5 เรื่องน่ารู้ กัญชาทางการแพทย์ในไทย ใช้ทำอะไรได้บ้าง? อัปเดตล่าสุด
อัปเดตข้อมูลล่าสุด! กัญชาเสรี เสรีกัญชา 5 เรื่องน่ารู้ กัญชาทางการแพทย์ในไทย ใช้ทำอะไรได้บ้างในปัจจุบัน กิน รักษา บำบัด มีคำตอบให้แล้วที่นี่
พืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สร้างความฮือฮาและความสนใจให้คนในสังคมไทยอย่างมา พืชที่คนรู้จักกันในนาม “กัญชา” เคยได้รับความนิยมในประเทศไทยมาตั้งแต่ยุคอดีต ในฐานะของยาแผนโบราณ และครั้งหนึ่งมันเคยเป็นพืชที่มีสรรพคุณอันทรงพลัง เหล่าผู้ใช้แรงงานใช้กัญชาเพื่อการคลายกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานอย่างหนักตลอดวัน
แต่พืชชนิดนี้กลับกลายเป็นพืชต้องห้ามในช่วง ปี 2473 เป็นต้นมา จนเมื่อปี 2562 ที่กัญชาได้รับอนุญาตให้กลับมาใช้กับทางการแพทย์ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายได้อีกครั้ง ด้วยสรรพคุณของพืชชนิดนี้ที่มีประโยชน์มากกว่าการจะถูกจัดให้เป็นสารเสพติด คำถามคือถ้าเช่นนั้นในประเทศไทย เราจะสามารถใช้กัญชาอย่างไรได้บ้างจึงจะไม่ผิดกฎหมาย มาหาคำตอบไปกับ 5 เรื่องน่ารู้ กัญชาทางการแพทย์ในไทย
5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ของไทย
1. กัญชา สามารถใช้รักษาได้
องค์กรที่ผ่านการรับรองสามารถใช้น้ำมันกัญชา ยาเม็ด หรือยาหยอดเพื่อบรรเทาอาการปวดของ 38 โรคได้ อาทิ โรคมะเร็ง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคลมบ้าหมู โรคซึมเศร้า รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเงื่อนไขที่ได้รับการอนุมัติ โดยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของไทยก็ออกมากล่าวว่า สามารถใช้กัญชาร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ได้ โดยเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการปรึกษาแพทย์ก่อนจะรับการรักษาด้วยกัญชา เพื่อหลีกเลี่ยงผลด้านลบและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้เข้ารับการรักษา
2. โรงพยาบาลกับการบำบัดด้วยกัญชา
เมื่อประมาณหนึ่งเดือนที่แล้ว โรงพยาบาลพันธมิตรโรคมะเร็ง ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ได้จัดตั้งแผนกกัญชาทางการแพทย์ขึ้นเพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็งโดยเฉพาะ นอกจากนี้ น้ำมันกัญชาขององค์การเภสัชกรรมของรัฐบาลยังช่วยลดผลข้างเคียงของเคมีบำบัดและการฉายรังสีได้อีกด้วย
ปัจจุบันก็มีโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศที่กำหนดให้มีการใช้กัญชาเป็นทางเลือกในการรักษา โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อของโรงพยาบาลที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้
3. กัญชา ได้รับอนุญาตให้ปลูกและขายได้
ปัจจุบันนี้บริษัทต่างๆ สามารถขออนุญาตเพื่อขอรับ ปลูก ผลิต และขายกัญชาได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ชิ้นส่วนของพืชชนิดนี้เพื่อผลิตยา เครื่องสำอาง และอาหารได้อีกด้วย แต่จำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวดว่าส่วนใดบ้างที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ รวมถึงส่วนที่ไม่อนุญาตให้ใช้อย่างยอดหรือช่อดอก
นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า “แพทย์เอกชนที่ได้รับใบอนุญาตจะสามารถปลูก ผลิต และส่งออกกัญชาได้” หมายความว่าเกษตรกรไทยจะมีทางเลือกในการสร้างรายได้มากขึ้นและอาจเป็นประตูนำไปสู่การลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป
4. กัญชา ในจานอาหาร
เนื่องจากกัญชามีประโยชน์หลายประการ ทั้งในแง่ของการบรรเทาความเครียดและการเสริมสร้างอารมณ์ ร้านอาหารหลายแห่งในประเทศไทยจึงมีการใส่กัญชาไว้ในจานอาหารของทางร้าน ตั้งแต่อาหารไทยผสมกัญชงไปจนถึงอาหารนานาชาติ ทั้งเฟรนช์ฟรายด์ ขนมปัง ซุป ของหวาน ไปจนถึงชาสมุนไพร ซึ่งเมนูไม่ธรรมดาเหล่านี้จะทำให้คุณอยากกินมากขึ้นเรื่อย ๆ
ด้วยความที่ว่าส่วนผสมของกัญชาในจานอาหารเหล่านี้มีปริมาณที่น้อย และไม่ใช่ส่วนที่มีคุณสมบัติเป็นสารเสพติด ดังนั้นจึงได้รับอนุญาตให้ใส่เป็นส่วนประกอบในจานได้ ถือว่าเป็นการเพิ่มความแปลกใหม่ให้กับเมนูอาหารและประสบการณ์การรับประทานของผู้บริโภค
5. กัญชา สามารถใช้บำบัดได้ที่ศูนย์สุขภาพ
เมื่อประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อน ปัญญ์ปุริ เวลเนส กรุงเทพ ได้เปิดตัวแพ็กเกจสปาและออนเซ็นใหม่เพื่อความผ่อนคลาย ‘Special Onsen’ ซึ่งได้รับความสนใจมากกว่าปกติ เนื่องจากส่วนผสมลับในแพ็กเกจ หนึ่งในนั้นคือ กัญชา
ปัญญ์ปุริ เวลเนส กรุงเทพ เป็นร้านสปาสุดหรูแห่งหนึ่งที่ได้รับความนิยม เนื่องจากแหล่งรายได้ที่สำคัญของไทย นอกจากการท่องเที่ยวตามธรรมชาติแล้ว ก็ยังมีการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพอีกด้วย นักท่องเที่ยวจึงสามารถนำเข้าและส่งออกกัญชาทางการแพทย์ตามที่รัฐบาลอนุญาตได้ และการที่กัญชาได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ภายใต้กรอบกฎหมาย คลินิกรวมถึงศูนย์สุขภาพต่าง ๆ จึงได้รับอนุญาตให้ใช้และแปรรูปกัญชาได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ในอนาคตกัญชาอาจกลายเป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทยก็เป็นได้
- ธ.ก.ส. จัดทำ สินเชื่อปลูกกัญชา ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี
- รัฐบาลผลักดัน กัญชา เป็นพืชเศรษฐกิจ ย้ำประชาชนทุกคนปลูกได้