู้ใช้งานใหม่ จนกระทั่งล่าสุดในวันที่ 6 พ.ย. 2021 ก็ประกาศจะกลับมาเปิดรับสมัครสมาชิกใหม่อีกครั้ง พร้อมกับการปรับเปลี่ยนนโยบายที่จะเขย่าคนทำงานฟรีแลนซ์, คอนเทนต์ครีเอเตอร์ให้สั่นคลอน ซึ่งจะมีผลต่อผู้ใช้งานใหม่และเก่าทั้งบัญชีแบบบุคคลธรรมดา กับบัญชีแบบธุรกิจ แถมยังมีการเพิ่มเงื่อนไขของการฝาก-โอน ค่าธรรมเนียม และภาษี (VAT) ต่าง ๆ อีกเพียบ

Advertisements

* PayPal คืออะไร?

คือเว็บไซต์ผู้ให้บริการรับ-ฝากเงิน หรือจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคารไทยที่ผูกไว้กับ PayPal ทำให้ไม่ต้องตัดบัตรเครดิตออนไลน์โดยตรง


สรุป PayPal นโยบายใหม่ มีอะไรเปลี่ยนบ้าง?


| นโยบายใหม่ สำหรับบัญชีแบบบุคคลธรรมดา

  • จะไม่สามารถใช้เก็บเงินใน Paypal และถอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้อีกต่อไป
  • ต้องชำระเงินผ่านบัตรเดบิต / เครดิต เท่านั้น
  • ไม่สามารถใช้เงินที่ใส่ไว้ในบัญชีส่วน PayPal Balance

| นโยบายใหม่ สำหรับบัญชีแบบธุรกิจ (ที่ผ่านการยืนยันตัวตน)

  • ยังคงรับเงินได้ผ่านตัว เพย์พาล บาลานซ์
  • เก็บและถอนเงินเข้าออกบัญชีธนาคารที่ผูกไว้ได้ตามปกติ
  • เสียค่าธรรมเนียม 3.9-4.4%
  • เสียค่าธรรมเนียมคงที่ ตามแต่ละประเทศ
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ของค่าธรรมเนียม

หรือสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การจะพักเงินไว้ในบัญชีเพย์พาล หรือถอน-โอนเงินไปยังธนาคารต่าง ๆ จะสามารถทำได้ในบัญชีแบบธุรกิจที่ผ่านการยืนยันตัวตนแล้วเท่านั้น โดยมีผลบังคับใช้ก่อนวันที่ 18 ก.พ. 2021

Advertisements

การยืนยันตัวตนสำหรับบัญชีแบบธุรกิจ

– เลขทะเบียนพาณิชย์ประเทศไทย 13 หลัก
– ชื่อกิจการ หมายเลขโทรศัพท์ และที่ตั้งธุรกิจอย่างเป็นทางการ
– เอกสารจดทะเบียนธุรกิจของประเทศไทย
– หลักฐานที่ตั้งธุรกิจ

* คาดว่าน่าจะให้แค่จดทะเบียนพาณิชย์ในรูปแบบบุคคลธรรมดา


PayPal นโยบายใหม่ กระทบกับฟรีแลนซ์อย่างไรบ้าง?


 

สรุป PayPal นโยบายใหม่ เปิดบัญชีใหม่

ต้องบอกก่อนว่าฟรีแลนซ์ชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นนักวาด ช่างภาพ งานคราฟ หรือขายของให้กับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเปิดใช้เป็นบัญชีแบบบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นสัดส่วนธุรกิจขนาดเล็กส่งผลให้รายได้หายไปบางส่วน (จริง ๆ ก็มากอยู่) ยกตัวอย่างเช่น

  1. นางสาวเตย ขายภาพงานศิลปะมูลค่า 6 ดอลลาร์ หรือประมาณ 200 บาท ให้กับนายตาลที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
  2. ซึ่งบัญชี เพย์พาล ของนางสาวเตย จะต้องได้รับการจดทะเบียนเป็นธุรกิจด้วย
  3. นางสาวเตยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 4.4% + ค่าธรรมเนียมคงที่ของประเทศสหรัฐฯ 0.30 ดอลลาร์ หรือประมาณ 4.7 บาท และยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 7% ของ 4.7 บาท คือ 0.329 บาท
  4. นางสาวเตยจะต้องหักเงินจากรายได้ไปประมาณ 5 บาท และรับเงินรายได้ทั้งหมดเพียง 195 บาท

นอกจากจะมีปัญหาเรื่องภาษีมาให้กวนใจ อีกเรื่องหนึ่งก็คือคนที่ใช้บัญชี PayPal ส่วนใหญ่ในไทยมีทั้งผู้ใหญ่ และเด็กอายุเริ่มตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ที่รับงานกราฟิกออกแบบ ขายผลงานให้กับต่างชาติกันเพียบ สำหรับความเห็นส่วนตัวของแอดมองว่าการที่จะให้เด็กไปจดทะเบียนพานิชย์บุคคล

ก็จะต้องพาผู้ปกครองไปเซ็นชื่อรับรองด้วย แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้านที่จะอนุญาตให้ลูก ๆ ของตัวเองหารายได้จากการส่งออกงานศิลปะ และการที่ต้องมาจ่ายค่าธรรมเนียมและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับผู้ใช้บัญชีแบบบุคคลธรรมดานั้น เรียกว่ากระทบต่อรายได้มากเลยทีเดียว ซึ่งก็มีทางเลือกหลัก ๆ อยู่ 2 ทางคือ ย้ายไปใช้บริการอื่น หรือไม่ก็ยอมรับนโยบายใหม่

| สำหรับผู้ที่จะไม่ใช้บริการ PayPal

หากใครมีเงินคงเหลืออยู่ในบัญชี จะสามารถใช้จ่ายและถอนเข้าออกธนาคารได้ก่อนวันที่ 18 ก.พ. 2021 ไม่เช่นนั้นจะถูกระงับการใช้งาน บัญชีแบบส่วนตัวจะเอาไว้เก็บเงินไม่ได้ แต่จะสามารถทำได้ในแบบธุรกิจเท่านั้น

อ้างอิงจาก : Paypal.com TaxBugnoms 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button