ข่าวดาราบันเทิง

ย้อนประวัติ ทมยันตี นักเขียนดังผู้มีส่วนขับเคลื่อนสังคมในอดีต

ย้อน ประวัติ ‘คุณหญิงวิมล’ หรือ ‘ทมยันตี’ นักเขียนชื่อดัง ดีกรีศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ปี พ.ศ. 2555 ผู้มีส่วนขับเคลื่อนสังคมในอดีต

ประวัติทมยันตี – คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ชื่อเล่น อี๊ด เจ้าของนามปากกา ‘ทมยันตี’ เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) เป็นลูกสาวคนกลางของคุณพ่อ ‘ทองคำ ศิริไพบูลย์’ ที่เป็นทหารเรือ และคุณแม่ ‘ไข่มุก ศิริไพบูลย์’ เป็นชาววัง

Advertisements

จบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษาจาก ‘โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์’ จากนั้นก็ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ‘คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ ก่อนที่จะซิ่วมาศึกษาใน ‘คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’

ขณะที่เรียนเธอได้เป็นหนึ่งในนักโต้วาทีของมหาวิทยาลัย ร่วมกับ ‘สมัคร สุนทรเวช’ และ ‘ชวน หลีกภัย’ ก่อนที่จะตัดสินใจทื้งใบปริญญาในปีที่ 3 แล้วไปสมัครเป็นครูสอนภาษาไทยและประวัติศาสตร์อยู่ที่ ‘โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์’ พร้อมกับเขียนหนังสือร่วมไปด้วย

เธอเริ่มเขียนเรื่องสั้นเป็นครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 14 ปี จนได้ตีพิมพ์กับทางนิตยสาร ‘ศรีสัปดาห์’ และได้เขียนต่อเนื่องมานานกว่า 11 ปี ในขณะที่เธอเริ่มเขียนเรื่องยาวเรื่องแรกคือ ‘ในฝัน’ เมื่ออายุ 19 ปี โดยใช้นามปากกา ‘โรสลาเรน’ พร้อมทั้งได้ตีพิมพ์กับทางศรีสัปดาห์เช่นเคย

ทมยันตี ขึ้นชื่อว่ามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับฝ่ายทหารและจะมักสนับสนุนระบอบทหาร โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ทมยันตีมีบทบาทเป็นแกนนำสำคัญของชมรมแม่บ้าน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของภรรยาข้าราชการ ภรรยานายพล และแม่บ้าน

ผ่านการเป็นผู้จัดรายการวิทยุ ‘ยานเกราะ’ หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการสังหารหมู่นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังเคยขึ้นปราศรัยเพื่อโจมตีขบวนการนักศึกษาที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยว่า เป็นผู้บ่อนทำลายมิตรประเทศ

Advertisements

จนเธอได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลทหารให้มาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน, ในปีถัดมา เธอก็ได้เลื่อนขั้นเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ปี พ.ศ. 2522 เป็นสมาชิกวุฒิสภา และปี พ.ศ. 2527 เธอได้ขึ้นเป็นผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

คุณหญิงวิมล มีนามปากกาทั้งหมด 6 ชื่อ ได้แก่ โรสลาเรน, ลักษณวดี, กนกเรขา, ทมยันตี, มายาวดี และ วิม-ลา เจ้าของบทประพันธ์ คู่กรรม, ทวิภพ, ค่าของคน, อุบัติเหตุ, ดาวเรือง, ล่า, เวียงกุมกาม, นากพัทธ์, พิษสวาท, ดั่งดวงหฤทัย, คำมั่นสัญญา, พี่เลี้ยง, เลือดขัตติยา, ใบไม้ที่ปลิดปลิว, ฯลฯ จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ปี พ.ศ. 2555

ชีวิตสมรถเธอเคยแต่งงานกับ ‘สมัคร กล่ำเสถียร’ ก่อนที่จะหย่าร้างกันแล้วมาแต่งงานครั้งที่สองกับร้อยตำรวจโท ‘ศรีวิทย์ เจียมเจริญ’ และมีลูกชายด้วยกัน 3 คน จนก็มีการฟ้องหย่ากันเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 หลังถูกอดีตสามีกล่าวหาว่าเธอไปคบชู้กับชายอื่น สุดท้ายเธอก็ถูกศาลตัดสินแพ้คดีไป ส่งผลทำให้วุฒิสภาลงมติให้เธอออกจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาในที่สุด

บั้นปลายชีวิตเธอได้ย้ายไปอยู่ที่ ‘ล้านนาเทวาลัย’ ที่พักสุดท้ายก่อนที่จะจากไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยสถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม เป็นสถานที่รวมศรัทธาเทวะและพุทธะ

ซึ่งเป็นที่ที่ทมยันตีสร้างขึ้นในการอัญเชิญเทพและเทวรูปที่นับถือบูชามาประดิษฐานไว้ ณ ที่แห่งนี้ เพื่อผู้มาเยือนได้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการไหว้พระ ทำสมาธิ และกิจกรรมที่ทางเทวาลัยจัดขึ้นเพื่อถวายแด่องค์เทพ

นอกจากนี้ยังเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมผลงานด้านวรรณกรรมของเธอ เพื่อเป็นแนวทางให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้

ทมยันตี

ทมยันตี

 


ภาพ: Facebook ล้านนาเทวาลัย Lanna Devalai

Vanrasa J.

นักเขียนข่าวสายบันเทิงไทย ฮอลลีวูด เกาหลี และต่างประเทศ อัปเดตคอนเทนต์ข่าวสารเกี่ยวกับดารา หนัง ซีรีส์ เพลง แฟชั่นและความงาม ร้อยเรียงเรื่องราวผ่านมุมมองความสร้างสรรค์และน่าสนใจ การันตีด้วยประสบการณ์มากกว่า 2 ปี ประเด็นไหนที่ติดเทรนด์จะต้องมีชื่อของ The Thaiger ร่วมตีแผ่เสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button